board1

ในปี 2563 มีเด็กนักเรียนไทย
ถูกบูลลี่ราว 600,000 คน

คิดเป็น
4 ใน 10
ของนักเรียนทั้งหมด

(อ้างอิงจาก สถิติของกรมสุขภาพจิตปี 2563)

นักเรียนกว่า
6 ใน 10
ของนักเรียนทั้งหมด

'เคย' ถูกกดขี่ข่มเหง
ในโรงเรียน

หมายเหตุ: การกดขี่ข่มเหง เช่น การลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม,
การทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ, การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางความคิด เป็นต้น

(จากผลสำรวจความคิดเห็นนักเรียนในระดับมัธยมฯ ทั่วประเทศ 373 คน)

นักเรียน
236
คนยืนยันว่า

โรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลอดภัย

คลิกที่ห้องต่าง ๆ ในโรงเรียน
เพื่อสำรวจสถานที่แห่งความเจ็บปวดของนักเรียนไทย

นักเรียนมากกว่า 236 คน

ห้องเรียน×

มีครั้งหนึ่งที่ครูต่างประเทศไม่มา แล้วครูไทยเลยมาสอนแทนสั่งให้เอาหนังสือขึ้นมา เราก็เลยบอกว่าเราไม่ได้เอามาค่ะ แล้วครูเขาก็เรียกเรากับเพื่อน ๆ ในห้องออกไป แล้วก็ใช้ไม้บรรทัดเหล็กตีที่มือของเราจนเกิดรอยช้ำแดงบนฝ่ามือ

ไม่ประสงค์ระบุตัวตน

ห้องปกครอง×

เคยเข้าห้องปกครองเพราะหนูขับรถที่มีลักษณะ​ที่ต้องคร่อมขี่มาโรงเรียน ซึ่งครูหลายท่านเรียกว่า "รถผู้ชาย"

ครูกล่าวว่า "เป็นการประพฤติ​ที่ไม่เหมาะสม เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ดูไม่งาม สร้างความเสื่อมเสีย ดูเหมือนพวกเด็กแว๊น ทรงแบบนี้คงเป็นพวกเด็กกลางคืน"

ทั้งที่หนูแค่ขับรถมาโรงเรียนเพื่อความสะดวก แต่กลับโดนเรียกเข้าไปรุมต่อว่า กฎของโรงเรียนไม่มีห้ามด้วยซ้ำ และยังโดนจดรายชื่อเพื่อหักคะแนน

ไม่ประสงค์ระบุตัวตน

หน้าเสาธง/สนามหญ้า×

โรงเรียนบังคับให้ตัดผมทรงนักเรียนเพื่อเข้าพิธีรับใบจบ โดยมีตัวแทนจากคนในวังมามอบใบจบให้ เราตั้งคำถามว่าทำไมต้องตัดผม และทำไมต้องเข้าร่วม หลังจากนั้นก็มีการโต้เถียงกับอาจารย์ในกลุ่ม แล้วครูหัวหน้าระดับก็เรียกชื่อเรา แล้วเริ่มพูดจาส่อเสียดให้เราอาย ต่อหน้าคนหมู่มาก และพูดซ้ำ ๆ ว่ากล้าตั้งคำถามต่อสถาบันกษัตริย์เหรอ

สงขลา, อายุ 21 ปี (ศิษย์เก่า)

โรงอาหาร×

รร. มีคติว่าเจอสิบครั้ง ไหว้สิบครั้ง ม.ต้นทุกคนแทบจะต้องก้มหัว ทุกครั้งที่เดินผ่านรุ่นพี่ ถ้าไม่ไหว้พี่เขาก็จะเรียกประชุมละพูดว่า ม.นี้ ไม่มีมารยาทไม่ไหว้รุ่นพี่ พอตอนกินข้าวก็ต้องตักข้าวให้รุ่นพี่ รุ่นพี่ต้องกินก่อน ต้องจัดช้อนส้อมที่คู่กันให้รุ่นพี่ บางทีพี่ไม่ยอมกินก็ต้องนั่งรอเขาก็ไม่ยอมบอกว่ากินก่อนได้เลย ถ้าเผลอกินก่อนก็จะโดนว่าตอนประชุม

ไม่ประสงค์ระบุตัวตน

หอพัก×

เคยถูกเรียกให้ไปซ่อมบนดาดฟ้ารวมกันทั้งหอ (อาจารย์หอทราบและอนุมัติให้ทำ) โดยคณะกรรมการนักเรียนมีจุดประสงค์เพื่อเรียกไปตักเตือนในเรื่องมารยาท และเรื่องชู้สาว บังคับให้กินขนมต่อกัน ทำท่าต่าง ๆ เช่น ค้ำฟ้า เก้าอี้ลม ที่ทำให้เมื่อยล้า เพื่อเป็นการลงโทษ และบอกว่าคือการฝึกความอดทน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อายุ 21 ปี (ศิษย์เก่า)

leg_b
ขา เข่า
leg_g
ขา เข่า
head
ทรงผม
face
ตาและปาก
body
ลำตัว
arm
ลำตัว
sex
เพศ
heart
จิตใจ

และใคร ๆ ก็ละเมิดคุณได้ทั้งนั้น

ชี้ที่กราฟแท่งเพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้อำนาจของคนในโรงเรียน

86.4%

ครู
ครู

53.9%

รุ่นพี่
รุ่นพี่

37.3%

เพื่อน
เพื่อน

13.9%

สภานักเรียน
สภานักเรียน

จากผลสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามนักเรียนในระดับมัธยมฯ ทั่วประเทศ 295 คน

โรงเรียนนั้นแสนใหญ่
แต่นักเรียนไทยตัวเล็ก
โรงเรียน
เสียงเล็ก ๆ จึงต้องรวมกัน
เพื่อรักษาสิทธิของพวกเขา

สพฐ. กำหนดให้โรงเรียนนำแนวคิดของ “สภานักเรียน” ไปปรับใช้
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สู่พลเมืองวิถีประชาธิปไตย

บทบาทของสภานักเรียนจึงมีขึ้นเพื่อ

ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเพื่อนนักเรียน
โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย

ทำได้จริงหรือ?

ประชาธิปไตยในโรงเรียน
ไม่ได้มีแค่ ‘การเลือกตั้ง’

การวัดผลว่า ‘กิจกรรมสภานักเรียน’ มีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับ 3 เงื่อนไขหลักคือ รูปแบบการเลือกตั้ง ธรรมนูญนักเรียน และโครงสร้างสภานักเรียน
โดยธรรมนูญเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด เพราะเป็นรากฐานของรูปแบบการเลือกตั้ง และโครงสร้างสภานักเรียน

แต่โรงเรียนส่วนใหญ่มักให้นักเรียนมีส่วนร่วมเฉพาะ ‘การเลือกตั้ง’

9 ใน 10
                                ของนักเรียนไทยเลือกตั้งในโรงเรียนครบทุกครั้ง
1 ใน 4
                                เท่านั้นที่รู้เนื้อหาของธรรมนูญโรงเรียนของตน

เท่ากับว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
โดยที่ไม่รู้แม้แต่บทบาท อำนาจ และหน้าที่ของตัวเอง

พาน

ธรรมนูญนักเรียน

คือ บทบัญญัติของโรงเรียนที่มีเนื้อหาระบุถึงสิทธิ เสรีภาพ บทบาท หน้าที่ ข้อตกลงเพื่อการอาศัยอยู่ร่วมกัน ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานของ ผู้แทนนักเรียน ตามหลักการแล้วธรรมนูญต้องร่างร่วมกันระหว่างโรงเรียน นักเรียน ชุมชน และต้องผ่านการลงมติจากประชาคมในโรงเรียนทุกฝ่าย



แต่ธรรมนูญนักเรียนส่วนมากกลับถูกเขียนด้วยผู้ใหญ่

เนื้อหาภายในธรรมนูญ

(ฉบับร่างของกรรมการสภานักเรียน
ร.ร. บดินทร์เดชาฯ นนทบุรี ปี 2563)

หมวดนี้มีชื่อว่า ‘บททั่วไป’
แต่เนื้อหาเน้นหนักไปที่อำนาจของสภานักเรียนว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง รวมถึงระบุไว้ให้ ธรรมนูญนี้เป็นบทบัญญัติ สูงสุดของสภานักเรียน จะมีข้อบังคับอื่นเห็นแย้งมิได้ จะแก้ไขได้ต่อเมื่อผ่านความ-เห็นชอบจากสภานักเรียนชุด ปัจจุบัน

หมวดนี้มีชื่อว่า ‘สภานักเรียน’
ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการ การจัดหาสภานักเรียน แนวทางการประชุมสภา และที่สำคัญคือ มีการระบุสิทธิ และหน้าที่ของสภานักเรียน เพื่อดำเนินงานส่งเสริมประชา-ธิปไตยในโรงเรียน

หมวดนี้มีชื่อว่า ‘ที่มาขององค์กร’
ระบุคุณสมบัติของผู้ลงเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง วิธีนับคะแนน รวมถึงวิธีการลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการสภานักเรียน ตลอดจนที่มาของกกต. ต้องเป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้

หมวดนี้มีชื่อว่า ‘คณะที่ปรึกษา’
เพื่อไม่ให้การทำงานของสภาถูกควบคุมโดยอำนาจอื่นในโรงเรียน สภานักเรียนสามารถสรรหาครูที่ปรึกษาสภาตามต้องการได้ โดยที่ปรึกษาไม่มีอำนาจ ตัดสินใจในการจัดทำโครงการ และมีหน้าที่รับรองการทำงานของคณะกรรมการสภานักเรียน

หมวดนี้มีชื่อว่า ‘การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญสภานักเรียน’
ใจความคือ การจะแก้ไข ธรรมนูญสามารถแก้ไขให้ ทันสมัยและเป็นสากลได้ โดยให้อำนาจแก่สภานักเรียน เป็นผู้ขอยื่นพิจารณาแก้ไข ได้เท่านั้น

ธรรมนูญทำมือ โดยนักเรียน

เมื่อไม่มีธรรมนูญทำให้สภานักเรียนส่วนใหญ่ที่เพิ่งเข้ามาทำงาน มักไม่รู้ว่าตนเองมีบทบาทหน้าที่อย่างไร ครูผู้ดูแลสภาฯ จึงเข้าควบคุม จนทำให้สภาฯ ไม่สามารถเป็นตัวแทนให้กับผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

โอม อดีตประธานสภานักเรียนใช้เวลาทั้งวาระในการร่างธรรมนูญ ฉบับนักเรียนและทำประชาพิจารณ์ ตนเชื่อว่ากติกาที่ทุกคนตกลงร่วมกัน จะสามารถสร้างสังคมที่เป็นธรรมและปลอดภัยสำหรับคนทุกกลุ่มได้



แต่น่าเสียดายที่ธรรมนูญไม่อาจเกิดขึ้นได้

ธรรมนูญนักเรียนถูกเขียน
โดยปราศจากเสียงนักเรียน

เลื่อนดู>>> เพื่อเปรียบเทียบแผนผังอำนาจในโรงเรียน

โครงสร้างสภานักเรียนส่วนใหญ่จึงอยู่ใต้อำนาจครู

2 นักการศึกษาพูดถึงปัญหาอะไรบ้าง?
ในระบบสภานักเรียนไทย

นักวิชาการชาย

ประชาธิปไตยไม่ได้มีแค่การเลือกตั้ง ยังมีหลักเสรีภาพ เสมอภาค นิติรัฐ เมื่อหลักการถูกลืม สภานักเรียนจึงเป็นพิธีกรรมแค่ให้มี

ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา และอดีตหัวหน้างานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

ถ้าการเลือกตั้งในโรงเรียนยังเป็นพิธีกรรม เมื่อเด็กจบไป เขาก็จะมองเห็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องสูญเปล่า ซึ่งไม่ถูกต้อง

นักวิชาการหญิง

ครูจุ๊ย-กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้าและนักการศึกษา



นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

สภาสะท้อนเสียงผู้เรียนได้ยาก ต้องผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดบริหาร

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ขาดกลไกตรวจสอบ-ถ่วงดุลการทำงานของผู้แทนนักเรียน

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ครูเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติผู้ลงสมัครเพียงฝ่ายเดียว

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ครูมีอำนาจเหนือนักเรียน เลือกตัวแทนเข้าสภาตามความต้องการ

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ขาดการเชื่อมโยงสภานักเรียนกับสภาท้องถิ่น

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ระบบสภานักเรียนฝึกหัดเอื้อให้แต่ละตำแหน่งส่งต่ออำนาจได้ง่าย

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

หลังเลือกตั้งจบ นักเรียนไร้อำนาจ ขาดกลไกยื่นถอดถอนผู้แทน

นักวิชาการหญิง นักวิชาการชาย

ระบบมีความซับซ้อน-ยุ่งยาก ไม่เอื้อให้นักเรียนมีส่วนร่วมได้ง่าย

สำรวจพิธีกรรมประชาธิปไตย
ในโรงเรียนไทย

เลื่อนซ้าย-ขวา เลือกหัวข้อที่สนใจ
คลิกที่ไอคอนเพื่อสำรวจผลกระทบจากทั้ง 7 โรงเรียนตัวอย่าง

bg14

ประชาธิปไตยที่ไร้เสียงนักเรียน


อาจทำให้เยาวชนกลายเป็นพลเมือง
ที่นิ่งเฉยและเคยชินต่อการถูกกดขี่

ปัญหาในโรงเรียนส่วนใหญ่
จึงแทบไม่ได้รับการแก้ไข

คลิกเพื่อย้อนกลับไปแก้ไข