Post Election ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง เวทีภาคตะวันออก

6 ภาพฉากทัศน์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์

อนาคตของประเทศหลังการเลือกตั้ง จะฝากความหวังไว้กับนโยบายที่นักการเมืองกำหนดให้เท่านั้นหรือ เมื่อคนที่กำหนดประเทศ คือ เราทุกคน เจ้าของสิทธิ์เสียงของการบริหารอำนาจที่แท้จริง การขับเคลื่อนประเทศนี้โดยไร้การฟังเสียงประชาชน เป็นบทเรียนแล้วว่าไม่ใช่หนทางที่ดี และกระบวนการมีส่วนร่วมไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นหนทางเดียวที่จะต้องเดินหน้า 

ไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย จึงเปิดพื้นที่ออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมรับฟังเสียงของประชาชน ด้วยการนำเครื่องมือนวัตกรรมทางสังคมมาใช้พัฒนาโจทย์คำถาม หาคำตอบ และกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อค้นหาฉากทัศน์ของประเทศไทย และภาพอนาคตเชิงยุทธศาสตร์เวทีแรกเริ่มต้นด้วยการฟังเสียงประชาชนภาคตะวันออก The Active รวบรวม 3 ภาพอนาคตจากการนำเสนอและพูดคุยในวงเสวนา เสนอในรูปแบบ Visual Note 

ไทยพีบีเอสและภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดกระบวนการชวนคิดชวนมองภาพฝันของตัวเอง เพื่อสร้างภาพอนาคตของประเทศ ผ่านตัวแทนเครือข่าย 53 เครือข่าย ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย ระหว่างอายุ 18-73 ปี  หลากหลายอาชีพทั้ง เกษตรกร ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว นักเรียนนักศึกษา นักพัฒนา พนักงานรัฐ เอกชน และอื่น ๆ  โดยมีการแบ่งกลุ่ม ตามประเด็นหมวดใหญ่ ซึ่งแต่ละเครือข่ายได้ทำงาน ประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่ เศรษฐกิจ รายได้, รัฐราชการความมั่นคง, การศึกษาทักษะ, สุขภาพสาธารณสุข, สังคม พื้นที่การใช้ชีวิต, และสิ่งแวดล้อม 

ฉากทัศน์อนาคตของประเทศ นโยบายด้านการศึกษาที่ตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกัน คือการศึกษาที่ไม่มีเงื่อนไขเวลา มีความอิสระ ให้ความสำคัญกับการศึกษาตลอดชีวิต ประชาชนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่โดยมีชุมชนเป็นฐาน และเรียนฟรี เช่น ชุมชนเป็นพื้นที่การเรียนรู้การจัดการทางวัฒนธรรม / ไม่เหลื่อมล้ำ / บรรยากาศดีไม่มีการ Bully / มีการใช้สื่อ Technology – อินเทอร์เน็ตฟรี เป็นต้น โดยเสนอ ให้มีนโยบายการศึกษา กฎหมาย และงบสนับสนุนที่ดีเพียงพอจากรัฐ

รวมถึงต้องมีหลักสูตรที่พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้เข้าใจและค้นพบตนเอง มองเห็นเป้าหมายและการใช้ชีวิตอย่างเท่าทันโลกเช่น ความสุขของผู้เรียน คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดี ความชอบในเรื่องที่เรียน เป็นต้น โดยมีข้อเสนอให้มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง / แนวคิดสหวิชาชีพ และสุดท้ายคือการยกระดับคุณภาพการพัฒนาครูตั้งแต่ต้นทาง มีการวัดคุณภาพที่สอดคล้องกับการเรียนการสอ เช่น ครูและผู้เรียนมีความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเสนอให้เพิ่มสวัสดิการเพื่อจูงใจการเป็นครูคุณภาพ

ฉากทัศน์อนาคตของประเทศ นโยบายด้านสังคมที่ตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกัน คือการอยากเห็นสังคมแห่งความปลอดภัย เสมอภาค และยุติธรรม ผู้คนมีจิตสำนึกรู้หน้าที่เริ่มตั้งแต่ในครอบครัว และมีกฎหมายที่ดีคุ้มครอง

เช่น การสร้างสมดุลให้สังคม สังคมแห่งความสุขในทุกกลุ่มวัย เด็กที่เกิดมีคุณภาพเพิ่มขึ้น สังคมมีความเอื้ออาทร ยุติธรรม ไม่มีช่องว่างระหว่างวัยทางความคิด เด็กเติมเต็มผู้ใหญ่ได้และผู้ใหญ่เสริมประสบการณ์ชีวิตให้เด็กได้ โดยเสนอให้ประชาชนถูกปลูกฝังให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมปลอดภัยตั้งแต่ในครอบครัว และมีกฏหมายที่ดีคุ้มครอง เช่น การรู้หน้าที่ ความมีวินัย มารยาททางสังคม (การใช้รถใช้ถนน การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) รวมไปถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

ขณะเดียวกันก็อยากเห็นสังคมที่มีเศรษฐกิจดี ค่าครองชีพเหมาะสม ผู้คนมีรายได้ที่ดี สมดุลรายจ่าย เช่นเศรษฐกิจชุมชนเฟื่องฟู  การเข้าถึงเทคโนโลยี และมีความปลอดภัยในด้ายต่าง ๆ เสนอให้มีการทำสมดุลค่าครองชีพ และการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมความเป็นอยู่ และสุดท้ายคืออยากเห็นสังคมสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ครบถ้วนด้วยระบบขนส่งและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และชุมชนมีอำนาจร่วมจัดการสวัสดิการตามบริบทของตนเอง เช่น การให้อำนาจชุมชนร่วมจัดการสวัสดิการด้วยตนเอง ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ โดยเฉพาะการดูแลตนเองได้ดีเพียงพอ ระบบขนส่งสาธารณะที่ทั่วถึง ดี และปลอดภัยคล้ายแบบญี่ปุ่น การมีสิทธิต่าง ๆ ที่เท่าเทียม โดยเสนอให้รัฐสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการด้านระบบขนส่งและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดี ครอบคลุมทั่วถึง ปลอดภัยการกระจายอำนาจให้ชุมชนร่วมจัดการ

ฉากทัศน์ในอนาคตของประเทศนโยบายด้านเศรษฐกิจ ตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกัน คือการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากฐานรากเน้นความยั่งยืนทางอาหารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มจากเรื่องราวและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองได้ เช่น เศรษฐกิจชุมชนฐานราก สร้างมูลค่าในพื้นที่ของตน คือการเพิ่มมูลค่า สร้างแบรนด์ให้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น การจัดเทศกาลร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ การใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีเรื่องราว มีโฮมสเตย์ เป็นต้น รวมถึงการตระหนักถึงความยั่งยืนทางอาหารการเกษตรปลอดภัย ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงที่ปรับใช้ในชุมชน มีภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อน รวมถึงเสนอให้รัฐพัฒนานโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนอย่างทั่วถึงเพียงพอลดปัญหาหนี้สาธารณะค่าครองชีพเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอาชีพหลักของประเทศเช่นเกษตรกร เช่น  ลดปัญหาหนี้สาธารณะ ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ และการเกษตรไม่สูงจนเกินไป เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เกษตรกรต้องจัดเก็บมีเป็นของตนเองได้ มีล้งโดยคนไทย รัฐมีการสนับสนุนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ชุมชนเติบโตได้และไร้หนี้สิน (รัฐพัฒนา ตลาดพัฒนา) และเรื่องสุดท้าย เสนอให้มีความยั่งยืนในอาชีพการทำกินและการเงินที่มั่นคงด้วยโมเดลพัฒนาการเงินชุมชนให้ก้าวหน้าเข้มแข็งลดการเป็นหนี้เกิดการจ้างงานในพื้นที่เช่น การเงินชุมชนก้าวหน้า คนเป็นหนี้น้อยลง สอดคล้องกับข้อที่ 2

ฉากทัศน์ในอนาคตของประเทศ นโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ที่ตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกัน ภาพรวมเน้นการพูดถึงการสมดุลอำนาจระหว่างรัฐและประชาชนคือประชาชนเป็นศูนย์กลางในการทำนโยบาย เกิดเป็นนโยบายของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนเช่นลดความเหลื่อมล้ำให้เกิดความเท่าเทียมประชาชนมีสิทธิพื้นฐานเท่าเทียมในทุกด้าน โดยการทำนโยบายต้องใช้แนวคิด นโยบายของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชนกระจายและสมดุลอำนาจ ให้ประชาชนเป็น Active Citizen ท้องถิ่นจัดการตนเองโดยรัฐทำงานร่วมกับชุมชนสร้างชุมชนเข้มแข็งเช่นการสมดุลอำนาจระหว่างรัฐประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีข้อเสนอให้รัฐทำงานร่วมกับชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง ผลักดันให้เกิด Active Citizen เพื่อสมดุลอำนาจ รู้เท่าทันนักการเมืองและเรื่องสุดท้ายคือการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นให้รัฐมีความโปร่งใส ทำงานจริงตรวจสอบได้ และบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องประชาชน (ยกเลิกการทำรัฐประหาร)และลดระบบอุปถัมภ์วัฒนธรรมพวกพ้อง โดยการเลิกการทำรัฐประหาร สร้างระบบพลเมืองเข้มแข็ง รัฐต้องทำงานจริงและตื่นตัวอยู่ตลอด รวมถึงบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องประชาชน ไม่ปกป้องพวกพ้อง ลดวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์เส้นสาย

ฉากทัศน์ในอนาคตของประเทศ นโยบายด้านสุขภาพและสาธารณสุขตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกัน คือ โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มีศักยภาพบุคลากร และเทคโนโลยีในการดูแลและพัฒนาประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงเพียงพอด้วยเครื่องมือที่ครบวงจร

โดยเสนอให้มีการกระจายเครื่องมือที่ครบวงจรให้ครบถ้วน มีเทคโนโลยีใรการพัฒนาดูแลสุขภาพ ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม กระจายเครื่องมือ จัดสรรทรัพยากร และบุคลากรให้เพียงพอ พัฒนาระบบจิตอาสาช่วยดูแลอย่างทั่วถึง โดยมีงบประมาณและระบบสนับสนุนให้เกิดจิตอาสาผ่านการใช้ Credit Bank (เช่น ธนาคารเวลาด้ เช่น  จัดสรรงบประมาณ ส่งเสริม พัฒนา ระบบสนับสนุนให้เกิดจิตอาสา (เช่น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง) โดยใช้แนวทางแบบ Credit Bank หรือ ธนาคารเวลา สวัสดิการที่ครอบคลุมบริการสุขภาพที่จำเป็นของคนทุกกลุ่มอย่างไม่เหลื่อมล้ำและไม่ผลักภาระ ส่งเสริมการมีองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติด้วยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เช่น การมีวาระแห่งชาติด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน การไม่ผลักภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน สถานพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่งรับผู้ป่วยโดยไม่ปฏิเสธ การเข้าถึงสิทธิการรักษาได้ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม สนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

ฉากทัศน์ในอนาคตของประเทศ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ตัวแทนเครือข่ายภาคตะวันออกมีการเสนอร่วมกันซึ่งในวงนี้มีการพูดคุยถึงภาครัฐ นายทุน และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมมากที่สุด สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำอากาศ ป่าไม้ สะอาด ไร้มลพิษและปลอดภัย โดยรัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จริงจัง ยุติธรรม และปลูกฝังให้ประชาชนดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากตนเองได้ เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรอบตัวของทุกคน การปลูกฝังลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีรอบด้านที่กระทบกับชาวบ้านและชุมชนระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาสารพิษจากโรงงานวงจรการจัดการขยะ การถูกนายทุนบุกรุกพื้นที่ การเอื้อประโยชน์ของรัฐสร้างผลกระทบต่อประชาชน การเผ้าระวังในทุกมิติของคุณภาพชีวิต การส่งเสริมอาหารปลอดภัยไร้การปนเปื้อนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีรุ่นสู่รุ่น กระจายอำนาจสู่ชุมชน มีกฎหมายและธรรมนูญชุมชน โดยประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ลดปัญหาระบบพวกพ้องนายทุนทำลายสิ่งแวดล้อมโดยให้ทำสอดคล้องกับข้อเสนอที่กล่าวมาข้างต้น

มีพื้นที่คุ้มครองที่ได้รับการปกป้อง เช่น พื้นที่ป่า พื้นที่ทางวัฒนธรรมชุมชนดังเดิมที่พึ่งพิงและฟื้นฟูธรรมชาติ ทำผังภูมิสังคมระดับจังหวัด โดยรัฐออกนโยบายและร่วมมือกับชุมชน ให้ชุมชนร่วมดูแล เช่น  ลดปัญหาพวกพ้องนายทุนทำลายสิ่งแวดล้อม รัฐควรออกเป็นนโยบายเร่งด่วน การที่รัฐ (กระทรวงมหาดไทย/ โยธาธิการ) เป็นผู้สนับสนุนขับเคลื่อนการทำ ‘ผังภูมิสังคม’ ในทุกพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบลในประเทศไทย

Author

Alternative Text
AUTHOR

อรวรรณ สุขโข

นักข่าวที่ราบสูง ชอบเดินทางภายใน ตั้งคำถามกับทุกเรื่อง เชื่อในศักยภาพมนุษย์ ขอเพียงมีโอกาส

Alternative Text
VISUAL NOTE TAKER

วรรวิสาข์ อินทรครรชิต

นักออกแบบ และนักการศึกษา ผู้สนุกกับประเด็นและเรื่องราวรอบโลก ชอบทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย ผ่านศิลปะและการสื่อสารด้วยภาพแบบ Visual note, Visual Recording และวิดีโอ เป็นนักเจื้อยแจ้วแห่ง FB: Mairay May