โควิด-19 ทำให้เกิด แผลเป็น ที่กระเทือนไปถึง แผลเก่า คือ ความเหลื่อมล้ำ | เดชรัต สุขกำเนิด

วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรก ที่มาถึงประเทศไทยในวันนี้ (24 ก.พ. 2564) จำนวนกว่า 300,000 โดส มาพร้อมกับความหวังในการควบคุมการระบาดและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เห็นจากประเทศที่มีการฉีดวัคซีนไปก่อนหน้านี้ จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

คาดว่าก่อนหมดครึ่งปีแรก หลายประเทศจะเริ่มพูดถึงการฟื้นฟูในส่วนของการท่องเที่ยว ส่วนในประเทศไทย พื้นที่ที่ได้รับวัคซีนแล้วหลังจากครึ่งปีนี้จะดีขึ้นหรือไม่ หากมองในแง่ดี อีก 3 เดือน การท่องเที่ยวจะกลับมาเป็นจุด ๆ และหากมีการวางแผนที่ดี การท่องเที่ยวก็จะกระจายไปยังที่อื่นได้

แต่ความเป็นจริงแล้วผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19 ทำให้เกิด “แผลเป็น” ที่กระเทือนไปถึง “แผลเก่า”


แผลเป็นแรก คือ “ภาระหนี้” ที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น จากปี 2562 อยู่ที่ 79.9% ขณะที่ไตรมาส 3 ปี 2563 อยู่ที่ 86.6% และมีแนวโน้มว่าไตรมาสแรกของปีนี้ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนเมื่อเทียบกับ GDP จะไปถึง 90%


การมีหนี้ก้อนโต นำมาซึ่งนำมาซึ่ง แผลเป็นที่ 2 ทำให้ “การลงทุนถดถอย” ลดลง ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ กระทบไปถึงการฟื้นตัวในจังหวะที่ควรฟื้นตัว ที่ถูกถ่วงโดยหนี้สินเหล่านี้

ขณะที่ แผลเป็นที่ 3 คือ “ภาระการคลัง” ของรัฐบาล เมื่อเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ ตัวอื่น ๆ อ่อนแรง จึงหวังพึ่งการลงทุนจากภาครัฐ แต่ที่ผ่านมามีการกู้เงินจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเกือบจะทะลุเพดานวินัยการเงินการคลัง กระทบไปถึง สวัสดิการถ้วนหน้าต่าง ๆ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการตีตก ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. … เดือนละ 3,000 บาท ให้กับผู้สูงอายุ ในขณะที่รัฐบาลก็ไม่เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็ก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาระการเงินการคลังที่ร่อยหรอ

จากแผลเป็นนี้ จะกระทบไปถึง “แผลเก่า” ก็คือ “ความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งเป็นปัญหาเดิม ที่ควรถูกแก้ด้วยการสร้างรัฐสวัสดิการ แต่กลับได้รับผลกระทบจากภาวะการเงินการคลังที่ไม่เพียงพอ ก็ทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา

สภาพปัญหาเงินฝืดเคืองภาคครัวเรือน นำมาสู่การหลุดออกนอกระบบการศึกษา ของเด็กยากจน รวมไปถึงผู้สูงอายุ ที่ไม่มีรายยังรับเงินจากเบี้ยยังชีพคนชราทางเดียวต้องแบกรับผลกระทบที่หนักกว่า ชนชั้นของสังคม โอกาส และความเหลื่อมล้ำจึงถูกถ่างให้ช่องว่างห่างขึ้น จากวิกฤตโควิด-19 ในขณะที่รัฐบาลยังไม่เปิดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของคนในสังคม ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา… ไปพร้อมกัน


ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หรือ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เปิด #แผลเป็น และ #แผลเก่า เพื่อหาแนวทางฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ไว้ในรายการ Active Talk EP.7 “เปิดแผลเป็น และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19” (23 ก.พ. 2564)

Author

Alternative Text
AUTHOR

วชิร​วิทย์​ เลิศบำรุงชัย

ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข ThaiPBS