(3 ก.ย. 63) ตลอดรอบปีที่ผ่านมา “ภาคอีสาน” เป็นอีกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งภัยแล้งและพายุ รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ที่รวมถึงระดับครัวเรือนในภาคอีสานด้วย
.
ไร่นา ป่าสวน พืชผัก และผลไม้ นับเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดของความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาดังกล่าว
.
“ความมั่นคงทางอาหาร” สะท้อนถึงความมั่นคงของมนุษย์อย่างไร? “เวทีสาธารณะ” เปิดวงสนทนานโยบายสาธารณะ เพื่อพูดคุยกันว่า จะผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและผลักดันเป็นวาระร่วมของสังคมได้อย่างไร
.
The Active ชวนติดตาม “จากมือถึงมือ” ครั้งที่ 4 “ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงของมนุษย์” พร้อมกิจกรรมภายในงาน “สมัชชาสภาพลเมืองอีสาน ตุ้มโฮมฮักแพงแบ่งปัน ไทอีสานหนึ่งเดียว” และ “Hand to Hand Music for Social Movements” กับ “อ้น แคนเขียว” และ “วงหมาเก้าหาง”
.
องค์กรร่วมจัด
• สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน – CODI
• เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลภาคอีสาน และองค์กรภาคี
• สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
• ไทยพีบีเอส ชุมชนสัมพันธ์ สำนักสื่อสารและภาคีสัมพันธ์
• ศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ไทยพีบีเอส
• Thai PBS