ส่องงบฯ 2567 ตั้งแต่เกิดจนตาย ประชาชนได้สวัสดิการใดบ้าง?

ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่กำลังพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร มีวงเงินสูงถึง 3.48 ล้านล้านบาท โดยมีงบประมาณที่ลงทุนกับสวัสดิการของคนในแต่ละช่วงวัยอยู่ราว 3.87 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 11 ของงบประมาณทั้งหมด The Active ชวนผู้อ่านสำรวจสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย ในร่างงบประมาณปี 2567 เงินก้อนนี้จะลงที่ใคร และประชาชนได้อะไรบ้าง?

สวัสดิการ

ภาพรวมของงบฯ ปี 2567 ที่เป็นรายจ่ายเพื่อสวัสดิการของแต่ละช่วงวัยพบว่า มีการใช้จ่ายเพื่อคนช่วงวัยเรียนมากที่สุด 141,922.23 ล้านบาท (36.59%) รองลงมาคือช่วงวัยแรงงาน 135,084.2 ล้านบาท (34.83%) อันดับ 3 คือช่วงวัยสูงอายุ 94,095.47 ล้านบาท (24.26%) และน้อยที่สุดคือช่วงวัยเด็ก 16,774.82 ล้านบาท (4.32%) หากเทียบกับจำนวนประชากรในแต่ละช่วงวัยโดยข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2565 จะพบว่ามีประชากรในวัยทำงานมีจำนวนมากที่สุดราว 36 ล้านคน รองลงมาคือวัยเรียน 13 ล้านคน วัยสูงอายุ 11 ล้านคน และน้อยที่สุดคือวัยเด็ก 4 ล้านคน

งบฯ เพื่อวัยเด็ก

โครงการ/นโยบายจำนวน
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงบประมาณ
(หน่วย: ล้านบาท
)
งบฯ เฉลี่ยต่อหัว
(หน่วย: บาท)
เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด2,560,000คน16,494.616,443.21
เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็ก
ในครอบครัวอุปถัมภ์
5,297คน127.1324,000.38
เงินอุดหนุนสงเคราะห์เด็กในครอบครัว
ช่วยเหลือเด็กขาดแคลนและ
สงเคราะห์เลี้ยงเด็กตามบ้าน
110,000คน115.081,046.18
กองทุนคุ้มครองเด็ก2,700คน3814,074.07
รวมงบประมาณทั้งสิ้น16,774.82

ด้วยอัตราการเกิดที่น้อยลงในทุกปีทำให้งบฯ สวัสดิการเพื่อเด็กโดยเฉพาะเด็กแรกเกิดมีสัดส่วนที่น้อยลงตาม หลายคนจึงจับตามองต่อไปว่า รัฐจะมีการจัดหาสวัสดิการเพื่อส่งเสริมให้คนไทยอยากมีบุตรมากขึ้นหรือไม่ เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กเกิดน้อย-ด้อยคุณภาพ โครงการที่มีการลงทุนมากที่สุดคือ “เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด” โดยเด็กแรกเกิดจะรับเงินอุดหนุนฯ เดือนละ 600 บาท จนอายุครบ 6 ปี ใช้วงเงินงบประมาณสูงถึง 16,494.61 ล้านบาท หรือคิดเป็น 98.3% ของงบฯเพื่อวัยเด็กทั้งหมด

งบฯ เพื่อวัยเรียน

โครงการ/นโยบายจำนวน
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงบประมาณ
(หน่วย: ล้านบาท)
งบฯ เฉลี่ยต่อหัว
(หน่วย: บาท)
การศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปีตั้งแต่
อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
10,790,000คน83,666.247,754.05
สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียน
สนับสนุนค่าอาหารกลางวัน
5,700,000คน28,023.754,916.45
สนับสนุนค่าอาหารเสริม (นม)6,550,000คน12,634.731,928.97
ทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาและทุนอื่น ๆ68,027ทุน7,149.63105,099.89
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา2,620,000คน6,044.082,306.90
ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
26,133คน2,304.1188,168.60
ผลิตแพทย์ สังกัดการอุดมศึกษาฯ4,453คน2,099.69471,522.57
รวมงบประมาณทั้งสิ้น141,922.23

ในงบฯ ปี 2567 มีการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการในวัยเรียนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น โดยโครงการที่ใช้งบประมาณมากที่สุดคือ “การศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปีตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน” หรือก็คือโครงการเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งใช้วงเงิน 83,666.24 ล้านบาท หรือคิดเป็น 59% ของงบฯ เพื่อวัยเรียน รองลงมาคืองบฯ อาหารกลางวัน 28,023.75 (19.7%) ล้านบาท และโครงการนมโรงเรียน 12,634.73 ล้านบาท (8.9%)

จุดที่น่าสนใจของงบฯ เพื่อวัยเรียน คือ งบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่จัดสรรให้กับเด็กขาดโอกาสราว 2.6 ล้านคน ได้รับการจัดสรรงบฯ 6,044.08 ล้านบาท ขณะที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาฯและทุนอื่น ๆ จำนวน 68,027 ทุน ได้รับการจัดสรรงบฯ 7,149.63 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน แต่กลุ่มเป้าหมายกลับแตกต่างอย่างมาก

งบฯ เพื่อวัยแรงงาน

โครงการ/นโยบายจำนวน
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงบประมาณ
(หน่วย: ล้านบาท)
งบฯ เฉลี่ยต่อหัว
(หน่วย: บาท)
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ1,220,000คน78,775.0064,569.67
กองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และ 3913,670,000คน53,664.933,925.74
กองทุนประกันสังคมมาตรา 4010,960,000คน1,808.00164.96
กองทุนการออมแห่งชาติ2,640,000คน633.60240.00
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาทักษะเฉพาะ
ของแรงงานอิสระยุค 4.0
20,200คน141.907,024.75
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานกลุ่ม
เป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการ
ประกอบอาชีพวิถีใหม่
11,960คน29.902,500.00
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานใน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2,500คน9.683,872.00
เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ1,520คน8.605,657.89
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรีเพื่อ
ยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน
3,100คน6.602,129.03
ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียน
ครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลัง
จบการศึกษาภาคบังคับ
1,520คน5.993,940.79
รวมงบประมาณทั้งสิ้น135,084.2

วัยแรงงานเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดจากทุกช่วงวัย โดยพบว่างบของกองทุนบำเหน็จข้าราชการได้รับการจัดสรรสูงที่สุด 78,775 ล้านบาท สำหรับข้าราชการ 1,220,000 คน เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 64,569.67 บาท ขณะที่กองทุนประกันสังคมแม้จะรวมกองทุนมาตรา 33 และ 39 ยังมีวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 53,664.93 บาท สำหรับผู้ประกันตนจำนวนราว 24 ล้านคน โดยหากนำงบทั้ง 2 กองทุนฯ มาเฉลี่ยต่อหัวจะพบว่า ข้าราชการได้รับการจัดสรรงบมากกว่าผู้ประกันตนกว่า 16 เท่า

งบฯ เพื่อวัยสูงอายุ

โครงการ/นโยบายจำนวน
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงบประมาณ
(หน่วย: ล้านบาท)
งบฯ เฉลี่ยต่อหัว
(หน่วย: บาท)
เบี้ยผู้สูงอายุ11,830,000คน93,215.137,879.55
เงินอุดหนุนปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน
ผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัย
11,000แห่ง440.0040,000.00
เงินอุดหนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี115,251คน345.843,000.75
กองทุนผู้สูงอายุ1,900คน57.0030,000.00
เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก12,500คน37.503,000.00
รวมงบประมาณทั้งสิ้น94,095.47

สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว ท่ามกลางความคาดหวังจากหลายฝ่ายถึงนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุ ให้สามารถใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ โครงการเบื้ยผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการจัดสรรนโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้รับวงเงินทั้งสิ้น 93,215.13 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.1 ของงบฯ เพื่อวัยสูงอายุทั้งหมด เช่นเดียวกับวัยเด็ก ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพรายเดือน 600 – 1,000 บาทตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล “งบประมาณ ปี 2567” ที่หลากหลายผ่านช่องทางด้านล่างนี้

Author

Alternative Text
AUTHOR

พีรดนย์ ภาคีเนตร

เฝ้าหาเรื่องตลกขบขันในชีวิต แต่พบว่าสิ่งที่ตลกที่สุดคือชีวิตเราเอง