รู้จักแนวคิดเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรที่ยั่งยืน

ภาคเอกชนเปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนคุณค่าทางธุรกิจ จากการเปลี่ยนผ่านสู่แนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป้าหมาย net zero ประเทศไทย

11 ส.ค. 2566 SGS องค์กรการตรวจสอบ การทดสอบ และการรับรองระบบการจัดการความยั่งยืน จัดงานสัมมนา “Sustainability Solutions: Integrating ESG Considerations in Thai Companies’ Operations” เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน สร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อโลกและสังคม โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนองค์กรเอกชนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

วิทย์ สิทธิเวคิน นักบริหาร กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารหลายแห่งเริ่มมีแนวคิดเรื่อง Thailand taxonomy หรือการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับบริษัทที่มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยสามารถจัดกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เป็น 3 ระดับ คือ สีเขียว กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สีเหลือง กิจกรรมที่สามารถปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกิจกรรมสีแดง คือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่ายหิน กล่าวคือสินเชื่อุตสาหกรรมที่ผลิตคาร์บอนต่ำ ธนาคารต่างๆ จะให้ต้นทุนทางการเงินสำหรับองค์กรนั้นๆ เช่น องค์กรที่มีแนวทางประหยัดไฟฟ้า โดยองค์กรจะต้องจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอแผนและผลลัพธ์ในการลดคาร์บอนได้ ซึ่งวันนี้การทำรายงานยังเป็นภาคสมัครใจแต่ในอนาคตจะหลีกเหลี่ยงไม่ได้ หลายองค์กรจะกังวลเรื่องการปรับตัว แต่ต้นของการไม่ทำอะไรเลย จะมีราคาแพงกว่าการที่เราทำอะไรบางอย่างในวันนี้ เรื่องนี้จึงไม่ไกลตัว แต่เกี่ยวข้องกับเราแล้ว ถ้าไม่ปรับตัว จะทำให้เสียแต้มต่อทางการค้า

“ตอนนี้กำลังมีการจัดกลุ่ม thailand taxonomy พิจารณาง่ายๆ คือประเภทของอุตสาหกรรม และจึงดูในรายละเอียดว่ากระบวนการผลิต กระบวนการดำเนินกิจการนั้น ประเมินออกมาแล้วมีการปล่อยคาร์บอนมากน้อยอย่างไร ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการทำงานจะต้องคิดเรื่อง ESG (Environment, Social และ Governance) ในครอบคลุมในกระบวนการผลิต เพื่อที่จะเป็นผลดีต่อการประเมิน”

พรียันก้า เมธต้า ผู้จัดการโครงการ SGS กล่าวในหัวข้อ ติดอาวุธด้านการเงิน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ว่าปัจจุบันมีกลไกที่เรียกว่า green finance instrument หรือกลไกการให้รางวัลสำหรับองค์กรที่มีความยั่งยืน มีความพยายามสนับสนุนเรื่องนี้ในระดับโลก เพื่อให้ย้ายตลาดทุนมาอยู่ในภาคธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น ภายใต้แนวคิดการลดก๊าซเรือนกระจกของ Paris agreement ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ ธนาคาร ผู้กู้ และองค์กรผู้ตรวจสอบการจัดการความยั่งยืน ส่วนรูปแบบของการสนับสนุน แบ่งได้ดังนี้ Green loen Green trends financial (loen) sustainability linked loen และ sustainability performance linked loen โดยจะมีการประเมินการจัดการในองค์กรตั้งแต่ตอนแรกเริ่มของการให้เงินสนับสนุน และประเมินว่าหลังจากได้รับการสนับสนุนแล้วมีแนวโน้มการจัดการที่ดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร

“องค์กรต่างๆ จะต้องจัดทำ green finance framework structure นักจัดการเชิงยุทธศาสตร์ภายในองค์กร โดยผู้กู้กับธนาคารจะร่วมกันจัดทำ และประเมินว่าองค์กรนั้นมีการดำเนินการที่เป็น green project จริงๆ และต้องใช้หน่วยงานองค์กรภายนอกในการเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงโปร่งใส ซึ่งจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะได้ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่า และเงินกู้ที่มากกว่า เพราะจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการสร้างความยั่งยืนของตัวธนาคารเองด้วย ซึ่งกระบวนการนี้น่าจะช่วยทำให้อุตสาหกรรมความยั่งยืนมีการเติบโตมากขึ้นด้วย สำหรับองค์กรที่สนใจถ้าจะเริ่มต้นก็อาจจะมีการพูดคุยกับธนาคารเริ่มจัดการบางส่วนก่อน แล้วจัดทำ KPI เพื่อทำให้เห็นความก้าวหน้าเป็นลำดับๆ ไป”

สาโรจน์ อินทพันธุ์ กรรมการบริหารและเลขานุการ บมจ.โอสถสภา ถอดบทเรียนว่า ต้องเริ่มจากการที่พยายามทำให้ผู้บริหาร และพนักงานมีความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนก่อน แล้วผู้บริหารจึงจะวางนโยบายลงมาเพื่อกำหนดแผนการดำเนินกิจการ จึงจะนำไปสู่การลดต้นทุน ลดความเสี่ยง และมีความยั่งยืนในการดำเนินกิจการต่อไป โดยเราเริ่มจากความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนแล้วจึงแตกออกมาเป็นการวางแผนตามหลัก ESG

“สำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจกับพนักงาน เพราะถ้าไม่เข้าใจจะขับเคลื่อนต่อไม่ได้เลย พร้อมๆ กับการวัดกลุ่มเป้าหมายเชิงนโยบาย จัดให้มีผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ อีกเรื่องคือการวัดผลลัพธ์ จะต้องจับต้องได้ในเชิงสถิติ มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง หัวใจสำคัญคือต้องบริหารแบบ top-down ให้ได้ เพื่อให้เริ่มต้นและดำเนินต่อไปได้ ย้ำว่าเราต้องมีแผนที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้บริหารได้เห็นและนักลงทุนได้พิจารณา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ยิ่งแผนมีความเสี่ยงน้อยเท่าไหร่ ก็จะยั่งยืนมากเท่านั้น สิ่งที่ท้าทายมากก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเก็บข้อมูล ซึ่งระบบจะต้องเสถียรไม่ทำให้การคำนวนเพี้ยนไป”

ศศมน ศุพุทธมงคล ผู้จัดการอาวุโส บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) สะท้อนว่า การดำเนินงานเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมการดำเนินงาน พร้อมๆ กับการทำ ESG in process ซึ่งสามารถทำได้เลย ไม่ต้องรอเงินทุนหรือการสนับสนุน อาจจะเริ่มจากเกณฑ์ข้อกำหนดของกฎหมายก่อน โดยไม่ต้องกังวลมาก แล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายขอบเขตต่อไป การทำ ESG ไม่ใช่เรื่องการเปลืองเงินแต่สามารถช่วยเราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ และเป็นโอกาสขององค์กร ทั้งเรื่องของชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และจุดยืนขององค์กร เหมือนกับการเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ Intangible Assets เมื่อธุรกิจไม่สามารถหยุดพัฒนาได้ ก็จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าต่อไป

“KPI ด้าน ESG จะต้องมาอยู่ที่ผู้บริหารทั้งหมด เพื่อให้เห็นว่าการทำงานของพนักงานสะท้อนไปยังข้างบนชี้วัดได้ และดูว่าสร้างผลกระทบกับองค์กรอย่างไร โดยวางระบบการจัดการให้ครอบคลุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง สำหรับองค์กรที่เป็นบริษัทลูกเองก็ต้องทำตามบริษัทแม่ให้ได้ จะต้องตอบคำถามทุกข้อให้ได้ เพื่อให้เห็นความชัดเจนในภาพใหญ่ ในงานความยั่งยืนขององค์กร เริ่มแรกๆ อย่างน้อยคือเอา iso ต่างๆ ที่มีมาร้อยเรียงว่ามันสามารถตอบอะไรได้บ้างในแนวทาง ESG นี้ ซึ่งมันคือสหวิทยากร Environment ต้อง เก่งสิ่งแวดล้อม คำนวน วางโรดแมปสิ่งแวดล้อม เรื่องสังคม กับการมีธรรมมาภิบาล ก็เช่นกัน”

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active