เล็งขยายโมเดลอุดหนุนห้องเช่าคนไร้บ้าน ไปต่างจังหวัด ยกระดับนโยบายช่วยเหลือคนไร้บ้าน

ต่อยอดต้นแบบช่วยเหลือค่าห้องเช่าให้คนไร้บ้าน หลังพบเฟสแรก “คนไร้บ้านหัวลำโพง” มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น​เข้าถึง “ที่อยู่อาศัยมั่นคง เดินหน้าเร่งสกัดปัญหาคนไร้บ้านถาวร


เนื่องจาก สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็น คนไร้บ้านหน้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 30% จากคนไร้บ้านหากไม่เร่งแก้ปัญหาภายใน 1 ปีนี้อาจทำให้คนกลุ่มต้องตกอยู่ในสถานะ “คนไร้บ้านถาวร”

ช่วงต้นปี 2565 หน่วยงานรัฐ และภาคประสังคมร่วมกันทำโมเดลอุดหนุนค่าเช่าห้องให้คนไร้ ภายใต้ชื่อ “โครงการพัฒนารูปแบบ และนำร่องการจัดบริการที่อยู่อาศัย” โดยนำร่องครั้งแรกที่หัวลำโพง 11 ห้อง คนไร้บ้านเข้าร่วมโครงการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 20 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้ช่วยแค่เรื่อง “ที่อยู่อาศัย” แต่เพื่อวิจัยต่อยอดไปสู่ การแก้ปัญหาในระดับนโยบาย และหวังใช้โมเดลนี้ ขยายผลแก้ปัญหาคนเปราะบางกลุ่มอื่นๆ ในสังคมต่อไปทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด


ประเมินโครงการหลังนำร่องที่หัวลำโพง 11 ห้อง พบคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านดีขึ้น

วิธีการอุดหนุนค่าเช่าคนไร้บ้าน ผ่าน โครงการพัฒนารูปแบบ และนำร่องการจัดบริการที่อยู่อาศัย จะใช้หลักการช่วยจ่าย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยดึงศักยภาพคนไร้บ้าน ทำงานหาเงินจ่ายค่าเช่า ซึ่งไม่ใชรูปแบบการสงเคราะห์อย่างที่ผ่านมา โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่ร่วมโครงการ อย่าง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จับมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคม มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ช่วยจ่ายค่าเช่าบ้านคนไร้บ้านย่านหัวลำโพง 60% เพื่อแบ่งเบา การแบกรับภาระเรื่องที่อยู่อาศัย คนไร้บ้านจ่ายอีก 60% โดยส่วนต่างที่เหลือ 20% จะถูกนำมาสะสมเข้ากองทุนฯ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย

การดำเนินโครงการ 11 ห้อง ที่หัวลำโพง ในภาพรวมจะเป็นการจ่ายเงินช่วยอุดหนุน 17,940 บาท คนไร้บ้านจ่าย 23,940 บาท ส่วนต่างจะหักเข้ากองทุน 5,780 บาท โดยเรื่องงบประมาณที่ พอช.สนับสนุนการเบิกจ่ายแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างการรอเปิดบัญชีกองทุน

ส่วนภาระค่าเช่าของคนไร้บ้าน ยังไม่พบปัญหาการจ่ายล่าช้า แต่จากการสำรวจพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นคนไร้บ้าน 20 คน ยังค่อนข้างลำบาก เพราะอยู่ในสถานการณ์โควิด19  ขณะที่ผู้เข้าร่วมโครงการบางคนสามารถทำงานได้ดี และชักชวนให้เพื่อบ้านคนอื่นร่วมทำงานและเกิดการกระจายรายได้

นอกจากนี้ทางโครงการกำลังจัดหาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนไร้บ้าน เช่น อาชีพดึงยาง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาฝึกทักษะ แต่อาชีพนี้สามารถทำเป็นกลุ่มได้ พี่น้องคนไร้บ้านในโครงการจะได้มีรายได้เป็นกลุ่ม โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการพึงพอใจกับห้องเช่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ใกล้แหล่งที่ทำงานของตัวเองที่หัวลำโพงด้วย

เล็งขยายโมเดลอุดหนุนห้องเช่าคนไร้บ้าน ไปต่างจังหวัด ยกระดับนโยบายช่วยเหลือคนไร้บ้าน

นายอนุกูล ปีดแก้ว อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.)  มองว่า การดำเนินงานที่ผ่านมา ยังชี้ให้เห็นว่าควรทำ Case Management หรือ ทำแบบประเมินรายงานสถานการณ์รายเคส เป็นข้อมูลไว้เพิ่มเติม โดยกังวลถึงครอบครัวที่มีลูกเล้ก เพราะว่าอาจจะมีภาระมากกว่าคนกลุ่มอื่น จึงควรมองการแก้ปัญหาเป็นที่ละคน  หรือแก้ปัญหาให้แกนนำที่ดูกระตือรือร้น ซึ่งถ้าคนกลุ่มนี้หลุดออกไปอาจจะทำโครงการเดินต่อยาก

อธิบดี พส. ยังเตรียมขยายโมเดล “อุดหนุนห้องเช่า-คนไร้บ้าน” ไปยังพื้นที่อื่น เช่น กาญจนบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น รวมถึงพื้นที่อื่นที่มี มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการอยู่ โดยการเตรียมรับคนไร้บ้านนำร่องชุด 2 นั้นจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับคนไร้บ้าน โดยอาจจะทำ Job Matccing สำหรับคนไร้บ้านที่ยังไม่มีความพร้อม ควบคู่กับ การสนับสนุนห้องเช่าราคาถูก รวมถึงการออกแบบโมเดลบ้านพักระหว่างรองาน หรือรอเข้าร่วมโครงการ เช่น บ้านปันสุข เพื่อฝึกอาชีพและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคนไร้บ้าน

นายอนุกูล ยังมองหานโยบายที่น่าสนใจ เช่น การทำนโยบาย Sleeper Bus/ Bus Shelter อย่างโมเดลในอังกฤษที่รื้อเบาะ-คัดคนขึ้นรถ เพื่อให้คนไร้บ้านพักอาศัย รวมถึง การรักษาด้านจิตเวชให้กับคนไร้บ้าน โดยมีแนวทางจะหารือเรื่องนี้ ขณะที่หลายเรื่องยังอยู่ระหว่างการศึกษา-วิจัย เตรียมต่อยอดสู่การแก้ปัญหาระดับนโยบาย เพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้าน และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น

Author

Alternative Text
AUTHOR

บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล

เรียนจบสายวิทย์-สังคมฯ-บริหารรัฐกิจฯ ทำงานไม่ตรงสาย และกลายเป็น "เป็ด" โดยไม่รู้ตัว สนใจการเมือง จิตวิทยาเด็ก วิธีคิดการมองสังคม และรักการสัมภาษณ์ผู้คน