สมุทรสาครมุ่งเป้าเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ

เดินหน้าจัดทำฐานข้อมูลคาร์บอนต่ำระดับท้องถิ่นเพื่อไขกุญแจสำคัญที่ขับเคลื่อนจากฐานรากให้ร่วมมือกันลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ไปสู่เป้าหมายชาติ และการได้รับการยอมรับทางการค้าในต่างประเทศ

อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จังหวัดสมุทรสาคร วางเป้าหมายพัฒนาจังหวัด ตั้งแต่ปี 2566-2570ให้เป็น เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เมืองเกษตรและอาหารปลอดภัยที่มีมาตรฐานสากลและมูลค่าสูง ท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ สังคมน่าอยู่สู่เมืองแห่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน และมุ่งลดคาร์บอนร้อยละ 2 ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นความท้าทายโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นที่เริ่มขยับจากฐานข้อมูลคาร์บอนต่ำระดับท้องถิ่น ที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแผนชาติที่ต้องรวมกันทำทั้งประเทศ ที่มุ่งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral ในปี 2050 และ ‘Net Zero’ หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065

จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ กรรมการสมาคมนักผังเมืองและหัวหน้าโครงการแผนปฏิบัติการเมืองสมุทรสาครน่าอยู่..มุ่งสู่คาร์บอนต่ำ กล่าวว่า โครงการแผนปฎิบัติเมืองสมุทรสาครน่าอยู่มุ่งสู่คาร์บอนต่ำ เป็นการรวบรวมวิเคราะห์สถานการณ์คาร์บอนของพื้นที่เมือง โดยเป้าหมายจังหวัดสมุทรสาครจะลดคาร์บอนต่ำให้ได้ร้อยละ 2 ในเวลา 5 ปี เป้าหมายหมายต้องลดให้ได้เพื่อเป็นพื้นที่นำร่อง 20 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จาก 38 แห่ง ใน จ.สมุทรสาคร

สำหรับยุทธศาตร์การพัฒนาสมุทรสาครน่าอยู่สู่เมืองคาร์บอนต่ำ จุฑาทิพย์ กล่าวว่า สำหรับโครงการแผนปฎิบัติเมืองสมุทรสาครน่าอยู่มุ่งสู่คาร์บอนต่ำ เป็นการรวบรวมวิเคราะห์สถานการณ์คาร์บอนของพื้นที่เมือง โดยเป้าหมายจังหวัดสมุทรสาครจะลดคาร์บอนต่ำให้ได้ร้อยละ 2 ในเวลา 5 ปี เป้าหมายหมายต้องลดให้ได้เพื่อเป็นพื้นที่นำร่อง 20 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จาก 38 แห่ง ใน จ. สมุทรสาคร


สนธยา กริชนวรักษ์ ผอ.สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สนธยา กริชนวรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
เพราะเมืองไทยเราไม่ได้อยู่คนเดียว มีการทำการค้ากับต่างประเทศเนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ ของโลก ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างจะมีเวทีชัดในเรื่องการค้า เช่น เวทีสภาพยุโรป อย่างสินค้าในกลุ่ม สหภาพยุโรป (The European Union – EU) หรือ EU ที่การจะเข้าไปขายได้ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลของก๊าซเรือนกระจก และสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูง ๆ เราต้องมีการลดวิธีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ตอนนี้สินค้าที่จะเข้าไปขายในกลุ่ม EU  เราต้องซื้อใบรับรองในเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่าเป็น CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป

ขณะที่ การประชุมโลกได้มีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ไทยเองก็มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นกลางคาร์บอน ปี ค.ศ. 2050 และเป็น Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ในปี 2065 ประเทศต่าง ๆ ทั่งโลกยึดถือหลักเกณฑ์เรื่องนี้ และบางประเทศอาจทำมากกว่านั้น ในกลุ่มผู้ประกอบการณ์บางรายจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจะมากกว่าร้อยละ 40 – 50 

“ผมมองเป็นจิ๊กซอว์ แต่ละประเทศเขาก็มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คือหนึ่งหน่วยสำคัญในไทย ถ้าเราช่วยกันจะเป็นจิ๊กซอว์ ภาพต่อทั้งประเทศ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศเราก็จะต่ำลงมาก”

ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เริ่มได้ สิ่งที่ทำมาหลาย 10 ปี เริ่มจากการแยกขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็จะลดลงหรือการติดโซลาร์เซลล์ ใช้รถอีวี เรื่องต้นทุนกำไรขาดทุนอาจไม่เด่นชัดเท่าไหร่ อีกทั้งยังต้องขยับต่อในเรื่ององค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ หลายบริษัทรู้ว่าโลกกำลังไปในการลดโลกร้อน จึงปรับตัว แต่ในส่วน อปท.ยังเข้าถึงเรื่องนี้ไม่มาก ควรบรรจุเรื่องนี้ในสถาบันการศึกษาตั้งแต่เล็ก ถึงระดับอุดมศึกษา ในช่วงที่รอนโยบายภาครัฐต้องกำหนดเป้าหมายออกมาอย่างชัดเจนแต่ละ อบต. อบจ. สามารถที่จะมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกว่าสามารถลดได้มากน้อยแค่ไหน และต้องสนับสนุน

พันจ่าเอกอัษฎางค์ วิเศษวงศ์ษา ปลัดเทศบาลตำบลนาดี จังหวัดสมุทรสาคร  กล่าวว่า ขณะนี้ชุมชนท้องถิ่นมีความพยายามเพื่อลดปัญหาขยะต่อเนื่อง การลดขยะให้เป็นศูนย์ที่จริงก็ค่อนข้างยาก แต่เราก็พยายามลด ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่มีขยะ  55 ตัน/วัน ลดขยะได้แล้ว 30 ตัน จากขยะ 80 ตัน/วัน ซึ่งทำทั้งเรื่องธนาคารขยะ รวมถึงการเปลี่ยนเป็นหลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ การสร้างองค์ความรู้  การมีนโยบายรัฐที่ชัดเจน ทั้งกฎหมาย การกำกับที่ใส่ใจให้ท้องถิ่นจะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นจะสามารถทำให้กระบวนการครบวงจร

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active