“อัตลักษณ์ คือ ธรรมชาติ เป็นความธรรมดา แต่ถ้าอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับวัฒนธรรมกลางของรัฐชาติ จะกลายเป็นความพิเศษ ที่ถูกมองเป็นอื่น นี่คือสิ่งที่เราต้องเจอ”
.
เป็นความพยายามอธิบาย คำว่า “อัตลักษณ์” ผ่านมุมมองของ “อ.ชิ – ผศ.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์” นักวิชาการชาติพันธุ์ ที่ศึกษาความเป็นไปของสังคมพหุวัฒนธรรม กับการค้นพบความจริงว่า ทุกวันนี้อัตลักษณ์ยังถูกมองเป็นอื่น
.
ที่น่ากังวลกว่านั้น คือ การกำหนดเงื่อนไขเชิงลบให้กับอัตลักษณ์โดยรัฐ จนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถูกตีความเป็นภัยต่อความมั่นคง เหมือนอย่างกรณี “อัตลักษณ์มลายู” ในชายแดนใต้ ที่ว่ากันว่าเป็นอีกปัจจัยที่สุมเชื้อไฟให้กับเหตุการณ์ความไม่สงบ จากการมองความแตกต่างของอัตลักษณ์มลายู ด้วยความหวาดกลัว จนพวกเขาถูกกดทับ
.
กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ ที่หลายฝ่ายพยายามตามหา…หรือจริง ๆ แล้ว อาจจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมอง เพื่อเข้าใจความหลากหลายของผู้คนให้ได้เสียก่อน
.
The Active ชวนย้อนฟังคำอธิบายของ “อ.ชิ – ผศ.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์” ทำไม ? เขาจึงเชื่อว่า เพียงแค่เราทุกคน เปิดใจ เปิดรับความแตกต่างหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม และเข้าใจในอัตลักษณ์ของผู้คนที่ไม่เหมือนกัน อาจมีส่วนทำให้สังคม และประเทศนี้ มองเห็นโอกาสครั้งสำคัญที่ซุกซ่อนอยู่ก็ได้