หลังผ่านพ้นรอมฎอนช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ หรือตรงกับว่าวันรายอที่ 3 (13 เม.ย. 67) ตามที่ผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ยึดถือ กิจกรรมที่เยาวชน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้รวมตัวกันแต่งกายด้วย 'ชุดมลายู' ในงาน 'Melayu Raya 2024' บริเวณชายหาดวาสุกรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ก็กลายเป็นนัดหมายสำคัญประจำปีไปแล้ว
กิจกรรมนี้ 'สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP)' ร่วมกับหลายเครือข่ายฯ จัดขึ้นหวังสื่อสารให้สังคมรับรู้ถึงวัฒนธรรม การฟื้นฟูวิถีการแต่งกายตามอัตลักษณ์ชาวมลายู พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน กล่มคนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างบรรยากาศไปสู่กระบวนการสร้าง 'สันติภาพ' ในพื้นที่ชายแดนใต้
Melayu Raya 2024 เน้นย้ำเป็นพิเศษ คือการแต่งกายชุดมลายูต้องไม่ถูกแช่แข็ง นั่นหมายถึงการทำให้ชุดมลายู เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และทำให้สังคมเกิดความเข้าใจ นำไปสู่การลดอคติ ลดความหวาดระแวง โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างของสังคมที่แตกต่างหลากหลาย แต่อยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ
พร้อมทั้งต้องการ และคาดหวังให้ผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ลองทำความรู้จัก และใส่ชุดมลายูได้อย่างเปิดใจ ไร้อคติ ไร้ความกลัว
The Active ชวนย้อนดูควันหลงงาน Melayu Raya 2024 กับสิ่งที่เยาวชน คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้อยากสื่อสารต่อสังคม
กิจกรรมนี้ 'สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP)' ร่วมกับหลายเครือข่ายฯ จัดขึ้นหวังสื่อสารให้สังคมรับรู้ถึงวัฒนธรรม การฟื้นฟูวิถีการแต่งกายตามอัตลักษณ์ชาวมลายู พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชน กล่มคนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างบรรยากาศไปสู่กระบวนการสร้าง 'สันติภาพ' ในพื้นที่ชายแดนใต้
Melayu Raya 2024 เน้นย้ำเป็นพิเศษ คือการแต่งกายชุดมลายูต้องไม่ถูกแช่แข็ง นั่นหมายถึงการทำให้ชุดมลายู เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และทำให้สังคมเกิดความเข้าใจ นำไปสู่การลดอคติ ลดความหวาดระแวง โดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคง เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างของสังคมที่แตกต่างหลากหลาย แต่อยู่ด้วยกันได้อย่างสันติ
พร้อมทั้งต้องการ และคาดหวังให้ผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ลองทำความรู้จัก และใส่ชุดมลายูได้อย่างเปิดใจ ไร้อคติ ไร้ความกลัว
The Active ชวนย้อนดูควันหลงงาน Melayu Raya 2024 กับสิ่งที่เยาวชน คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ชายแดนใต้อยากสื่อสารต่อสังคม