จุติ ไกรฤกษ์ ชี้ นายกรัฐมนตรีให้นโยบาย ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ คนที่เคยได้รับสิทธิ์เดิมก็ยังได้สิทธิ์ไปจนกว่าจะเสียชีวิต
30 ก.ย 2564 เครื่อข่ายสลัม 4 ภาคเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนนุษย์ เพื่อทวงถาม ความคืบหน้า การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีข้อเสนอ ทั้งหมด 5 ข้อเสนอ
1.ให้รัฐบาลยกระดับการพัฒนานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นระบบบำนาญแห่งชาติ เพื่อเป็นประกันรายได้พื้นฐาน และเป็นสิทธิสวัสดิการถ้วนหน้าขั้นพื้นฐานของประชาชน อายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยใช้อัตรา ไม่ต่ำกว่าเส้นความจน หรือประมาณ 3,000 บาท
2.อัตราดอกเบี้ยผู้สูงอายุในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์รายได้ ที่เพียงพอต่อการยังชีพ ต่ำกว่าเส้นความยากจน 3 – 5 เท่าจากข้อมูลเฉลี่ยทั่วประเทศ
3.ให้คณะกรรมการผู้สูงอายุ นำร่าง พ.ร.บ. บำนาญแห่งชาติ พ.ศ…ฉบับประชาชน และผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ(ฉบับที่) พ.ศ…ของคณะกรรมมาธิการสวัสดิการสังคม มาพิจารณาเพื่อพัฒนานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นกฎหมายบำนาญประชาชน
4.ให้อนุกรรมาธิการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ยกเลิกแนวทางการกำหนดจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มคนยากจน
5.ให้เปิดเผยการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ให้สาธารณชนได้รับทราบ และสามารถติดตามข้อมูลเชิงนโยบายได้เท่าทันสถานการณ์
ขณะที่วันนี้ จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ลงมารับเรื่องด้วยตัวเองที่หน้ากระทรวงรวมถึงเชิญตัวแทนเครือข่าย และตัวแทนประชาชนขึ้นไปสะท้อนและนำเสนอปัญหาในห้องประชุม
โดยนายจุติ ได้ชี้แจงว่าทุกกระบวนการมีขั้นตอนและหน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน ไม่มีใครตัดสินใจได้คนเดียว
“ตอนนี้อย่าไปตกใจ การจ่ายเบี้ยยังชีพท่านจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม จะยังจ่ายตามเกณฑ์เหมือนเดิม จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย แต่ก็ต้องมีขั้นมีตอน จะเรียนให้ทราบว่า วันนี้ไม่มีการตัดสินใด ๆ ทั้งสิ้น “
เนืองนิช ชิดนอก ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค ระบุว่า ที่ผ่านมาประชาชนได้สะท้อนปัญหา และมีข้อเสนอถึงหน่วยงานมาตลอด แต่ไม่เห็นความคืบหน้า แต่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนนุษย์ หรือ พม. ไม่มีวี่แวจะรับข้อเสนอต่างๆไปพิจารณา
โดยนายจุติ ยืนยันกับประชาชนที่เดินทางมายืนหนังสือว่า จะนำเรื่องส่งให้คณะอนุกรรมการที่กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ แล้วเสนอให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาก่อนส่งต่อให้คณะรัฐมนตรี โดยย้ำว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องเสนอเป็นร่าง พ.ร.บ.ให้สภาฯ พิจารณา ไม่มีใครสามารถตัดสินใจเพียงคนเดียวได้