ไทยเตรียมพร้อมรับอิทธิพลพายุโซนร้อน ‘โนรู’ 25-29 ก.ย. นี้

ศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางของยุโรป ( ECMWF ) ระบุ ทิศทางของพายุโซนร้อน โนรู กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ผ่านทะเลจีนใต้ เวียดนาม และไทย ​ทำให้บริเวณตอนบนของไทยหลายจังหวัดมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ​

ภาพ บรรยากาศ อ่าวฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถ่ายโดย ส.อ.อนันตพรภัทร กลุ่มไลน์สมาชิกเพื่อนเตือนภัยภูเก็ต

ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน พายุโนรู จะมีผลกระทบต่อประเทศทำให้หลายจังหวัดมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยพายุลูกนี้จะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 25 – 26 กันยายน 2565 และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 27-28 กันยายน 2565 ส่งผลทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2565 

พายุ โนรู เป็นพายุลูกที่ 16 ของปีนี้ หมายถึง กวางชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อโดยสาธารณรัฐเกาหลีใต้ มีศูนย์กลางบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เคลื่อนที่ทางทิศตะวันตก 

สำหรับพายุ โนรู มีแนวโน้มเป็นพายุโซนร้อนไปจนถึงที่ 26 กันยายน 25665 หลังจากนั้นพอเข้าสู่วันที่ 27 กันยายน มีโอกาสเป็นพายุใต้ฝุ่น เคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามและไทยในช่วงวันที่ 28-29 กันยายน พายุจะมีแนวโน้มเป็นพายุ พายุดีเปรสชั่น โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ จะกระทบก่อน แต่ก็ต้องติดตามการประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดเพราะหลายพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่มีโอกาสน้ำท่วมหลาหโดยเฉพาะริมแม่น้ำายต่างๆที่พายุพาดผ่าน

แต่สำหรับอิทธิพลฝนตกหนัก ที่เกิดขึ้นวันนี้ 24 -25กันยายน 2565 มาจากขณะนี้ไทยเอง ยังมี ร่องมรสุมกำลังแรงยังคงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง จึงยังทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วยเพราะวันนี้ ยังมีหลายจังหวัดเสี่ยงฝนตกหนัก ดังนี้


ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์

ภาคอีสาน : หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์


ภาคกลาง : นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร

ภาคตะวันออก : นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด

ภาคใต้ : เพชรบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

โดยปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.มุกดาหาร (125 มม.) จ.เชียงราย (117 มม.) และจ.เชียงใหม่ (114 มม.)

ด้านกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุป วันนี้(24 ก.ย.65) ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย. 65 ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 30-50 เซนติเมตร บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

ขณะที่ปริมาณน้ำ จากแหล่งน้ำทุกขนาด 57,121 ลบ.ม. (70%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,787 ล้าน ลบ.ม. (70%) เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 14 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก บึงบอระเพ็ด ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านปราการชล นฤบดินทรจินดา คลองสียัด บางพระ และหนองปลาไหล

ชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางกล่าวว่า หลังขึ้นเฮลิคอร์ปเตอร์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำรวจติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ทุ่งพระพิมล ทุ่งพระยาบรรลือ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งผักไห่ ทุ่งป่าโมก ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก และทุ่งเชียงราก พบว่าจากการสำรวจสภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีนพบว่าในจุดต่างๆ สามารถระบายน้ำได้ดี ขณะที่ทุ่งลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาเริ่มมีน้ำบ้างแล้วจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ซึ่งพื้นที่เกษตรโดยส่วนใหญ่เกษตรกรได้ทำการเก็บเกี่ยวเกือบหมดแล้ว ซึ่งหากพายุลูกใหม่เข้ามาก็น่าจะรองรับสถานการณ์น้ำหลากไว้ได้

พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 27 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ดังนี้

1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนี้

1.1 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฮอด จอมทอง ดอยหล่อ ดอยเต่า และแม่วาง)

จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอสบเมย และแม่สะเรียง)

จังหวัดลำปาง (อำเภอห้างฉัตร เกาะคา เสริมงาม เมืองลำปาง และสบปราบ)

จังหวัดลำพูน (อําเภอเวียงหนองล่อง ป่าซาง แม่ทา และป่าซาง)

จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง และคลองลาน)

จังหวัดตาก (อำเภอพบพระ อุ้มผาง และแม่สอด)

จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น ลอง และเด่นชัย)

จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล และทองแสนขัน)

จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย วัดโบสถ์ และชาติตระการ)

จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์)

จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)

จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี)

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง)

จังหวัดขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และภูเวียง) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเสิงสาง ปักธงชัย ครบุรี วังน้ำเขียว โชคชัย ปากช่อง หนองบุญมาก สูงเนิน สีคิ้ว และเมืองนครราชสีมา)

จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอบ้านกรวด ประโคนชัย ละหานทราย เฉลิมพระเกียรติ พลับพลาชัย โนนดินแดง ปะคำ นางรอง กระสัง โนนสุวรรณ หนองกี่ เมืองบุรีรัมย์ และชำนิ)

จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอพนมดงรัก สังขะ บัวเชด พนมดงรัก ปราสาท กาบเชิง ลำดวน ศรีณรงค์ ศีขรภูมิ เขวาสินรินทร์ และเมืองสุรินทร์)

จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอขุขันธ์ ภูสิงห์ ไพรบึง ปรางค์กู่ ขุนหาญ วังหิน และกันทรลักษ์)

1.3 ภาคกลาง จังหวัดสิงห์บุรี (อำเภอพรหมบุรี บางระจัน และท่าช้าง)

จังหวัดอ่างทอง (อำเภอเมืองอ่างทอง แสวงหา ไชโย วิเศษชัยชาญ และโพธิ์ทอง)

จังหวัดลพบุรี (อำเภอลำสนธิ และพัฒนานิคม)

จังหวัดสระบุรี (อำเภอเมือง แก่งคอย หนองแซง หนองแค พระพุทธบาท เสาไห้ และเฉลิมพระเกียรติ)

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอผักไห่ เสนา บางบาล บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา นครหลวง ภาชี และท่าเรือ)

จังหวัดนครปฐม (อำเภอกำแพงแสน และบางเลน)

จังหวัดสุพรรณบุรี (อำเภอด่านช้าง และเดิมบางนางบวช)

จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และหนองปรือ)

จังหวัดราชบุรี (อำเภอเมืองราชบุรี บ้านโป่ง ปากท่อ สวนผึ้ง และบ้านคา)

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1.4 ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี)

จังหวัดสระแก้ว (อำเภอตาพระยา โคกสูง อรัญประเทศ วัฒนานคร และคลองหาด)

จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง แกลง วังจันทร์ และบ้านค่าย)

จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง แหลมสิงห์ ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน และนายายอาม)

จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด คลองใหญ่ เมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง)

1.5 ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)

จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า และตะกั่วทุ่ง)

จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และถลาง)

จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง)

จังหวัดนราธิวาส (อำเภอศรีสาคร จะแนะ และสุคิริน)

2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเลย แม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรหม ลำน้ำพอง แม่น้ำมูล แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตราด

3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่มอก และกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน จังหวัดนครราชสีมา อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี และอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี รวมทั้งอ่างฯขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ

Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active