ตามคาด พายุโซนร้อนกำลังแรง “ชบา” มาแล้ว 1-2 ก.ค. นี้

‘กรมอุตุฯ’ เตือน 40 จังหวัด มีฝนหนักถึงหนักมาก พร้อมคาดการณ์ พายุปี 2565 จะเข้าไทยประมาณ 2 ลูก ด้าน ‘กรมทรัพยากรธรณี’ เตือน 9 จังหวัดภาคเหนือ ตะวันออก และภาคใต้ เสี่ยงดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

พายุ ชบา

วันนี้ (1 ก.ค. 2565) พายุโซนร้อนกำลังแรง “ชบา” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือค่อนตะวันตกเล็กน้อยด้วยความเร็ว 19 กม./ชม. คาดว่าในช่วงวันที่ 2–3 ก.ค. 2565 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออากาศของประเทศไทย

แต่ช่วงวันที่ 1–2 ก.ค. 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก หลายจังหวัดเสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

ล่าสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัดกระทบแล้ว ฝนตกหนักมากใน 14 จังหวัด สุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร มีหนังสือด่วนที่สุดถึงหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชน เฝ้าระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกพื้นที่ให้ประสานเครือข่ายอาสาสมัครจากทุกภาคส่วน จัดชุดเฝ้าระวัง รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุ พร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือน เกือบทุกภาคของไทยเตรียมรับมือ 40 จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี

ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล

ด้าน กรมทรัพยากรธรณี ยังเตือน 9 จังหวัด “พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก 1-2 ก.ค. 2565”

  • จ.แม่ฮ่องสอน อ.เมือง อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.ขุนยวม อ.แม่ลาน้อย อ.แม่สะเรียง
  • จ.เชียงใหม่ อ.แม่อาย อ.ฝาง อ.สะเมิง อ.เชียงดาว อ.ไชยปราการ อ.แม่แจ่ม
  • จ.เชียงราย อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย อ.แม่จัน อ.เทิง
  • จ.พะเยา อ.เมือง อ.ปง อ.จุน
  • จ.น่าน อ.เวียงสา อ.นาน้อย อ.นาหมื่น อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.บ่อเกลือ อ.ทุ่งช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ
  • จ.จันทบุรี อ.โป่งน้ำร้อน อ.ขลุง อ.มะขาม อ.เขาคิชฌกูฎ
  • จ.ตราด อ.บ่อไร่ อ.เขาสมิง อ. เกาะช้าง
  • จ.ระนอง อ.กระบุรี อ.ละอุ่น อ.สุขสำราญ
  • จ.พังงา อ.คุระบุรี อ.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วทุ่ง อ.กะปง อ.ท้ายเหมือง

สำหรับพายุโซนร้อน “ชบา” บริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มว่า จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ “ไต้ฝุ่น” ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) แต่ไม่ได้มีทิศทางมาไทย จะขึ้นฝั่งที่จีน ส่วนหย่อมความกดอากาศต่อกำลังแรงอีกลูกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ก็มีโอกาสจะกลายเป็นพายุโซนร้อนที่มีชื่อว่า “แอรี” แต่จะเคลื่อนขึ้นเหนือไปแถวเกาหลีใต้ต่อไป

ขณะที่ก่อนหน้านี้ กรมอุตุนิยมวิทยา เคยคาดการณ์แล้วว่า ระยะนี้เป็นช่วงที่จะเริ่มมีพายุหมุนเขตร้อนเข้ามา จากภาพพบว่า ถ้าอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม ทางเดินพายุหมุนเขตร้อน มักจะเฉียดใกล้ จีน เวียดนาม ลาว แต่ถ้าเกิดพายุช่วง สิงหาคม ถึงกันยายน มักมีทิศทางมาทางภาคเหนือและอีสานของไทย แต่ถ้าเกิดเดือนตุลาคม มักเข้ามาใกล้ภาคตะวันออก และหากมีพายุหมุนเขตร้อน ช่วงพฤศจิกายน ถึงธันวาคม มักเข้ามาทางอ่าวไทยและภาคใต้

ซึ่งปีนี้ก็มีการคาดการณ์กันว่าในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายนอาจมีพายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ขณะที่ข้อมูลรูปแบบทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนสิงหาคมและกันยายนมี ดังต่อไปนี้

Author

Alternative Text
AUTHOR

นิตยา กีรติเสริมสิน

สนใจวงการบันเทิงตั้งแต่เด็ก รักการพูด แต่ชีวิตพลิกผันก้าวสู่นักสื่อสารมวลชน รักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ และความเป็นไปของโลก คิดบวก มองทางเลือกใหม่ ๆ อย่างสร้างสรรค์