‘ไกลก้อง’ หนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ การสร้างระบบ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หวังให้มีเจ้าภาพหลักประสานระหว่าง รัฐบาล กสทช. และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ย้ำเดินหน้าได้ทันทีเพราะไม่ต้นทุน รัฐมนตรีดีอี ร่วมกับ กสทช. เดินหน้าการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจง สำหรับคนไทยทั้งประเทศ โดยใช้เทคโนโลยี Cell Broadcast
จากเหตุการณ์ยิงกันที่สยามพารากอน ประชาชนตั้งคำถามถึงการมี SMS Alert เตือนภัยในยามฉุกเฉิน ล่าสุดมีทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาลออกมารับลูก อย่าง นิติพล ผิวเหมาะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แนะรัฐบาลเร่งพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉินอัตโนมัติ เพื่อแจ้งข่าวสารที่น่าเชื่อถือให้ถึงมือประชาชนโดยเร็วที่สุด เพราะจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงเหตุการณ์ล่าสุด กรณีเยาวชนอายุ 14 ปี ก่อเหตุยิงที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ประชาชนหลายคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ไม่สามารถรับรู้การแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงที หากในอนาคตเกิดเหตุลักษณะเดียวกันก็อาจสูญเสียมากกว่านี้ได้
ด้าน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้หลายปัญหา โดยกรณีกราดยิงนั้น ได้หารือกับหลายหน่วยงาน รวมถึง ได้โทรศัพท์พูดคุยกับ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนที่มีการแพร่หลายอยู่ในประเทศไทย และได้กำชับให้กวดขันมากขึ้น
ด้าน ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯได้สั่งการว่าระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน หรือ Emergence Alert system ต้องรีบทำ โดยเฉพาะในเรื่องของอาวุธปืนจะต้องยกระดับความเข้มงวดให้ครบวงจร ไม่ว่าจะอาวุธเทียมปืน
ล่าสุด ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงความกังวลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัย (Emergency Alert) สำหรับคนไทยแบบเจาะจง กรณีมีเหตุร้ายหรือภัยพิบัติ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และต้องการให้หน่วยงานรัฐ สามารถแจ้งเตือนแบบเจาะจงได้ทันเวลา เพื่อป้องกันภัยและลดความเสียหาย ต่อประชาชน โดยได้มอบหมายให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมช่วยดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
โดยในเบื้องต้น แนวทางทำงานในการแจ้งเตือนภัยแบบเจาะจงมีดังนี้
- ระยะเร่งด่วนภายใน 1 เดือน : ใช้ระบบส่ง SMS (Location Based Service) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
จากเดิมที่มีใช้อย่างไม่ครอบคลุม ใช้ระบบ อย่างไม่บูรณาการ ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร - ระยะปานกลางโดยเร็ว : ใช้ระบบ Cell Broadcast เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า SMS โดยจะแจ้งเตือนแบบเจาะจงได้ทันที และมีการเตือนได้หลายรูปแบบ เช่น การสั่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสาร การเด้ง pop -up ของข้อความ เป็นต้น ซึ่ง Cell Broadcast ดีอี สรุป ทางเทคนิค จบแล้ว กับ กสทช. และผู้ให้บริการ พร้อมดำเนินการจะเร่งขยายใช้วงกว้างโดยเร็ว
Cell Broadcast คือระบบการส่งข้อความแบบส่งตรงจากเสาส่งสัญญาณสื่อสารในพื้นที่ ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเครื่องมือสื่อสาร ในพื้นที่ที่มีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลรวดเร็วและครอบคลุมทั้งพื้นที่ และ Cell Broadcast ไม่ต้องการเบอร์โทรศัพท์ ทำให้รวดเร็วกว่าการส่ง SMS มาก นอกจากนี้ ระบบ Cell Broadcast สามารถทำงานได้โดย ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ทั้งนี้ ระบบการแจ้งเตือนภัย เดิมแบบ SMS จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าระบบ Cell Broadcast มาก โดยระบบ SMS จะใช้เวลาประมาณ 15 -20 นาทีในการประมวลผลว่ามี SIM โทรศัพท์หมายเลขใดอยู่ในพื้นที่บ้าง และใช้เวลาในการส่งข้อความอีกประมาณ 1 – 20 นาทีในการส่งให้ครบ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีคนจำนวนมากในพื้นที่เป้าหมาย
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้หารือกับ ดีอี และ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ต่อไป จะมีกลไก และการทำงานดังนี้
- ทำ command center เพื่อให้ operators รู้ว่าต้องรับคำสั่งจากใคร ข้อความใด ส่งอย่างไร ซึ่ง สำนักงาน กสทช. จะออกกฏ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- Update software ที่กระจายส่งสัญญาณ ให้ใช้ cell broadcast ได้
สำหรับการให้บริการแจ้งเตือนด้วยระบบ cell broadcast จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ พร้อม software สำหรับ Cell Broadcast ทาง สำนักงาน กสทช ประสาน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อเร่งดำเนินการ ให้เสร็จพร้อมใช้ทั้งประเทศโดยเร็ว สำหรับที่มาของ งบประมาณ จะใช้เงินจากกองทุน USO
ไกลก้อง ไวทยการ คณะก้าวหน้า หนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ การสร้างระบบ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Emergence Alert system ระบุว่า การเดินหน้าเรื่องนี้จำเป็นอาศัยภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการของทุกงาน หากท่านนายกฯ จะเป็นหัวโต๊ะก็ย่อมได้ เพราะ ศูนย์เตือนภัยภิบัติ ก็เคยตั้งขั้นในสมัย ไทยรักไทย เป็นรัฐบาล ที่ประเทศไทยเกิดภัยพิบัติซึนามิ
ที่ผ่านมาแม้ การเดินหน้าระบบจะทำไปบ้างแล้ว แต่ยังถือว่าล่าช้า โดยทาง กสทช. อ้างเหตุผลว่าในทางการใช้เทคโนโลยี “Cell Broadcast” หรือ ระบบส่งข้อความไปยังมือถือทุกความถี่และจำนวนมาก ซึ่งค่ายมือถือไม่มีอุปกรณ์ แต่ก็ยังถือว่าล่าช้า เพราะประเทศไทยมีค่ายมือถือหลักเพียง 2 ค่าย ทำธุรกิจมากกว่า 20 ปี กสทช. เองมีโอกาสเริ่มทำได้ตั้งแต่เกิดเหตุ สึนามิ, น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 จนมาถึงเหตุการณ์วันนี้ผ่านถึงปี 2566 ก็ยังไม่สำเร็จ
โดยเสนอให้ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ , กรรมการ กสทช. และสื่อสารมวลชน ควรหยิบยกเรื่องนี้เป็นวาระหลัก เพราะไม่ว่า กสทช. จะพูดเรื่องการสื่อสารอย่างไร เรื่องเตือนภัยก็จะถูกถามทุกครั้ง มิเช่นนั้นจะถูกถามทุกครั้งมีเหตุภัย ทำไมไม่ได้รับการแจ้งเตือน ต้องค้นหาข้อมูลเองเสมอ หนีไม่ทัน
ไกลก้อง ย้ำว่า แม้ด้านงบประมาณ ยังไม่เคยคาดการณ์ แต่ที่ลงทุนผ่านเสาสัญญาณแบบเซลล์ไซต์ ได้ทำไปหมดแล้ว ไม่ได้ลงทุนเยอะ ต้องการเพียงเจ้าภาพ ที่เอาทั้ง 3 ส่วน หน่วยงาน ค่ายมือถือ ตัวกลาง กสทช. เพราะสุดท้ายเตือนเร็ว ช่วยเร็ว รอดชีวิต 1 คนคุ้มแล้วที่จะสร้างระบบขึ้นมา ไม่อยากให้เกิดเหตุผล