สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านฯ ยื่นหนังสือผู้ว่าฯ ระนอง พร้อมออกแถลงการณ์ถึงรัฐบาล ให้คํานึงถึงผลกระทบของชาวประมงพื้นบ้าน ที่จะเกิดจากโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง – ชุมพร พร้อมตั้งขอสังเกต นายกฯ เดินหน้านำเสนอโครงการกับนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่กระบวนการศึกษาผลกระทบยังไม่แล้วเสร็จ
วานนี้ (25 ธ.ค. 2566) เครือข่ายประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ เข้ายื่นหนังสือคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ต่อ นริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง พร้อมออกแถลงการณ์ส่งถึงรัฐบาลให้คำนึกถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่
ใจความในแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการดําเนินโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง – ชุมพร อันเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณจํานวนมหาศาลและจะต้องใช้พื้นที่การเกษตรและพื้นที่ทํา การประมงรวมกันจํานวนมาก ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ทั้งกับกลุ่มเกษตรกรตลอดเส้นทางโครงการกว่า 90 กิโลเมตร และกับชาวประมงพื้นบ้านทั้งจังหวัดชุมพรและระนอง ที่จะต้องสร้างท่าเรือน้ําลึกขนาดใหญ่ทั้งสองฝั่ง
มีข้อน่าสังเกตว่า ในขณะที่การศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ ภายใต้โครงการนี้ที่ยังไม่แล้วเสร็จ แต่รัฐบาล โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กลับไม่สนใจกระบวนการดังกล่าว ทั้งยังเดินหน้าขายโครงการให้นักลงทุนต่างชาติในหลายประเทศ ถือเป็นความไม่เหมาะสมของผู้นําประเทศที่ไม่เคารพต่อกระบวนการทางวิชาการและไม่เคารพต่อประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
ในนามสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีสมาชิกอยู่ตลอดทะเลชายฝั่งทั่ว ประเทศที่ได้เดินทางมาประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่ 9 ที่จังหวัดระนองประจําปี พ.ศ.2566 มีความเห็นร่วมกันที่จะเรียกร้องให้ รัฐบาลได้ให้ความสําคัญและมองเห็นพวกเรา ชาวประมงพื้นบ้าน ที่มีตัวตนอยู่จริงทั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถหลีกหนผี ลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน โดยมีข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาล ดังนี้
- นายกรัฐมนตรีเศรษฐาทวีสินต้องกํากับกระบวนการศึกษาผลกระทบจากโครงการที่กําลังดําเนินการทั้งในมิติ ด้านสิ่งแวดล้อมและมิติด้านสุขภาพตามที่กฏหมายไว้ให้เรียบร้อย และต้องทําให้เกิดกระบวนศึกษาเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมา และเป็นไปตามหลักการทางวิชาการที่ต้องเคารพการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ที่สําคัญรัฐบาลต้องไม่ชี้นำให้การศึกษาดังกล่าวดําเนินไปตามที่รัฐบาลต้องการ
- รัฐบาลจะต้องยุติการประชาสัมพันธ์หรือการเดินสายนําเสนอโครงการให้กับนักลงทุนประเทศต่าง ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกําลังดําเนินการในช่วงที่ผ่านมา จนกว่าผลการศึกษาโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ
- เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และจากสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิต ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงควรจัดทํา SEA หรือการศึกษาผลกระทบดา้น สิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์เฉพาะโครงการนี้ เพื่อทําให้เห็นถึงผลกระทบในภาพใหญ่ที่จะเกิดขึ้นจากทุก โครงการย่อยทั้งหมด
ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการพัฒนาขนาดใหญ่นี้จะส่งผลกระทบกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน ซึ่งพบว่าต้องใช้พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ทำการประมงรวมกันจำนวนมาก และเชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับประชาชนในวงกว้างตลอดเส้นทางโครงการกว่า 90 กิโลเมตร อีกทั้งการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2567 ทางเครือข่าย จะส่งตัวแทนขอพบนายกรัฐมนตรี และเรียกร้องให้เปิดพื้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบอธิบายถึงข้อห่วงใยและข้อเท็จจริงโดยตรงด้วย