เปิดใจ “ครูพี่แอน” หลังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ข้อสอบ GAT วิชาภาษาอังกฤษยากเกินความรู้เด็ก ม.6 ชี้ ยิ่งผลักเด็กเข้าสู่วงจรกวดวิชา-ไม่มีเวลาตามหาความฝัน วอน รัฐออกข้อสอบคำนึงถึง “เด็ก” ตัดวงจรความทุกข์ ต้องพึ่งติวเตอร์ ชดเชยความรู้ในห้องเรียน
การสอบ GAT/PAT ประจำปีการศึกษา 2565 เริ่มเปิดสนามสอบไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น ทั้งกรณีข้อสอบหลุด ส่อทุจริต หรือการจำกัดสิทธิการสอบของข้าราชการ กรณี พยาบาลที่ถูกห้ามไม่ให้เข้าสอบ ฯลฯ
รวมถึงกรณี “ข้อสอบยากเกินไป” โดยเฉพาะการสอบ GAT วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งในโซเชียลมีเดียมีการแสดงความเห็นและตั้งคำถามว่า “ข้อสอบโหดเกินไป อยู่นอกเหนือตำราเรียนหรือไม่” อย่างในทวิตเตอร์ที่แสดงความเห็นผ่านการติดแฮชแท็ก #GATPAT65 และ #dek65 ที่บอกว่าแทบจะร้องไห้เมื่อเห็นข้อสอบไม่ตรงกับที่เตรียมตัวมา
เช่น ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ชื่อ @miniii_sh บอกว่า “คำศัพท์ควรอ่าน ในคหสต. ของเรานะคะ
- คำศัพท์สอบ SAT
- คำศัพท์สอบ ielts
- คำศัพท์ oxford
- คำศัพท์จาก dictionary
- คำศัพท์จากการดูหนัง อ่านข่าว อ่านบทความ
- คำศัพท์วิชาการ
สู้ไปด้วยกันนะคะ 💗💗 #GATPAT65 #dek65″
คำศัพท์ควรอ่าน ในคหสต. ของเรานะคะ
— จะสอบ9สามัญแล้ว (@miniii_sh) March 12, 2022
– คำศัพท์สอบ SAT
– คำศัพท์สอบ ielts
– คำศัพท์ oxford
– คำศัพท์จาก dictionary
– คำศัพท์จากการดูหนัง อ่านข่าว อ่านบทความ
– คำศัพท์วิชาการ
สู้ไปด้วยกันนะคะ 💗💗 #GATPAT65 #dek65
หรือ @thisisthythythy ที่บอกว่า “มธ มศว ออกเกินขอบเขตไปมาก อันนี้เด็กมัธยมไม่ใช่นิสิต ติวเตอร์ทั้งแกทไทยแกทอิ้งยังบอกเลยว่ายากกว่าทุกปี แปลกกว่าทุกปีด้วย ขอโทษที่บ่นไม่หยุด แต่พยายามมาเยอะ ทำย้อนมาทุกปี เจอแบบนี้ก็ท้อเหมือนกัน เหมือนที่ทำมาศูนย์หมดเลย” และ “เด็กส่วนมากที่บ่นข้อสอบไม่ใช่เพราะเขาพาลอะ คือเตรียมตัวอ่านกันมาแล้ว รู้ระดับตัวเอง รู้ระดับข้อสอบ แต่แม่งออกพลิกเกินไปจริงๆ แกทไทยปีก่อนกำกวมแต่แนวเดิม ปีนี้โค้ดแม่งแปกอะ แกทอิ้งก็แปกอะ คำถามตายตัวแบบ5ข้อสุดท้ายงี้ยังเปลี่ยนเลย รีดดิ้งนึกว่าcloze คอนเว่อก็เว่อ”
มธ มศว ออกเกินขอบเขตไปมาก อันนี้เด็กมัธยมไม่ใช่นิสิต ติวเตอร์ทั้งแกทไทยแกทอิ้งยังบอกเลยว่ายากกว่าทุกปี แปลกกว่าทุกปีด้วย ขอโทษที่บ่นไม่หยุด แต่พยายามมาเยอะ ทำย้อนมาทุกปี เจอแบบนี้ก็ท้อเหมือนกัน เหมือนที่ทำมาศูนย์หมดเลย #dek65 #GATPAT #GATPAT65
— ecaps (@thisisthythythy) March 12, 2022
เด็กส่วนมากที่บ่นข้อสอบไม่ใช่เพราะเขาพาลอะ คือเตรียมตัวอ่านกันมาแล้ว รู้ระดับตัวเอง รู้ระดับข้อสอบ แต่แม่งออกพลิกเกินไปจริงๆ แกทไทยปีก่อนกำกวมแต่แนวเดิม ปีนี้โค้ดแม่งแปกอะ แกทอิ้งก็แปกอะ คำถามตายตัวแบบ5ข้อสุดท้ายงี้ยังเปลี่ยนเลย รีดดิ้งนึกว่าcloze คอนเว่อก็เว่อ #dek65 #GATPAT65
— ecaps (@thisisthythythy) March 12, 2022
อีกความเห็นที่บอกว่าข้อสอบปีนี้ยากกว่าทุกปี คือผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @hasapen1 บอกว่า “ไม่ได้คิดไปเองใช่มั้ย รู้สึกว่าจ้อสอบปีนี้ยากกว่าทุกปี แกทไทยเหลี่ยมจัดๆ แกทอิ้งก็บรมยาก ยากมาก คนที่เคยผ่านการทำข้อสอบเก่าจะสังเกตและพอเดาได้ แต่นี่ไม่เหมือนเดิม คำศัพท์ที่อ่านมาก็ไม่ออกเลยเหมือนอ่านหนังสือผิดเล่มก่อนมาสอบ พาทคอนเวอยาวมากกก”
ไม่ได้คิดไปเองใช่มั้ย รู้สึกว่าจ้อสอบปีนี้ยากกว่าทุกปี แกทไทยเหลี่ยมจัดๆ แกทอิ้งก็บรมยาก ยากมาก คนที่เคยผ่านการทำข้อสอบเก่าจะสังเกตและพอเดาได้ แต่นี่ไม่เหมือนเดิม คำศัพท์ที่อ่านมาก็ไม่ออกเลยเหมือนอ่านหนังสือผิดเล่มก่อนมาสอบ พาทคอนเวอยาวมากกก #GATPAT65 #dek65
— hasapen (@hasapen1) March 12, 2022
ขณะเดียวกัน ก็มีคุณครูและติวเตอร์หลายคนที่ออกมาแสดงความเห็นว่า ข้อสอบถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สะท้อนระบบการศึกษาไทย ที่ผ่านมาเด็ก ๆ หลายคนสูญเสียเวลาค้นหาตัวเอง และขวนขวายกวดวิชานอกห้องเรียนเพื่อทำข้อสอบให้ได้ สิ่งที่ตามมาก็มีทั้งสุขภาพ จิตใจ และความทุกข์ ที่กลายเป็นวังวนความเหลื่อมล้ำของเด็กไทย ข้อสอบที่ดี จึงควรตอบสนองการใช้ชีวิตของเด็กไทยมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่
เช่น ครูพี่แอน จากเพจ Perfect English ที่บอกว่า “ข้อสอบยากเกินไป จะไม่สามารถวัดผลอะไรได้เลย เด็กที่เตรียมตัวอย่างดี ขยันตั้งใจ ก็ทำไม่ได้ เด็กที่ไม่ได้เตรียมตัวก็ทำไม่ได้ สุดท้ายก็มั่วตอบ ใครดวงดีก็คะแนนดี ใครดวงไม่ดีก็ชวดไป! ทำไมไม่ออกข้อสอบใ้ห้มันสมเหตุสมผลเพื่อวัดผลไปเลยว่าใครเตรียมตัวไม่เตรียมตัว??”
ข้อสอบยากเกินไป จะไม่สามารถวัดผลอะไรได้เลย เด็กที่เตรียมตัวอย่างดี ขยันตั้งใจ ก็ทำไม่ได้ เด็กที่ไม่ได้เตรียมตัวก็ทำไม่ได้ สุดท้ายก็มั่วตอบ ใครดวงดีก็คะแนนดี ใครดวงไม่ดีก็ชวดไป! ทำไมไม่ออกข้อสอบใ้ห้มันสมเหตุสมผลเพื่อวัดผลไปเลยว่าใครเตรียมตัวไม่เตรียมตัว??
— ครูพี่แอน (@englishbykruann) March 13, 2022
รวมถึงผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @gozmee_333 หรือ จารย์บัง ที่บอกว่า “สิ่งที่เราอาจจะต้องพูดไปให้ไกลกว่า ข้อสอบปีนี้เป็นยังไง คือ ระบบการศึกษาปัจจุบันออกแบบมาเป็นคุณกับ นร.มากแค่ไหน การที่ นร.ต้องขวนขวาย เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิตมันสะท้อนอะไร แล้วทั้งหมดนี้มันสะท้อนความเหลื่อมล้ำอะไรบ้าง ผมเชื่อมาเสมอว่าข้อสอบที่ดี ไม่ใช่ข้อสอบที่ยาก”
สิ่งที่เราอาจจะต้องพูดไปให้ไกลกว่า ข้อสอบปีนี้เป็นยังไง คือ ระบบการศึกษาปัจจุบันออกแบบมาเป็นคุณกับ นร.มากแค่ไหน การที่ นร.ต้องขวนขวาย เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิตมันสะท้อนอะไร แล้วทั้งหมดนี้มันสะท้อนความเหลื่อมล้ำอะไรบ้าง ผมเชื่อมาเสมอว่าข้อสอบที่ดี ไม่ใช่ข้อสอบที่ยาก #GATPAT65 #dek65
— จารย์บัง (@gozmee_333) March 12, 2022
The Active ชวนมองปรากฏการณ์การสอบครั้งนี้ กับ วรินธร เอื้อวศินธร CEO and Founder of Learnovate company หรือ ครูแอน หนึ่งในครูสอนสถาบันภาษาอังกฤษ ที่ออกมาส่งเสียงผ่านโลกออนไลน์ว่า ข้อสอบรอบนี้ยากและวัดผลเด็กไม่ได้จริง โดยครูแอนให้ข้อมูลว่าการสอบ GAT/PAT มีความต่างกันตรงที่ การสอบ PAT เป็นการวัดความถนัดเฉพาะด้าน เนื้อหาเจาะลึก เฉพาะเจาะจง เช่น PAT1 วิชาคณิตศาสตร์ PAT2 วิชาวิทยาศาสตร์ ต้องไปยื่นคะแนนเฉพาะทาง เช่น วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ฯลฯ
ส่วน การสอบ GAT คือ ความถนัดทั่ว ๆ ไป และจากการรับฟังเสียงในโลกออนไลน์พบว่า ไม่มีวิชาไหนดราม่าเท่าวิชาภาษาอังกฤษ เธอยืนยันว่าข้อสอบยากจริง ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถวัดผลเพื่อแยกระหว่างเด็กที่เตรียมตัว กับเด็กที่มาสอบเล่น ๆ เพราะเด็กทุกคนก็ทำไม่ได้เหมือนกันหมด ยกเว้นว่าใครพกดวงมา ถึงจะทำได้ พร้อมกับย้ำว่าเห็นใจเด็ก ม.6 ปีนี้ และควรจะรื้อระบบการสอบโดยนึกถึงเด็กเป็นศูนย์กลาง มากกว่าการให้คนออกข้อสอบเป็นศูนย์กลาง
วัดจากอะไรว่า GAT ENG ยากเกินตำรา ?
ครูแอน อธิบายว่า คำว่าข้อสอบยากไม่ใช่การคิดไปเองของนักเรียน เพราะมีมาตรฐานชัดเจนในการวัด เช่น GAT-ENG ที่เพิ่งสอบกันไปและมีดราม่าหนักมาก เพราะในข้อสอบ GAT ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป กลับมีคำศัพท์ระดับ C2 มาใส่ในข้อสอบด้วย ซึ่งเป็นระดับที่ยากเกินไปสำหรับเด็กระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เธออธิบายเพิ่มเติมว่าปกติแล้ว มาตรฐานการวัดทักษะภาษาอังกฤษจะมีตั้งแต่ระดับ A1 คือ ระดับง่ายที่สุด ไล่ไปถึง A1 A2 B1 B2 C1 C2 แต่การสอบ GAT ENG ปีที่ผ่าน ๆ มาก็ไม่เคยมีคำศัพท์ที่เกินกว่าระดับ B2 หรือระดับความยากไม่มาก แต่ปีนี้กลับมีคำที่เป็นคำศัพท์ที่อยู่ระดับ C2 เข้ามาอยู่ด้วย โดยสามารถตรวจสอบในอินเทอร์เน็ตได้ว่าคำศัพท์นั้นอยู่ในหมวดหมู่ไหน
ครูแอนยกตัวอย่างคำว่า Turbulent ซึ่งเป็นคำศัพท์ในระดับ C2 พร้อมตั้งคำถามว่าควรจะไปออกข้อสอบในระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาโทหรือไม่ คำว่ายากจึงมีมาตรฐานที่วัดออกมาได้อย่างชัดเจน
หรือกรณีของ บทสนทนา (Conversations) ที่มีสำนวนต่างชาติใช้เยอะมากจนเกินไป ซึ่งเด็ก ม.6 หลายคนไม่มีโอกาสคุยกับเจ้าของภาษา การออกข้อสอบแบบสำนวนที่ต่างชาติใช้ แต่ในห้องเรียนไม่ได้สอน ยากเกินไปที่จะทำให้เด็กทำข้อสอบได้
ข้อสอบยาก ส่งผลต่อการวัดผลที่ไม่มีคุณภาพ
การวัดผลที่ยากและนอกเหนือขอบเขตตำราเรียนระดับ ม.6 ไม่เพียงส่งผลให้เด็กทำข้อสอบไม่ได้เท่านั้น แต่จะกลายเป็นการบั่นทอนสภาพจิตใจของเด็ก ๆ ที่ตั้งใจเตรียมตัวมาสอบอีกด้วย ครูแอน อธิบายว่า จะมีเด็กอย่างน้อย 2 กลุ่มที่มาสอบ คือ
1) เด็กกลุ่มที่เตรียมตัวหนักมาก ตั้งใจมาสอบ เตรียมพร้อมอ่านหนังสือมา
2) ไม่ได้เตรียมตัวมาก เพราะตั้งใจจะไปเรียนเมืองนอก หรือเตรียมใจจะเรียนเอกชน อยู่แล้ว ฯลฯ
ข้อสอบที่ยากจะทำให้เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่สามารถทำข้อสอบได้เหมือน ๆ กัน เพราะยากเกินไปและออกนอกจากหลักสูตรที่สอน ซึ่งตรวจสอบดูได้จากตำราเรียนที่สอนตามระบบ สิ่งที่ตามมาคือการ ดิ่งข้อสอบ หรือมั่วข้อสอบ จึงกลายเป็นข้อสอบที่ไม่ได้วัดความพร้อมของนักเรียน แต่เป็นข้อสอบวัดดวง มั่วถูก-มั่วผิด
“ไม่ใช่ว่าเด็กไม่เตรียมตัว เตรียมตัวอย่างดี แต่เนื้อหาที่ออกเกินสังเขปจากเรื่องที่สอน สุดท้ายแล้วก็จะไม่ได้วัดผลเลยว่า เด็กคนไหนมีคุณภาพจริง ๆ หรือ เด็กคนไหนสอบเล่น ๆ
การออกข้อสอบครั้งนี้ วัดความรู้ของคนออกข้อสอบหรือจะวัดความรู้เด็ก”
ครูแอน วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า การออกข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนหนึ่งมาจากคนออกข้อสอบที่ไม่ได้ทำการบ้านว่าเด็กกำลังเรียนอะไร และออกข้อสอบได้ตรงตามหลักสูตรที่เด็กเรียนหรือไม่ ข้อสอบครั้งนี้จึงไม่ใช่การวัดความรู้เด็ก แต่เป็นการวัดความรู้คนออกข้อสอบมากกว่า และยังเป็นสิ่งที่ผลักให้เด็กออกไปเรียนข้างนอกโรงเรียน หาที่เรียนกวดวิชาเพื่อทำข้อสอบให้ได้
เด็กไทยเรียนเพื่อสอบ ไม่ได้เรียนเพื่อตามหาความฝัน
ครูแอน ย้ำว่า ข้อสอบที่ยาก ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กไทยเลือกไปเรียนกวดวิชา และไม่มีเวลาได้ค้นหาตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร โดยสังเกตจากการสอบถามเด็ก ม.6 ที่เลือกเรียนสาขาที่มีงานทำเยอะ หรือพ่อแม่บอกว่ามั่นคง แต่ไม่ค่อยมีคำตอบว่าเรียนเพราะชอบ หรือเพราะอยากเรียนสิ่งนี้
“ข้อสอบวัดผล คือ รากฐานที่สำคัญมากของระบบการศึกษา ถ้าออกนอกเหนือตำราเรียน คุณก็กำลังผลักดันให้เด็กไปเรียนกวดวิชา และผลักภาระให้พ่อแม่ด้วยนะ
แล้วโรงเรียนจะมีไว้ทำไม…?”
แนะรื้อระบบการออกข้อสอบ ข้อสอบควรยากที่คิดวิเคราะห์ แต่ไม่นอกเหนือสิ่งที่เรียน
ครูแอน เสนอให้ย้อนดูระบบการออกข้อสอบ รื้อตั้งแต่รากของปัญหา โดยดูว่าเด็กเรียนอะไร ก็จะทำให้ไม่เกิดปัญหาออกข้อสอบนอกตำรา โดยมองว่าสิ่งที่ควรออกให้ยาก คือ การคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่การออกนอกเหนือจากเนื้อหาวิชาที่เด็กเรียนในโรงเรียน ซึ่งหากยังไม่รื้อระบบ ระยะยาวก็จะกลายเป็นวงจรความทุกข์ ความเหลื่อมล้ำ ที่เด็กและผู้ปกครองต้องแบกรับกันไปรุ่นต่อรุ่น เธอจึงหวังให้เสียงสะท้อนครั้งนี้ไปถึงระดับนโยบาย ให้แก้ปัญหาเรื่องนี้กันอย่างเร่งด่วนต่อไป
“สิ่งสำคัญ คือ การออกข้อสอบ ต้องให้เด็กได้คิดวิเคราะห์มากขึ้น มากกว่าการท่องจำ และนำไปสอบอย่างเดียว ถ้าเราเปรียบเทียบระหว่างเด็กไทยกับเด็กนอก จะสังเกตเห็นว่าข้อสอบที่ USA ข้อสอบจะไม่อยู่นอกเหนือตำราเรียน แต่ครูจะใช้เทคนิคว่า โจทย์จะต้องวิเคราะห์ และจะปรับใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
ทำให้ เด็กฝรั่ง คิดวิเคราะห์เป็น ทั้ง ๆ ที่เรียนไม่ยาก”