ผอ.ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุฯ แนะ ไทยต้องมีแผนฉุกเฉิน ป้องกันเหตุล่วงหน้า ขณะที่ การตรวจสอบความพร้อมรถเก่า ต้องเข้มงวดอุปกรณ์ความปลอดภัย ก่อนเดินทาง ผู้โดยสารต้องรู้วิธีเอาตัวรอด
วันนี้ (1 ต.ค. 67) รศ.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (TARC) เปิดเผยกับ The Active จากกรณีอุบัติเหตุรถทัศนศึกษานักเรียน มองว่า ในกรณีนี้เป็นเด็กเล็ก และการช่วยเหลือตัวเองอาจทำได้ไม่มากขณะที่ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ดูแลอาจมีไม่มากเพียงพอ แต่สิ่งสำคัญประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องอุบัติเหตทางถนนในลักษณะนี้น้อยไป
ประเด็นแรก ในเรื่องการอพยพคนในรถที่อยู่ในที่แคบที่เรื่องนี้ คิดว่าต้องทบทวนเรื่องความปลอดภัยทั้งระบบ หากโรงเรียนจะมีการทัศนศึกษาอาจต้องมีมีแผนรองรับในสถานการณฉุกเฉิน เช่น ต้องมีการซ้อมอพยพบนรถหากเกิดเหตุ การสอนให้องค์ความรู้ในเด็กและครูในโรงเรียนให้มีความพร้อมการการหนีเอาตัวรอด ให้รู้ว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยอยู่ตรงไหน ทำอะไรได้บ้างหากเกิดเหตุ เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝั่ง ควรจะต้องมีการวางแผน แล้วก็อบรม แล้วก็ป้องกันก่อน เข้าใจว่าเด็กเล็กการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยอาจไม่ถนัด แต่ผู้ใหญ่ที่ไปด้วยต้องดูแลเป็นพิเศษก็ควรมีแผนจัดสรรความพร้อมตระหนักคาดการณ์อนาคตเพือความปลอดภัย และจัดสรรผู้ดูแล ให้ทั่วถึงกับจำนวนสัดส่วนเด็กให้มากพอกับความปลอดภัย
“อย่างกรณีนี้คือยิ่งเป็นเด็กเขาอาจใช้อุปกรณ์พวกนี้ไม่เป็น เช่น ดับเพลิง หลายโรงเรียนอาจยังไม่เคยสอนมันขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ด้วยที่ต้องทำแล้ว อีกอย่าง การมีจำนวนเด็กที่ไปในจำนวนที่มาก ต้องจัดสรรผู้ใหญ่ให้มากพอกับการช่วยเหลื ทันท่วงที ไม่ใช่ว่าเด็กไป 40 คน มีผู้ใหญ่หรือคน 2 คนอาจไม่เพียงพอในสถานการณ์ฉุกเฉินในการช่วยเหลือเด็ก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ไม่เคยขึ้นแต่มันมีมาตลอด คงถึงเวลาแล้วที่ต้องเริ่มปรับให้ความปลอดภัยมีมากขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุ”
รศ.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์
ประเด็นที่สอง ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอให้ดูแลและจัดสรรอุปกรณ์รถที่ปลอดภัย ต้องเป็นอุปกรณ์ไม่ลามไฟง่าย แต่ยังอยู่ในขั้นการพิจารณาและต่อยอดที่จะไปจัดทำเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้แต่ยังไม่แน่ใจว่าขยายผลถึงตรงไหน แต่เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควบคุมยาก เพราะยังมีรถเก่าอีกมากที่ยังไม่ได้ปรับตาม
ขณะที่ การออกข้อบังคับยังอยู่ในกระบวนการที่มีขั้นตอนราชการที่อาจซ้ำซ้อน ความจริงแล้วรถสาธารณะต้องมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถให้พร้อมเวลา มีผู้โดยสาร ก็ต้องแนะนำก่อนประตูฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ค้อนทุบอยู่จุดได้ ใช้ทำอย่างไร ต้องแนะนำ คิดว่าจะทำให้ผู้โดยสารปลอดภัยและมองเหตุฉุกเฉินเพื่อให้ทุกคนเอาตัวรอดได้ทุกคน
“สเตปข้างหน้า รถใหม่ ที่กำลังจะจดทะเบียน รวมถึงรถเก่าที่อยู่ในระบบ เราจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นยังไงได้บ้าง จริง ๆ ตอนนี้กรมการขนส่ง แม้พยายามจะเน้นทั้งบังคับใช้กฎหมายใหม่ แต่ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มันเกิดจากรถเก่าที่มีอยู่ในระบบเอง อย่างไรก็ตามคงต้องหาวิธีการแก้แล้วว่าจะทำยังไงต่อรถเก่ามีกฎเกณฑ์วิธีการ จะทำอย่างไรให้รถเก่าอย่าขาดอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและตรวจสอบให้ดี “
รศ.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์
ประเด็นสุดท้าย อยากฝากกลไกการจัดการภาครัฐต้องปรับแผนใหม่ในการสร้างความแลดภัยทางถนนเราจะทำอย่างไรให้การผู้อพยพหนีภัยได้ปลอดภัยได้เร็ว ถ้ายกตัวอย่าง กรณีศึกษาตัวอย่าง สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ ที่มีแผนอพยพผู้โดยสารเป็นหลายร้อยคนในเวลาไม่นาน หลังมีการซ้อมอพยพตลอด ไฟไหม้เขาอพยพเร็วมาก 300 กว่าคน เพราะรพวกเขามีการซักซ้อมมาก่อน ลูกเรือต่างๆ มีการเทรน มีการก่อซักซ้อมในการอพยพ ผู้โดยสารมาอย่างดีมาก
“เมื่อถึงเวลาเกิดขึ้นมาจริง ๆ แล้ว ก็สามารถทำได้ ต่อไป รถบัส ก็อาจจะต้องมีวิธีการแบบนี้ คล้าย ๆ สายการบิน ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดร่วมกันทั้งหมด ไม่ว่ากระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง เพราะเป้าหมายคือความปลอดภัยประชาชน”
รศ.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์