ในสมัยก่อน นักเรียนส่วนใหญ่นิยมจบมาทำอาชีพเสมียนและข้าราชการ อาชีพงานฝีมือจึงถูกมองข้ามไป
.
‘งานศิลปหัตถกรรม’ จึงริเริ่มขึ้น เพื่อเป็นมหรสพรื่นเริงของคนกรุงฯ เป็นเวทีแสดงทักษะของนักเรียน และดึงดูดให้คนหันมาทำ ‘อาชีพฝีมือ’ เพราะประเทศชาติไม่อาจเติบโตได้ หากขาดแรงงานทักษะเหล่านี้ไป
.
ปัจจุบัน การแข่งขันระดับชาติถูกนับเป็นคะแนนประเมินครูและผู้อำนวยการ ในการยื่นขอย้ายสถานศึกษา เพื่อก้าวไปสู่โอกาสที่ดีกว่า ในโรงเรียนที่ใหญ่กว่า พร้อมกับการมาถึงของระบบแฟ้มสะสมผลงานเพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัย พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่แห่งความรื่นเริงและสร้างสรรค์ กลายเป็นเวทีเพื่อแย่งชิงโอกาสในการเติบโตของทั้งครู ผู้อำนวยการ และนักเรียน สังคมจึงตั้งคำถามว่า แล้วศิลปหัตถกรรมควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ?
.
การแข่งขันไม่ได้เลวร้าย มันมีหน้าที่เพียงการตัดสินผู้แพ้ และผู้ชนะ แต่การเอาเงื่อนไขของ ‘การเติบโต’ ไปผูกติดกับอันดับและรางวัล โดยที่มองข้ามความเหลื่อมล้ำ มองข้ามต้นทุนของโรงเรียนที่แตกต่างกัน
.
หรือเรากำลังสร้างสังคมแห่งการแข่งขันที่ไม่มีใครชนะ อยู่หรือเปล่า ?