‘ขนมจีน’ ของหรอยเมืองใต้…ความมั่นทางอาหาร ที่กำลังถูกคุกคาม จาก ‘ภัยพิบัติ’ ?

ถ้าจะถามว่า อะไร ? คือ สิ่งบ่งบอกวิถีการกินของคนใต้ได้ดีที่สุด “ขนมจีน” คงเป็นหนึ่งในคำตอบนั้น แถมยังเป็นเมนูที่สามารถชี้วัดความหลากหลายของ "วัฒนธรรมการกิน" และ "ความมั่นคงทางอาหาร" ของผู้คนในภาคใต้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ไม่เพียงเครื่องแกง เครื่องปรุง รวมถึงวัตถุดิบในน้ำแกง น้ำยา อีกองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเคียง” ที่สะท้อนความหลากหลายของพืชพันธุ์พื้นถิ่นที่หาได้ภายใต้ความสมบูรณ์จาก ป่า นา เล

แต่ความท้าทายในเวลานี้ คือ สถานการณ์ภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม ซึ่งหลายฝ่ายประเมินตรงกันว่าพื้นที่กว่า 600 ชุมชน ในภาคใต้ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง และเงื่อนไขนี้อาจเป็นภัยคุกคามกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ด้วย

นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญ ที่ทำให้ “สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” วางแผนศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อไปสู่การหาแนวทางปกป้องความมั่นคงทางอาหารของเมืองใต้เอาไว้ The Active ชวนทำความรู้จักความหลากหลายของวิถีการกินคนใต้ผ่านขนมจีน พร้อมสะท้อนข้อกังวล ยังมีอะไร ? สุ่มเสี่ยงจะหายไปจากภัยพิบัติ...


เมนู “ขนมจีน” ทั้ง น้ำยาใต้ น้ำยาป่า แกงไตปลา น้ำพริก ถูกนำมาเสิร์ฟให้กับผู้ร่วมงาน เวที Policy Forum ครั้งที่ 23 เตรียมพร้อม “ภาคใต้”  รับมือภัยพิบัติ
เมนู “ขนมจีน” ทั้ง น้ำยาใต้ น้ำยาป่า แกงไตปลา น้ำพริก ถูกนำมาเสิร์ฟให้กับผู้ร่วมงาน เวที Policy Forum ครั้งที่ 23 เตรียมพร้อม “ภาคใต้”  รับมือภัยพิบัติ
เมนู “ขนมจีน” ทั้ง น้ำยาใต้ น้ำยาป่า แกงไตปลา น้ำพริก ถูกนำมาเสิร์ฟให้กับผู้ร่วมงาน เวที Policy Forum ครั้งที่ 23 เตรียมพร้อม “ภาคใต้”  รับมือภัยพิบัติ
“ขนมจีน” ยังเป็นของกินประจำถิ่นที่สะท้อนวิถีการกินของคนใต้ ทั้งมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อบ่าย แถมยังเป็นเมนูที่ชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของทางภาคใต้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายอีกด้วย ทั้งวัตถุดิบในน้ำแกง บางพื้นที่ใช้กะปิจากกุ้ง บางที่ใช้น้ำเคย กินกับเครื่องเคียง เช่น ไก่ทอด, ทอดมันกุ้ง ที่มีกลิ่นหอมจากใบชะพลู และใบมันเทศ พร้อมด้วย “ผักเหนาะ” หรือ ผักเครื่องเคียง หลายชนิดให้เลือกกินได้ตามใจ เพราะสามารถเก็บหาได้ง่าย จากพื้นที่ละแวกบ้าน ทั้งใน เขา - ป่า - นา – เล
“ขนมจีน” ยังเป็นของกินประจำถิ่นที่สะท้อนวิถีการกินของคนใต้ ทั้งมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อบ่าย แถมยังเป็นเมนูที่ชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของทางภาคใต้ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายอีกด้วย ทั้งวัตถุดิบในน้ำแกง บางพื้นที่ใช้กะปิจากกุ้ง บางที่ใช้น้ำเคย กินกับเครื่องเคียง เช่น ไก่ทอด, ทอดมันกุ้ง ที่มีกลิ่นหอมจากใบชะพลู และใบมันเทศ พร้อมด้วย “ผักเหนาะ” หรือ ผักเครื่องเคียง หลายชนิดให้เลือกกินได้ตามใจ เพราะสามารถเก็บหาได้ง่าย จากพื้นที่ละแวกบ้าน ทั้งใน เขา - ป่า - นา – เล
“เพ็ญ สุขมาก” ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยอมรับว่า ไฮไลต์ของขนมจีน คือ ผักหลายชนิด ที่สะท้อนบริบทของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน บางพื้นที่ก็เก็บหาได้ตามริมรั้ว หาเก็บได้ตามทางเดินไปนา ไปสวน บนภูเขา ริมน้ำ ริมทะเล ก็ยังมีผักให้เก็บกินได้
นอกจากได้ลิ้มชิมรสขนมจีนอย่างเต็มอิ่ม ได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปของวัตถุดิบ และผักเครื่องเคียงต่าง ๆ ผู้ร่วมงานยังได้แลกเปลี่ยนบทสนทนาถึงเมนูขนมจีนอย่างครบรสอีกด้วย
เมนูขนมจีน ไม่เพียงสะท้อนวิถีการกินของคนใต้เท่านั้น แต่ขนมจีน ยังเป็นข้อบ่งชี้สำคัญของความมั่นคงทางอาหาร และความหลากหลายของวัตถุดิบในพื้นที่ แต่สิ่งหนึ่งที่เวลานี้กำลังหลายเป็นความท้าทาย คือ สถานการณ์ “ภัยพิบัติ” ทั้งน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม ถือเป็นภัยคุกคามพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะชุมชนในภาคใต้กว่า 600 ชุมชน ที่ต้องเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร
อย่าง “ยอดกระโดน” ที่เก็บหาได้ในพื้นที่นา จริง ๆ แล้ว ส่วนของดอกกระโดน ก็กินกับขนมจีนได้เช่นกัน อ.เพ็ญบอกว่า ต้นกระโดน ใน จ.พัทลุง เหลือน้อยแล้ว เพราะการใช้ประโยชน์ที่ดิน กระทบทำให้พื้นที่นาลดลง
ไม่ต่างจาก “ยอดหมรุย” ที่ขึ้นตามป่า เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากพื้นที่การเกษตรถูกเปลี่ยนไปทำพืชเชิงเดี่ยว หรือแม้แต่มีภัยพิบัติอย่างดินโคลนถล่มเกิดขึ้น ก็อาจทำให้ผักพื้นถิ่นชนิดนี้หายไปจากพื้นที่ได้เช่นกัน
เช่นเดียวกับ “ผักหวานป่า” ที่สุ่มเสี่ยงมากหากเกิดดินโคลนถล่ม เพราะขึ้นได้ทั่วไปตามป่า ตามเขา ก็ถือว่าได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเต็ม ๆ
ความมั่นคงทางอาหารที่ลดน้อยลง ยังจะส่งผลต่อมิติสุขภาพ โภชนาการอีกด้วย ซึ่ง อ.เพ็ญ ให้ข้อมูลว่า เป็นเพราะผักเครื่องเคียง เหล่านี้ บางชนิดมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย นอกจากนี้ยังอาจส่งผลในมิติเศรษฐกิจ เพราะพืชผักที่หาได้ตามชุมชน ทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสียเงินซื้อ นอกจากเก็บกินแล้ว ยังเอาไปขายสร้างรายได้ หากพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม และถูกทำให้หายไป ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ปากท้องของชาวบ้านไม่น้อยเลย
นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ อ.เพ็ญ เดินหน้าตั้งวงคุยกับเครือข่ายใน จ.พัทลุง เครือข่ายอาหาร และเกษตรกรในภาคใต้ เพื่อเดินหน้าทำตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารง่าย ๆ ด้วยเมนูขนมจีน โดยจะดูตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค ว่าตลอดกระบวนการของขนมจีน มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง  “ดูว่ามันสะท้อนความมั่นคงทางอาหารยังไง เอาผักที่กินกับขนมจีนก่อน แล้วเราก็วางแผนผัง mapping ดูเลยว่า ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา แต่ละบริบทพื้นที่ เขามีน้ำแกงแบบไหน มีผักที่มาใช้กินแบบไหน น่าจะได้ผังข้อมูลค่อนข้างเยอะพอสมควร มีพืชชนิดไหนที่สุ่มเสี่ยงสูญหาย ก็มีจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายว่า เครือข่ายจะทำอย่างไร เพื่อปกป้องรักษา พืชผักที่หลากหลาย หรือความมั่นคงทางอาหารเหล่านี้เอาไว้ด้วย” อ.เพ็ญ ทิ้งท้าย
นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ อ.เพ็ญ เดินหน้าตั้งวงคุยกับเครือข่ายใน จ.พัทลุง เครือข่ายอาหาร และเกษตรกรในภาคใต้ เพื่อเดินหน้าทำตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารง่าย ๆ ด้วยเมนูขนมจีน โดยจะดูตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค ว่าตลอดกระบวนการของขนมจีน มีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง  “ดูว่ามันสะท้อนความมั่นคงทางอาหารยังไง เอาผักที่กินกับขนมจีนก่อน แล้วเราก็วางแผนผัง mapping ดูเลยว่า ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา แต่ละบริบทพื้นที่ เขามีน้ำแกงแบบไหน มีผักที่มาใช้กินแบบไหน น่าจะได้ผังข้อมูลค่อนข้างเยอะพอสมควร มีพืชชนิดไหนที่สุ่มเสี่ยงสูญหาย ก็มีจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายว่า เครือข่ายจะทำอย่างไร เพื่อปกป้องรักษา พืชผักที่หลากหลาย หรือความมั่นคงทางอาหารเหล่านี้เอาไว้ด้วย” อ.เพ็ญ ทิ้งท้าย

Author

Alternative Text
AUTHOR

ทัศนีย์ ประกอบบุญ

นักข่าวสายลุย เกาะติดประเด็นแล้วไม่มีปล่อย รักการเดินทาง หลงรักศิลปะบนรองเท้า และชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ