การตัดงบฯ ของสหรัฐอเมริกา สำหรับโครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ส่งผลกระทบมาถึง ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เป็นเหตุให้โรงพยาบาลสนามภายในค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ต้องปิดตัวลงตามไปด้วย
แม้เรียกว่าเป็นศูนย์พักพิง “ชั่วคราว” แต่ค่ายผู้ลี้ภัยที่นี่ ตั้งมาแล้วกว่า 41 ปี จากจุดเริ่มต้นที่มีประชากรเพียง 1,100 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 30,000 – 40,000 คน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากอัตราการเกิดของเด็กภายในค่าย
หากพิจารณาจากข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ พบว่า ตำบลแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีประชากรสัญชาติไทย 20,477 คน ขณะที่ประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ มีมากกว่า 30,000 คน สะท้อนให้เห็นว่า ในพื้นที่นี้มีจำนวนผู้ลี้ภัยที่มากกว่าประชาชนกรคนไทยในพื้นที่
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ? การปิดตัวลงของโรงพยาบาลสนามภายในค่ายผู้ลี้ภัย จึงนำไปสู่ความน่ากังวลของหน่วยงานด้านสาธารณสุขตามแนวชายแดน
The Active เปิดภาพบรรยากาศ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ท่ามกลางความพยายามของเจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิด “มนุษยธรรม” ผ่านบทบาทของโรงพยาบาลตามแนวชายแดน ที่เปรียบได้กับด่านหน้า สร้าง “ความมั่นคงของชาติ” ด้านสาธารณสุข ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
แม้เรียกว่าเป็นศูนย์พักพิง “ชั่วคราว” แต่ค่ายผู้ลี้ภัยที่นี่ ตั้งมาแล้วกว่า 41 ปี จากจุดเริ่มต้นที่มีประชากรเพียง 1,100 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 30,000 – 40,000 คน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากอัตราการเกิดของเด็กภายในค่าย
หากพิจารณาจากข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ พบว่า ตำบลแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีประชากรสัญชาติไทย 20,477 คน ขณะที่ประชากรในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ มีมากกว่า 30,000 คน สะท้อนให้เห็นว่า ในพื้นที่นี้มีจำนวนผู้ลี้ภัยที่มากกว่าประชาชนกรคนไทยในพื้นที่
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ? การปิดตัวลงของโรงพยาบาลสนามภายในค่ายผู้ลี้ภัย จึงนำไปสู่ความน่ากังวลของหน่วยงานด้านสาธารณสุขตามแนวชายแดน
The Active เปิดภาพบรรยากาศ ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละ ท่ามกลางความพยายามของเจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิด “มนุษยธรรม” ผ่านบทบาทของโรงพยาบาลตามแนวชายแดน ที่เปรียบได้กับด่านหน้า สร้าง “ความมั่นคงของชาติ” ด้านสาธารณสุข ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม