Diary ชีวิต มอแกน ที่เกาะพยาม

“เกาะพยาม” แหล่งท่องเที่ยวของ จ.ระนอง ที่ถูกขนานนามให้เป็น “มัลดีฟส์เมืองไทย” เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามไร้การปรุงแต่ง

บนเกาะแห่งนี้ ยังเป็นที่อาศัยของ “ชาวมอแกน” กลุ่มชาติพันธุ์ฝั่งทะเลอันดามัน ที่มาปักหลัก อาศัยผืนดินเล็ก ๆ ตั้งแต่หลังเหตุการณ์สึนามิ

แม้เกาะพยามจะคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่คุณภาพชีวิตของ “ชาวบ้านกลุ่มนี้กลับสวนทางกัน” มากกว่าครึ่งยังไร้สัญชาติ หรือแม้กระทั่ง “สะพานข้ามฝั่ง” ที่กลายเป็นข่าวดังหลังเกิดอุบัติเหตุแพข้ามฝั่งของนักเรียนล่ม

The Active ชวนสัมผัสชีวิตผู้คนที่นี่ ตั้งแต่หน้าหมู่บ้าน ยันท้ายหมู่บ้าน จนได้เห็นชีวิตที่เรียกว่า “อยู่แบบตามมี ตามเกิด”
“แพข้ามฟาก” คือยานพาหนะหลัก ที่ทุกคนใช้ในการสัญจรไป-มาระหว่างหมู่บ้านมอแกน กับ เกาะพยาม เพราะที่นี่ไม่มีสะพาน วิถีของทุกคนที่นี่เป็นแบบนี้มานานนับ 10 ปี
“สมโชค ทะเลลึก”ชาวมอแกน เป็นเจ้าของร้านชำเล็ก ๆ หน้าหมู่บ้าน เขาจะคอยทักทายผู้คนที่เข้ามาเที่ยวรวมถึงพวกเราด้วย
สมโชค บอกว่า หลายอย่างที่เห็นว่า “พัฒนา” ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ เครื่องประดับที่ใส่และทำขาย “ฝรั่ง” มาสร้าง มาสอนให้
เมื่อเดินเข้าไปในหมู่บ้าน เด็ก ๆ วิ่งกรูเข้าหาด้วยความตื่นเต้น ขอจูงมือ และเอ่ยถามชื่อ พวกเขาพากันแนะนำตัวเองทีละคน ทุกคนพยายามเชื้อเชิญให้ไปดูบ้านของตัวเอง ในบ้านมีพ่อแม่และพี่น้องของพวกเขาอยู่
เมื่อเดินเข้าไปในหมู่บ้าน เด็ก ๆ วิ่งกรูเข้าหาด้วยความตื่นเต้น ขอจูงมือ และเอ่ยถามชื่อ พวกเขาพากันแนะนำตัวเองทีละคน ทุกคนพยายามเชื้อเชิญให้ไปดูบ้านของตัวเอง ในบ้านมีพ่อแม่และพี่น้องของพวกเขาอยู่
บ้านของชาวมอแกน ถูกสร้างขึ้นแบบไม่ปราณีต มีรอยปะซ่อมแซมตามสภาพ เพื่อให้พออยู่อาศัย กลางคืนไม่มีไฟฟ้า อาศัยแสงจันทร์และแสงเทียน
บ้านของชาวมอแกน ถูกสร้างขึ้นแบบไม่ปราณีต มีรอยปะซ่อมแซมตามสภาพ เพื่อให้พออยู่อาศัย กลางคืนไม่มีไฟฟ้า อาศัยแสงจันทร์และแสงเทียน
“มิชิ ทะเลลึก” เจ้าของร้านชำอีกร้าน กลางหมู่บ้าน เธอนำบัตรประจำตัวที่มีเลขนำหน้า 0 มาให้ดู พร้อมกับเล่าว่า ทุกวันนี้ไม่บัตรประชาชน เพราะไม่มีใครในหมู่บ้านที่รุ่นราวคราวเดียวกันยืนยันให้ เพราะอีกคนสื่อสารภาษาไทยไม่ได้เลย
อาชีพหลักของชาวมอแกน คือ ประมง ช่วงกลางวันเราพบวัยแรงงานที่นั่งถักและซ่อมแห อวน ขณะที่บางคนไปออกเรือ
อาชีพหลักของชาวมอแกน คือ ประมง ช่วงกลางวันเราพบวัยแรงงานที่นั่งถักและซ่อมแห อวน ขณะที่บางคนไปออกเรือ
เด็ก ๆ ชาวมอแกน ที่กำลังเรียนหนังสือ มีมากกว่า 30 คน ทุกคนเรียนอยู่ที่ “โรงเรียนบ้านเกาะพยาม” บางคนจบชั้น  ป.6 ออกมาทำงาน หากใครพอมีโอกาสก็ได้เข้าไปเรียนในตัวเมืองระนอง
“กล้วย ทะเลลึก” คุณแม่ลูก 5 (ที่ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ 2 คน) เตรียมพาลูกสาวข้ามฝั่งไปเรียนในเช้าวันจันทร์ เธอเล่าว่า หลังข้ามฝั่งไปแล้ว ต้องเดินเท้าเปล่าไปอีก 300 เมตร เพื่อรอรถไถเข้ามารับไปโรงเรียน ที่ห่างไปอีก 2 กิโลเมตร และเป็นแบบนี้ในทุก ๆ วัน
จุดที่เด็ก ๆ รอโรงเรียน คือ บริเวณ อ่าวเขาควาย ซึ่งจะมาถึงเวลาประมาณ 7.45 และพากลับมาส่งที่จุดนี้หลังเลิกเรียน
รถที่มารับ ทุกคนเรียกกันว่า “รถไถ” ที่โรงเรียนจัดมารับเด็กมอแกนโดยเฉพาะ หากไม่มีรถ เด็ก ๆ ต้องเดินไปอีก 2 กิโลเมตร ที่นี่ไม่ใช้รถยนต์ เพราะเส้นทางแคบ
เด็ก ๆ ชาวมอแกน “ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย” จำนวนไม่น้อยต้องหยุดเรียนอยู่บ้าน แต่ไม่ได้ไปหาหมอ เพราะพ่อแม่มักกังวลเรื่องค่ารักษา เนื่องจากหลายคนยังไม่ได้สัญชาติ
เวลานี้ชาวมอแกนเริ่มมองเห็นความหวัง จากการที่คนให้ความสนใจเรื่อง “สะพาน” ว่าจะเป็น “แสง” ส่องให้สังคมมองเห็นหลายสิบชีวิตที่อยู่บนเกาะนี้ และหวังให้รัฐบาลช่วยดูแลยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีกว่าเดิม