ชาวนาที่เข้าใจแก่นแท้ของเกษตรยั่งยืน จะรู้ดีว่าดินดีคือรากฐานของผลผลิตที่ดี เพราะดินเหล่านี้เต็มไปด้วยจุลินทรีย์และธาตุอาหาร ที่เสี่ยงจะหายไปเพราะการ ‘เผากำจัดชีวมวล’
นครสวรรค์ จังหวัดที่ผลิตข้าวอันดับต้น ๆ และมีจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่เกษตร (hotspot) อันดับต้น ๆ ของประเทศ นับเป็นอีกพื้นที่ที่เป็นภาพสะท้อนปัญหาการเผาฟางข้าวที่มีความซับซ้อนในการแก้ปัญหา
ถ้าลองเดินสำรวจดูนาข้าวใน จ. นครสวรรค์ ถึงจะเป็นนาบนที่ราบเหมือนกัน แต่ทุกผืนนากลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การแก้ปัญหาเรื่องการเผาผลผลิตที่เหลือจากการเกษตร เป็นโจทย์ที่ท้าทายและไม่อาจใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดียวกันทั่วทั้งจังหวัดได้
บางแปลงเป็น "นาหล่ม" ที่น้ำขังจนรถไถรถอัดฟางลงไปไม่ได้
บางแปลงโดน “น้ำท่วม” จนชาวนาแทบไม่มีเวลาเตรียมดินสำหรับฤดูกาลถัดไป
บางแปลงมีฟางข้าวที่เจอ “ฝนนอกฤดู” จนสีดำคล้ำราคาตก ไร้ค่าในสายตาผู้รับซื้อฟางก้อนเลี้ยงวัว
ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรไม่สามารถใช้สูตรสำเร็จเดียวกันได้ ยังไม่นับรวมผืนนาข้าวอีก 76 จังหวัด หรือแปลงผลผลิตชนิดอื่น ๆ อย่างไร่อ้อยหรือไร่ข้าวโพด
อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรกรจะมีทางเลือกจัดการฟางมากมาย ทั้งการอัด การไถกลบ หรือการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันของแต่ละแปลงทำให้เป็นโจทย์ท้าทายการแก้ปัญหาการเผา . ดังนั้น การปัญหาการเผาในภาคเกษตรจึงต้องเข้าใจความละเอียดอ่อนของพื้นที่ เข้าใจข้อจำกัดของชาวนา และที่สำคัญ ต้องเข้าใจว่าทุกผืนนาอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกัน การแก้ปัญหาจากภาครัฐหรือนโยบายจึงต้องยืดหยุ่นพอที่จะตอบรับกับทุกพื้นที่ให้ได้
นครสวรรค์ จังหวัดที่ผลิตข้าวอันดับต้น ๆ และมีจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่เกษตร (hotspot) อันดับต้น ๆ ของประเทศ นับเป็นอีกพื้นที่ที่เป็นภาพสะท้อนปัญหาการเผาฟางข้าวที่มีความซับซ้อนในการแก้ปัญหา
ถ้าลองเดินสำรวจดูนาข้าวใน จ. นครสวรรค์ ถึงจะเป็นนาบนที่ราบเหมือนกัน แต่ทุกผืนนากลับมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้การแก้ปัญหาเรื่องการเผาผลผลิตที่เหลือจากการเกษตร เป็นโจทย์ที่ท้าทายและไม่อาจใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดียวกันทั่วทั้งจังหวัดได้
บางแปลงเป็น "นาหล่ม" ที่น้ำขังจนรถไถรถอัดฟางลงไปไม่ได้
บางแปลงโดน “น้ำท่วม” จนชาวนาแทบไม่มีเวลาเตรียมดินสำหรับฤดูกาลถัดไป
บางแปลงมีฟางข้าวที่เจอ “ฝนนอกฤดู” จนสีดำคล้ำราคาตก ไร้ค่าในสายตาผู้รับซื้อฟางก้อนเลี้ยงวัว
ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรไม่สามารถใช้สูตรสำเร็จเดียวกันได้ ยังไม่นับรวมผืนนาข้าวอีก 76 จังหวัด หรือแปลงผลผลิตชนิดอื่น ๆ อย่างไร่อ้อยหรือไร่ข้าวโพด
อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรกรจะมีทางเลือกจัดการฟางมากมาย ทั้งการอัด การไถกลบ หรือการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันของแต่ละแปลงทำให้เป็นโจทย์ท้าทายการแก้ปัญหาการเผา . ดังนั้น การปัญหาการเผาในภาคเกษตรจึงต้องเข้าใจความละเอียดอ่อนของพื้นที่ เข้าใจข้อจำกัดของชาวนา และที่สำคัญ ต้องเข้าใจว่าทุกผืนนาอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกัน การแก้ปัญหาจากภาครัฐหรือนโยบายจึงต้องยืดหยุ่นพอที่จะตอบรับกับทุกพื้นที่ให้ได้