เสียงกระซิบ ของความหลากหลาย

Sound of the Soul นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ กับการบอกเล่าเรื่องราวของความหลากหลาย ผ่านทั้งเสียงสัมภาษณ์ เสียงดนตรี และเสียงธรรมชาติจากพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจะพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวของแต่ละเสียง ที่สุดท้ายแล้วอาจจะได้กลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า คำว่า “เขา” กับ “เรา” อาจจะมีเพียง ‘แค่กำแพงล่องหน’ ขวางกั้น รอให้ถูกทำลาย เพียงแค่ลองใช้ “หู” รับฟังเสียงสะท้อนจากคนอื่นให้มากขึ้น

“ทุกครั้งที่เราลงพื้นที่ในการทำงาน ก็จะมีเสียงที่เป็นวิถีชีวิตของเขารายล้อมอยู่ อย่างกลุ่ม มานิอยู่ในป่าผืนใหญ่ ก็จะเป็นเสียงของป่าที่มีลมพัดมา ปลิวทีหนึ่ง เราจะได้ยินเสียงที่มันอยู่ที่สูงมาก ๆ หรือเสียงนกที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือถ้าเราไปภาคเหนือในหมู่บ้านหรือบนดอยตื่นเช้ามาเราก็จะได้ยินเสียงไก่ขันแล้วสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่มันถูกบอกเล่าได้ด้วยเสียง” เม- ศริษา บุญมา ผู้ออกแบบเสียงและทำเนื้อหาวิจัยให้กับนิทรรศการนี้ เล่าถึงจุดเริ่มต้น

ชมนิทรรศการ Sound of the Soul ได้ที่ห้องสตูดิโอ (ชั้น 4) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 19 – 31 กรกฎาคม 2565 ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมนิทรรศการ
เสียงไก่ขันยามเช้า รายล้อมด้วยแมลงตัวเล็กตัวน้อยให้อารมณ์เหมือนกำลังพาทุกคนก้าวเข้าสู่ธรรมชาติ ก่อนที่จะเริ่มได้ยินเสียงสัมภาษณ์  ชาวบ้าน  ด้วยภาษาไทยที่มีสำเนียงแตกต่างหลากหลายกันออกไป
เม- ศริษา บุญมา  ผู้ออกแบบเสียงและทำเนื้อหาวิจัยให้กับนิทรรศการนี้ เล่าว่า  อยากจัดนิทรรศการที่พูดเกี่ยวกับความหลากหลายและใช้เสียงในการเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งทั้งตัวเธอและทีม Hear&Found  ทำงานเกี่ยวกับ กลุ่มชาติพันธุ์ผ่านดนตรีและเสียงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ทุก ๆ เสียงดนตรี เสียงบรรยากาศ เสียงธรรมชาติจากต้นน้ำ รวมถึงถ้อยคำของผู้คนต้นทางในนิทรรศการเป็นเสียงจากผู้คนในพื้นที่ และสถานการณ์จริง จาก แม่ฮ่องสอนลงสู่ปัตตานี รายทางล้วนพบกับความหลากหลาย  “ความหลากหลาย" ที่ว่านี้ หลาย ๆ ครั้งถูกมองเป็น "ความแตกต่าง" ที่พ่วงด้วยสารพัดคำถาม ไม่ว่าจะเป็น เขาเป็นใคร มาจากไหน อาศัยอยู่ที่ไหน และหลายๆ ครั้งก็มาพร้อมความรู้สึก 'ห่างไกล' ไม่คุ้นชิน ไม่วางใจ เกิดเป็นเส้นแบ่ง
เป็นเสียงแห่งตัวตนเป็นมนุษย์ที่มีร่างกายและหัวใจไม่ต่างจากมนุาย์โลกทั่วไป และนี่อาจจะเป็นเสียงกระซิบที่เบาหวิวจากพื้นที่ห่างไกล ที่อาจขจจะส่งผลต่อหัวใจของผู้ที่ได้ฟัง
เสียง สามารถเป็นตัวกลางหนึ่ง ที่ ‘เฟรนด์ลี่’ เข้าถึงได้ง่าย และสิ่งสำคัญ คือการฟังจะเป็นส่วนที่ทำให้คนเราเข้าใจกันได้มากขึ้น   “เราก็เลยรู้สึกว่าเสียง และดนตรีจะเป็นตัวนำพาไปถึงจุดนั้น”  หนึ่งคำบอกเล่าจากทีมผู้จัด
นิทรรศการนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน เริ่มจาก 
ปอกเปลือก - นำเสนอปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบถึงตัวตนและการสูญหายทางวัฒนธรรม   concept  คือเป็นเสียงของกลุ่มชาติพันธุ์จริงๆ ที่เขาเล่าเรื่องความเข้าใจผิดที่เจอ เรื่องความเหลื่อมล้ำที่เจอปัญหามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมความหลากหลาย ถึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อันนี้ concept เราจะฟังเสียงเหมือนเป็นเสียงกระซิบผ่านความรู้สึกที่เขาพูดกับเราในระยะไกล ถ้าเราไม่ตั้งใจฟัง เราคงไม่ได้ยิน
คลี่คลาย – นำเสนอความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยผ่านเสียง อาทิเสียงดนตรี เสียงของธรรมชาติที่แวดล้อมในแต่ละพื้นที่ เสียงพูดในภาษาท้องถิ่น พร้อมกับเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับดนตรีและเสียงต่าง ๆ ในบริบทของพื้นที่
ขมวดปม – นำเสนอโอกาสและความเป็นไปได้ ภายใต้แนวคิดว่า “เมื่อเกิดความเข้าใจ กำแพงที่เรามีต่อกันอาจเป็นเพียงเรื่องสมมติ และการโอบรับความแตกต่างนั้นสามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด”
เสียง วีดีโอ ในนิทรรศการก็คงต้องทำหน้าที่ต่อไป อาจจะช่วยกระซิบให้คนหลายคนได้ยินเพิ่มขึ้นทีละนิด  และอาจจะไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ในระดับโครงสร้างในเร็ววัน   แต่หากเพียงแค่เริ่มจากการเข้าใจ และยอมรับในความหลากหลายก่อน  ซึ่งเป็น step แรกและเป็น step ที่สำคัญที่สุดที่จะทะลายกำแพงอคติและความเชื่อที่ผิดเรื่อง “ความหลากหลาย”  เป็น “ความแตกต่าง”
​Sound of the Soul กิจกรรมที่จัดโดย BACC ร่วมกับกลุ่มศิลปิน Hear&Found  ศุภชัย เกศการุณกุล  และ DuckUnit...  ชมนิทรรศการ Sound of the Soul ได้ที่ห้องสตูดิโอ (ชั้น 4) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 19 – 31 กรกฎาคม 2565 ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมนิทรรศการ