ในคืนฤดูหนาว ที่ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชาวกรุงได้หลั่งไหลมารวมตัวกันที่สวนป่าเบญจกิติ เพื่อชื่นชมความงามของดวงดาวบนฟ้าผ่านคาราวานกล้องโทรทรรศน์กว่าร้อยตัว ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) และภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันจัดงาน ‘ดูดาวกลางกรุง’ เพื่อหวังให้ดาราศาสตร์และผืนดาวอันห่างไกล เป็นเรื่องใกล้ตัวของคนเมืองอีกครั้ง
ปัจจุบัน คนกรุงเทพฯ ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แสงเทียมตลอด 24 ชั่วโมง จนอาจหลงลืมไปแล้วว่าเราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ ดวงดาว และทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า เพราะลำพังเทหวัตถุ (space object) เหล่านั้นไม่อาจ ‘ส่องสว่าง’ ได้เท่าแสงสังเคราะห์จากรถยนต์ โคมไฟถนน ป้ายโฆษณา ตลอดจนแสงเรืองบนท้องฟ้า (Sky Glow) ที่ทำหน้าที่เป็นม่านบังแสงดาว
‘แสงเรืองบนท้องฟ้า’ เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงภายนอกอาคารที่ส่องขึ้นสู่ท้องฟ้า แสงเหล่านี้กระเจิงกับเมฆ หมอกควัน และฝุ่น ปรากฏเป็นแสงเรืองทั่วท้องฟ้าและสังเกตเห็นได้แม้จะอยู่ห่างไกลออกไป แสงเหล่านี้มีปริมาณที่สูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในเขตชุมชนเมือง และกว่า 50% ในพื้นที่ชนบท
The Active ชวนผู้อ่านย่ำเท้าไปในสวนป่ากลางกรุง แหงนมองท้องฟ้ายามค่ำคืนของฤดูหนาว ในวันที่แสงไฟในเมืองขยายแผ่ออกไปเรื่อย ๆ ความมืดจึงเป็นเหมือนขุมทรัพย์ล้ำค่า ที่อาจทำให้เรามองเห็นโลกได้น้อยลง แต่เห็นจักรวาลได้กว้างและชัดเจนมากกว่าเดิม
ปัจจุบัน คนกรุงเทพฯ ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แสงเทียมตลอด 24 ชั่วโมง จนอาจหลงลืมไปแล้วว่าเราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ ดวงดาว และทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า เพราะลำพังเทหวัตถุ (space object) เหล่านั้นไม่อาจ ‘ส่องสว่าง’ ได้เท่าแสงสังเคราะห์จากรถยนต์ โคมไฟถนน ป้ายโฆษณา ตลอดจนแสงเรืองบนท้องฟ้า (Sky Glow) ที่ทำหน้าที่เป็นม่านบังแสงดาว
‘แสงเรืองบนท้องฟ้า’ เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงภายนอกอาคารที่ส่องขึ้นสู่ท้องฟ้า แสงเหล่านี้กระเจิงกับเมฆ หมอกควัน และฝุ่น ปรากฏเป็นแสงเรืองทั่วท้องฟ้าและสังเกตเห็นได้แม้จะอยู่ห่างไกลออกไป แสงเหล่านี้มีปริมาณที่สูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในเขตชุมชนเมือง และกว่า 50% ในพื้นที่ชนบท
The Active ชวนผู้อ่านย่ำเท้าไปในสวนป่ากลางกรุง แหงนมองท้องฟ้ายามค่ำคืนของฤดูหนาว ในวันที่แสงไฟในเมืองขยายแผ่ออกไปเรื่อย ๆ ความมืดจึงเป็นเหมือนขุมทรัพย์ล้ำค่า ที่อาจทำให้เรามองเห็นโลกได้น้อยลง แต่เห็นจักรวาลได้กว้างและชัดเจนมากกว่าเดิม