ตามรอย…สิทธิแรงงานไทย กี่ยุค ก็ยังสู้ไม่จบ!

ผ่านไปอีกปีสำหรับ ‘วันแรงงานสากล’ ข้อเรียกร้องแรงงาน ที่ถูกยื่นถึงมือรัฐบาลทุกปี อยู่ตรงไหน ? ได้รับการตอบสนองบ้างไหม ? แล้วทำไมปัญหาแรงงาน จึงยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ

สิทธิ สวัสดิการ คุณภาพชีวิต สภาพการจ้างงาน ค่าจ้างที่เป็นธรรม ความปลอดภัยการทำงาน จนถึงวันนี้แรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ ได้รับการยกระดับที่ดีพอแล้วหรือไม่ ?

The Active ชวนย้อนรอยประวัติศาสตร์การต่อสู้ของขบวนการแรงงานจากอดีต ถึงปัจจุบัน ที่สื่อสารและบอกเล่าเรื่องราวผ่าน ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ ท่ามกลางความคาดหวังให้สังคม และภาครัฐ เข้าใจถึงคุณค่าของพี่น้องแรงงาน ในฐานะของหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนประเทศ


วิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พา The Active ชมนิทรรศการ จากชิ้นส่วน เครื่องมือ วัสดุ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพของแรงงานไทย  พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่นี่ก่อตั้งเมื่อ 17 ต.ค. 2536 เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวคุณค่าของแรงงาน ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งห่างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงาน ยังต่ำกว่ามาตรฐาน  คาดหวังให้ผู้คนได้เข้าใจและมองเห็น “คุณค่า” ของแรงงาน
อดีตผู้นำแรงงาน เล่าเรื่องด้วยประวัติศาสตร์และคุณูปการของผู้นำแรงงาน ที่พยายามเรียกร้องคุณภาพชีวิตแรงงาน ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง พร้อมแนะนำบุคคลสำคัญ ๆ ในช่วงรอยต่อสำคัญ เช่น 
ถวัติ ฤทธิเดช ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ กรรมกร เมื่อปี 2465 เพื่อเป็นปากเสียงให้กรรมกร
เธียรไท อภิชาติบุตร เป็นนักการเมืองที่เป็นประธานสมาคมสหอาชีวะแห่งประเทศไทยคนแรก, 
ไพศาล ธวัชชัยนันท์ และ อารมณ์ พงศ์พงัน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เกิดการรวมกลุ่มแรงงานสมัยใหม่ “สภาองค์กรลูกจ้าง” ซึ่งนำไปสู่การทำงานด้านแรงงานที่เป็นกระบวนการทางสังคม
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้หยิบเอาชิ้นส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือสำคัญที่แรงงานใช้ในแต่ละช่วง มาบอกเล่าเรื่องราว  โดยแบ่งเป็น 2 โซน โซนแรก แบ่งเป็น 5 ห้อง เล่าประวัติศาสตร์ แรงงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ห้องที่ 1 จุดเริ่มต้น “แรงงานไพร่-ทาส” 
หรือแรงงานบังคับในสังคมโบราณ และการเปิดประเทศ  วิชัย เล่าว่า เรื่องราวแรงงานในสังคม “ศักดินา” ที่ไพร่ ทาส อยู่ชั้นล่างสุดในสังคม เป็นแรงงานที่ทำงานไร้อิสระ ไร้ค่าตอบแทน  อุปกรณ์การเกษตรในอดีต อย่างเครื่องสีข้าว เครื่องหีบอ้อย คือภูมิปัญญาที่เริ่มแรงงานใช้จนพัฒนากลายเป็นเครื่องจักรหลังเกิดอุตสาหกรรม
ผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริง มีอุตสาหกรรมเข้ามา ทำให้เกิดความต้องการของแรงงาน ยุคนั้นมีแรงงานชาวจีนเข้ามาทำงาน  โดยในห้องที่ 2 “แรงงานจีน” ถือว่ามีบทบาทสำคัญเข้ามาผลักดันอุตสาหกรรม เพราะแรงงานไทยขาดทักษะ และยังไร้อิสระ แรงงานจีน จึงเป็นแรงงานรับจ้างรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย  โดยถ่ายทอดเรื่องราวการรวมตัวในลักษณะที่เรียกว่า “อั้งยี่” นัดหมายพูดคุยเรื่องงาน ค่าจ้าง
วิชัย ยอมรับว่า ตั้งแต่อดีต การปกป้องคุ้มครองสิทธิแรงงานคือข้อดี แต่รัฐไทยมองว่ามีปัญหาต่อความมั่นคง จึงเกิดกฎหมาย “อั้งยี่ซ่องโจร” ทำให้องค์กรลักษณะนี้กลายเป็นองค์กรลับ
ห้องที่ 3 “เลิกทาส”
การปฏิรูปประเทศสมัยรัชกาลที่ 5  เป็นยุคที่แรงงานไทยได้รับอิสระ เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่แรงงานไทยได้มีส่วนเข้าไปพัฒนาประเทศ ในหลายด้าน ทั้งคมนาคม การสร้างทางรถไฟ อุตสาหกรรมป่าไม้ เหมืองแร่ โทรคมนาคม ไฟฟ้า การประปา  นับเป็นช่วงที่ทำให้เห็นบทบาทการทำงานของแรงงานไทย ในการพัฒนาประเทศ
ห้องที่ 4 “สิทธิแรงงาน กับ ความเป็นประชาธิปไตย”  วิชัย เล่าว่า “ถวัติ ฤทธิเดช” ได้เห็นความสำคัญสิทธิแรงงานที่เชื่อมโยงกับความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งความสำเร็จของการต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงาน เกิดหลังการปฏิวัติสยาม 2475 แรงงานไทย ก็ได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย  การรวมตัวของแรงงานไทยเป็นสมาคม ทำให้เกิดอำนาจในการต่อรอง คือ สมาคมกรรมกรรถราง เป็นสมาคมแรกที่ได้รับการรับรอง เป็นรากฐานในการเรียกร้องเพื่อสิทธิแรงงานไทยในยุคต่อ ๆ มา  กระทั่งเกิดเป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรก ปี 2499  แต่ทุกครั้งที่เกิดรัฐประหารสิทธิแรงงานก็จะถูกริดรอนไปด้วย
การรวมตัวของแรงงานไทยจนเกิดเป็นสมาคม ทำให้เกิดอำนาจต่อรอง คือ “สมาคมกรรมกรรถราง” เป็นสมาคมแรกที่ได้รับการรับรอง เป็นรากฐานในการเรียกร้องเพื่อสิทธิแรงงานไทยในยุคต่อ ๆ มา  กระทั่งเกิดเป็น พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499  แต่ทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร… สิทธิแรงงานก็จะถูกริดรอนไปด้วย
ห้องที่ 5 “สงครามโลกครั้งที่ 2 - สงครามเย็น”  “หนึ่งไม้หมอน เท่ากับหนึ่งชีวิต” ถูกใช้อธิบาย ชีวิตของแรงงานเชลยศึกสัมพันธมิตร ในการก่อสร้าง “ทางรถไฟสายมรณะ” จ.กาญจนบุรี ที่ขณะนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพ โดยใช้แรงงานเชลยศึกสัมพันธมิตร ร่วมกับแรงงานรับจ้างที่เป็นคนจีน ช่วงเวลานั้นเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างมาก  และมีแรงงานเสียชีวิต
อีกด้านของห้องจัดแสดง เรื่องราวการเข้ามามีบทบาทของ “ทหารในการเมือง” ซึ่ง วิชัย เล่าว่า เมื่อมีการรัฐประหาร ทหารก็เข้ามาแทรกแซงขบวนการแรงงานมากขึ้น ทำให้เริ่มเกิดปัญหาเรื่องเอกภาพ จนนำไปสู่ความเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ  และช่วงเข้าสู่ยุคสงครามเย็น รัฐบาลไทยอยู่ในฝ่ายทุนนิยม แรงงานที่เรียกร้องกลับกลายเป็นคู่ขัดแย้งของรัฐ โดยที่รัฐก็เริ่มส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกลายมาเป็นนโยบายจนถึงทุกวันนี้ ที่รัฐส่งเสริมการลงทุนมากกว่าการส่งเสริมคนลงแรง
รถสามล้อรับจ้าง และ ช่างตัดผม ชี้ให้เห็นว่าคืออาชีพ ที่สงวนไว้ให้คนไทยทำ
ห้องแสดง “ศิลปวัฒนธรรมกรรมกร จิตร ภูมิศักดิ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักคิดคนสำคัญ  วิชัย เล่าว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แรงงาน เพราะเป็นการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงาน จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสนอแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” เกิดเป็นเพลงเพื่อชีวิต วรรณกรรมเพื่อชีวิต  จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจับในยุคเผด็จการ ได้ไปตั้งวงดนตรีไทยในคุก ได้เขียนเพลง เช่น รำวงวันเมย์เดย์, ศักดิ์ศรีของแรงงาน และ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง
“กางเกงยีนส์ฮาร่า” กระเป๋า ลายค้อน และ เคียว โดย แรงงานหญิง ที่อยู่ในโรงงานกางเกงยีนส์จากนายทุนจีน นำโดย “ชอเกียง แซ่ฉั่ว” เมื่อปี 2518  แรงงานหญิง อยู่กับสภาพแวดล้อมโรงงานที่ย่ำแย่ สวัสดิการที่เลวร้าย ถูกเอารัดเอาเปรียบ ลดค่าจ้าง  พวกเธอจึงรวมตัวหยุดงานกว่า 3 เดือน  และร่วมยึดโรงงาน ที่วัดไผ่เงินมาทำการผลิตเอง โดยใช้ชื่อว่า “โรงงานสามัคคีกรรมกร” ขายในราคาถูก แต่ท้ายที่สุดแรงงานหลายคนถูกจับดำเนินคดี  แม้ศาลสั่งให้นายจ้างรับคนงานกลับเข้าทำงาน แต่นายจ้างไม่ยอมรับ  ส่วนคดียึดโรงงาน แรงงานถูกดำเนินคดี จนกระทั่งเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 คนงานตัดสินใจหนีเข้าป่าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เศษซากตุ๊กตาที่หลงเหลือจาก “โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์” ปี 2536 คือเรื่องราวที่ วิชัย ยอมรับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดการสูญเสียของแรงงานครั้งใหญ่ ที่มีแรงงานเสียชีวิต 188 คน บาดเจ็บร่วม 469 คน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จึงต้องการให้ซากตุ๊กตาจากโรงงาน เสื้อผ้า ภาพถ่ายพนักงานมาเพื่อย้ำเตือน เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเหตุการณ์เคเดอร์ สะท้อนชัดถึงปัญหาการขาดมาตรฐานของโรงงาน ทั้งโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อให้มีวัสดุหุ้มป้องกันไฟ ทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้โครงสร้างจึงพังทลายลงอย่างรวดเร็ว การไม่มีระบบเตือนภัย ทำให้คนงานต้องบาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก  จากเหตุการณ์เคเดอร์ เป็นที่มาให้ขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวผลักดันเรื่องความปลอดภัย จนในที่สุดรัฐบาล ประกาศให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” อีกทั้งขบวนการแรงงาน ยังได้เข้าชื่อกัน 50,000 กว่ารายชื่อ เรียกร้องให้รัฐบาลตรากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จนนำไปสู่การออก “พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2554”
เศษซากตุ๊กตาที่หลงเหลือจาก “โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์” ปี 2536 คือเรื่องราวที่ วิชัย ยอมรับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดการสูญเสียของแรงงานครั้งใหญ่ ที่มีแรงงานเสียชีวิต 188 คน บาดเจ็บร่วม 469 คน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จึงต้องการให้ซากตุ๊กตาจากโรงงาน เสื้อผ้า ภาพถ่ายพนักงานมาเพื่อย้ำเตือน เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเหตุการณ์เคเดอร์ สะท้อนชัดถึงปัญหาการขาดมาตรฐานของโรงงาน ทั้งโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อให้มีวัสดุหุ้มป้องกันไฟ ทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้โครงสร้างจึงพังทลายลงอย่างรวดเร็ว การไม่มีระบบเตือนภัย ทำให้คนงานต้องบาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก  จากเหตุการณ์เคเดอร์ เป็นที่มาให้ขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวผลักดันเรื่องความปลอดภัย จนในที่สุดรัฐบาล ประกาศให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” อีกทั้งขบวนการแรงงาน ยังได้เข้าชื่อกัน 50,000 กว่ารายชื่อ เรียกร้องให้รัฐบาลตรากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน จนนำไปสู่การออก “พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี 2554”
สิทธิ สวัสดิการแรงงาน ยังคงเป็นประเด็นที่ผู้ใช้แรงงานเรียกร้อง โดยเฉพาะสิทธิการลาคลอด ที่เรียกร้องมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงตอนนี้ขับไปแค่ 98 วันเท่านั้น ขณะที่ข้อเรียกร้องของแรงงานก้าวหน้าไปที่ 180 วัน ทั้งแม่และพ่อ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสวัสดิการเด็กเล็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้มีแรงงานคุณภาพในอนาคต  ขณะที่ “แรงงานแฟลตฟอร์ม” เป็นอีกประเด็นที่ถูกให้ความสนใจ โดยยกตัวอย่าง “ไรเดอร์” ที่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องสวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อเสนอเพื่อแรงงานไทย เนื่องในวันแรงงานสากล 1 พ.ค. 2567 
คือ รัฐบาลมองเห็นความสำคัญของแรงงาน สร้างความเสมอภาค เท่าเทียม ยกระดับคุณภาพชีวิต  เพราะแรงงานเกือบ 40 ล้านคน เป็นส่วนใหญ่ของสังคม พวกเขาได้รับการดูแลภายใต้กฎหมายที่ต่างกัน ทั้ง แรงงานในระบบ นอกระบบ แรงงานแฟลตฟอร์ม แรงงานข้ามชาติ ล้วนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  “มันสะท้อนให้เห็นหลายเหตุการณ์แล้วว่าเราขาดแรงงานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปไม่ได้เลย แต่การดูแลพวกเขากลับไม่เท่าเทียมกัน บางกลุ่มสูงมาก ขึ้นอยู่กับธุรกิจ บางกลุ่มต่ำมาก ทำให้ภาพรวมแรงงานรายได้ไม่สูง ไทยจึงติดกับดักรายได้ปานกลางถึงต่ำ ทำให้เราไม่สามารถยกระดับสังคมเราได้” วิชัย นราไพบูลย์ ทิ้งท้าย