ส่องการยุบสภาฯ ของ ‘เยอรมนี’ และ ‘อังกฤษ’ ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง

ไทยยุบสภาฯ มากถึง 13 ครั้ง ถ้าเทียบกับบางประเทศก็อาจจะน้อย แต่สำหรับบางประเทศการจะยุบสภาฯ อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เช่น สหพันธรัฐเยอรมนี ชัดเจนว่า เป็นประเทศที่เน้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมือง การยุบสภาจึงเกิดขึ้นยาก The Active พูดคุยประเด็นนี้กับ ศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุ การยุบสภาฯ ในเยอรมนีจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี เท่านั้น  1) พรรคร่วมรัฐบาลอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2) สภาฯ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม และเลือกนายกรัฐมนตรีได้

พรรคร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ

สหพันธรัฐเยอรมนี เน้นเสถียรภาพทางการเมือง มีระบบ Constructive vote of no confidence (การลงมติไม่ไว้วางใจแบบสร้างสรรค์) คือ ไม่ต้องการให้ยุบสภาเป็นการเลื่อยขา ล้มรัฐบาล จะต้องรวบรวมรายชื่อ และเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นมาพร้อมกัน นายกฯ ลาออกเพียง 3 ครั้งล่าสุด ปี 2005 นายกฯ เป็นคนบอกพรรคตัวเองว่าไม่ต้องโหวตให้มาเลือกกันใหม่

ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม และเลือกนายกรัฐมนตรี

เมื่อมีการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ และสภาฯ ใหม่ไม่สามารถเลือก นายกฯ ได้ด้วยเสียงข้างมาก ตั้งรัฐบาลผสมไม่ได้สักที แบบนี้ถึงจะยุบสภาฯ ซึ่งไม่ได้เป็นอำนาจโดยแท้ของนายกรัฐมนตรี

อังกฤษ ยุบสภาฯ เพื่อเร่งให้มีการเลือกตั้ง ต่างกับไทยครั้งนี้ที่ ยุบสภาฯ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งให้นานออกไป

ศ.สิริพรรณ ระบุเพิ่มเติมว่า อังกฤษ มีช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่อยากให้ การยุบสภาฯ เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร หรือไม่ต้องการให้ นายกรัฐมนตรีช่วงชิงความได้เปรียบ เพราะส่วนมากฝ่ายบริหารจะยุบสภา ชิงวาระที่ตัวเองคะแนนกำลังพุ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีทำแบบนี้เสมอ ในปี 2010 อังกฤษก็เลยออกรัฐบัญญัติว่า ถ้าจะยุบสภาฯต้องไม่ใช่อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ต้องเป็นอำนาจนิติบัญญัติ คือ ให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบและใช้เสียง 2 ใน 3 จนปี 2020 อังกฤษกลับมาให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม

ต่างกับไทย ที่ใช้การเลือกตั้งเพื่อยืดเวลาการเลือกตั้งออกไป น่าจับตาว่า ยุบสภาเสร็จ มีเวลาที่จะลาออกไปถึง 14 พ.ค. ดังนั้น นักการเมืองยังมีเวลาสังกัดพรรค ย้ายพรรคถึง 13 เม.ย. ตรงนี้เป็นสิ่งที่ “พรรครวมไทยสร้างชาติ” หวังจะให้เกิดขึ้น

การยุบสภาฯ ไม่ใช่เรื่องใหม่ของการเมืองไทย แต่ความแตกต่าง คือ ใช้การยุบสภาฯ ทำให้การเลือกตั้งช้าลง เมื่อยุบสภาฯ สามารถจัดการเลือกตั้งภายใน 45 – 60 วัน ในแง่หนึ่งแปลกไปกว่าครั้งก่อน ๆ ในอดีต ครั้งนี้การยุบสภาฯ เป็นเครื่องมือให้การเลือกตั้งถอยออกไป ความน่าสนใจ คือ การอยู่ไม่ครบวาระ เพราะถ้าอยู่ครบวาระฯ ผู้สมัครสังกัดพรรค 90 วัน หรือ 3 เดือน แต่ถ้ายุบสภาฯ ผู้สมัครสังกัดพรรคแค่ 1 เดือน หรือ 30 วัน เท่านั้น

ก่อนหน้านี้มีการย้ายพรรค อพยพลี้ภัย พรรคที่ถูกมองว่าเป็นแม่เหล็กมากที่สุด คือ ภูมิใจไทย เนื้อหอม เพราะเป็นพรรคที่มีโอกาสจะร่วมรัฐบาล ไม่ว่าฝ่ายไหนจะจัดตั้ง แต่ก็เห็นว่าใกล้ยุบสภาฯ กลุ่ม 3 มิตร จะย้ายไปอยู่เพื่อไทย ส่วนอีกพรรคที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นไปอยู่ คือ รวมไทยสร้างชาติ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ จนถึงวันนี้ ที่มีฐานเสียงแน่น ๆ ไม่ตรงเป้า ไม่ได้มีมากเท่าที่คิด ต้องจับตาว่า พรรคตั้งใหม่ อย่าง พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ยังไม่มีนโยบายชัด ๆ แง่หนึ่ง การยุบสภาฯ ครั้งนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อชิงความได้เปรียบของรัฐบา

Author

Alternative Text
AUTHOR

บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล

เรียนจบสายวิทย์-สังคมฯ-บริหารรัฐกิจฯ ทำงานไม่ตรงสาย และกลายเป็น "เป็ด" โดยไม่รู้ตัว สนใจการเมือง จิตวิทยาเด็ก วิธีคิดการมองสังคม และรักการสัมภาษณ์ผู้คน

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

กษิพัฒน์ ลัดดามณีโรจน์

ผู้รู้ | ผู้ตื่น | ผู้แก้งาน ...กราบบบส์