รู้ว่าเสี่ยง! คุณก็รับ PrEP – PEP ฟรีได้นะ

“PrEP” – “PEP” ยาป้องกันก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ HIV เหมาะกับใคร? แจกฟรีที่ไหนบ้าง?

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV ไม่เข้าสู่ระยะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ส่งผลให้อัตราผู้เสียชีวิตลดลงจาก 57,000 คน ในปี 2545 เหลือ 9,300 คน ในปี 2554 

อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ให้เหลือปีละไม่เกิน 4,000 คน ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 – 2573 โดยในปี 2564 มีการคาดการณ์ว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่เหลือเพียง 6,500 คน มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาต้านไวรัส 450,000 คน และจำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์ยังคงสูงถึง 9,322 คน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากวัณโรค

PrEP คืออะไร?

เพร็พ (PrEP = Pre-exposure Prophylaxis) หรือ ยาเม็ดป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการยุติสงครามผู้ติดเชื้อหน้าใหม่ เพราะการลดความสูญเสียที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดยในปี 2557 ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่นำ PrEP เข้ามาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ที่พบว่ายังมีช่องว่างในการเข้าถึงและเริ่มมีการใช้งานจริงในเดือน ธ.ค. 2557 เป็นต้นมา

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (คลินิคนิรนาม) พบว่าการกิน PrEP ทุกวัน สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้เกือบ 100% ทั้งในกลุ่มที่ความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ และผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีด แต่ย้ำว่าไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ โดยผู้ที่ต้องการรับบริการจะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับ PrEP และได้รับการตรวจ HIV การทำงานของตับและไต หลังจากกินยาครั้งแรก จะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน หากต้องการหยุดยา ผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาทุกครั้ง

PrEP เหมาะกับใคร?

ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV เช่น

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงลงได้
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีด
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

แล้ว PEP ต่างกันตรงไหน?

ส่วน เป็ป (PEP = Post-Exposure Prophylaxis) เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ HIV ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน เช่น กรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุระหว่างการรักษา เช่น ถูกแทงด้วยเข็มฉีดยาที่มีเชื้อ HIV

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเป็ป (PEP) ?

ผู้ที่คาดว่ามีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี มาภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้ในกรณีดังนี้

  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจจะมีเชื้อ HIV และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด (ถุงแตก)
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

วิวัฒนาการด้านสวัสดิการเข้าถึง PrEP และ PEP

ในช่วงแรกที่ประเทศไทยนำเข้า PrEP คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย จำหน่ายในราคาเม็ดละ 30 บาท โดยเภสัชกรจะจำหน่ายยาให้ครั้งละ 90 เม็ด หมายความว่าจะต้องจ่ายเงิน 2,700 บาท เพื่อสำรองยาได้ 3 เดือน ต่อมาในปี 2559 จึงเริ่มขยายบริการ PrEP ฟรี โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคและการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำให้ PrEP ถูกกระจายไปยังผู้ที่มีความเสี่ยงได้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น พนักงานบริการทางเพศ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หญิงข้ามเพศ และแรงงานข้ามชาติที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบริการทางเพศ

ปี 2562 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เริ่มศึกษาการนำร่องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดทำแผนและเชื่อมต่อการขยายบริการ PrEP โดยพบว่ามีหน่วยบริการป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure Prophylaxis : PrEP) จนถึงเดือนสิงหาคม 2565 จำนวน 271 แห่ง ทั่วประเทศ ยกเว้น ตาก ลพบุรี สุพรรณบุรี แต่ยังพบการใช้บริการที่น้อยกว่าที่ตั้งงบประมาณไว้เนื่องจากส่วนหนึ่งไม่ทราบ หรือไม่สบายใจในการรับบริการในโรงพยาบาล สปสช. จึงขยายหน่วยบริการที่ทำงานร่วมกับภาคประชาชนอีกกว่า 7 องค์กร ที่มีสาขาในหลายจังหวัด

ขณะที่ PEP ปี 2564 สปสช. ได้บรรจุเข้าไปสิทธิประโยชน์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ซึ่งมีผลการศึกษาของต่างประเทศที่พบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ มีความคุ้มทุน โดยจะให้บริการครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน ไม่จำกัดจำนวนครั้งการให้บริการ ซึ่งคิดเป็นภาระงบประมาณจากค่ายาสูตรแนะนำ TDF/3TC/DTG และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉลี่ย 1,594 บาทต่อราย

โดยในปีงบประมาณ 2566 คาดว่า สปสช. จะได้รับเงินราว 2 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ถูกกันไว้สำหรับงานเอชไอวี-เอดส์ จำนวน 3,978 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทบริการย่อย ได้แก่ 1. บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3,402 ล้านบาท 2. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 575 ล้านบาท 

เมื่อมองจากแผนดังกล่าว จะเห็นว่าประเทศไทยมีแผนในการยุติปัญหาเอดส์อย่างค่อนข้างเป็นระบบ ทั้งผู้ที่ติดเชื้อหากตรวจรู้เร็ว รักษาเร็ว กินยาให้เร็ว จะช่วยกดค่าไวรัสที่มีอยู่ให้อยู่ในระดับต่ำ และมีคุณภาพชีวิตเหมือนกับคนที่ไม่มี HIV และไม่สามารถส่งต่อเชื้อต่อให้ไครได้อีกแล้ว หรือที่เรียกว่า U=U  แม้ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย แต่ในด้านทัศนคติของการอยู่ร่วมกันในสังคม อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย มองว่า บุคลากรด้านสาธารณสุข จะต้องสื่อสารประเด็นนี้ให้สังคมเข้าใจในวงกว้าง เพื่อลดการตีตราในสังคม

“เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องออกมาพูดเรื่อง U=U อย่างมั่นใจ เพราะนั่นหมายความว่าเรากำลังปลดล็อกความรู้สึกของผู้ติดเชื้อและคู่ ให้เขามีทางเลือกมากขึ้นไม่ต้องกลัว หรือกังวลว่าจะส่งต่อเชื้อให้กับคู่ได้ สำหรับคนที่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อก็ดีมากเช่นกัน เราควรปรับเปลื่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงของเราเอง โดยจะใช้ถุงยางอนามัย ยาป้องกัน PrEP หรือ PEP รวมถึงเข็มและอุปกรณ์สะอาด หรือ U=U ก็ได้ถ้าเรามีคู่ที่ติดเชื้อฯ”

อภิวัฒน์ กวางแก้ว 

เช็กเลย! 271 แห่ง PrEP – PEP แจกฟรีที่ไหนบ้าง

  • หน่วยบริการของรัฐ

ภาคเหนือ

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.เชียงใหม่โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชยีงของ
โรงพยาบาลนครพิงค์
โรงพยาบาลชุมชนเชียงดาว 
โรงพยาบาลทั่วไปฝาง
โรงพยาบาลชุมชนสันป่าตอง
โรงพยาบาลชุมชนไชยปราการ
2.น่านโรงพยาบาลทั่วไปน่าน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
3.พะเยาโรงพยาบาลชุมชนเชียงม่วน
4.แพร่โรงพยาบาลทั่วไปแพร่
5.ลำปางโรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช
โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์
โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร
6.แม่ฮ่องสอนโรงพยาบาลทั่วไปศรีสังวาลย์
7.ลำพูนโรงพยาบาลทั่วไปลำพูน
โรงพยาบาลชุมชนแม่ทา
โรงพยาบาลชุมชนลี้
8.อุตรดิตถ์โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์
โรงพยาบาลชุมชนน้ำปาด
โรงพยาบาลชุมชนพิชัย
โรงพยาบาลชุมชนลับแล

ภาคกลาง

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.กรุงเทพฯโรงพยาบาลเลิดสิน
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลวชิรโรงพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์
วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
โรงพยาบาลกลาง

โรงพยาบาลตากสิน
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ชุตินธโร อุทิศ
โรงพยาบาลเจรญกรุงประชารักษ์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 – บางซื่อ

ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 – ดินแดง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 – ประชาธิปไตย
ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 – วัดธาตุทอง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 – วัดปากบ่อ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 – สี่พระยา

ศูนย์บริการสาธารณสุข 25 – ห้วยขวาง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 – เจ้าคุณพระประยูรวงศ์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 28 – กรุงธนบุรี
ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 – ช่วงนุชเนตร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 – บุคคโล

ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 – คลองเตย
ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 – มีนบุรี
ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 – นาควัชระ อุทิศ
ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 – สังวาลย์ ทัสนารมย์
ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 – คลองสามวา

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดล
โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
โรงพยาบาลสิรินธร

คลินิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก
2.กำแพงเพชรโรงพยาบาลกำแพงเพชร
โรงพยาบาลชุมชนคลองขลุง
โรงพยาบาลชุมชนพรานกระต่าย
3.กาญจนบุรีโรงพยาบาลทั่วไปพหลพลพยุหเสนา
โรงพยาบาลทั่วไปมะการักษ์
4.พิษณุโลกโรงพยาบาลศูนย์พุทธชินราช
โรงพยาบาลชุมชนวัดโบสถ์
โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร
5.เพชรบูรณ์โรงพยาบาลชุมชนศรีเทพ
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหลมเก่า
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี
6.สุโขทัยโรงพยาบาลสุโขทัย
7.ชัยนาทโรงพยาบาลชุมชนสรรคบุรี
โรงพยาบาลชุมชนหันคา
8.นครสวรรค์โรงพยาบาลศูนย์สวรรค์ประชารักษ์
9.พิจิตรโรงพยาบาลทั่วไปพิจิตร
โรงพยาบาลชุมชนบางมูลนาก
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน
10.นครนายกโรงพยาบาลนครนายก
โรงพยาบาลชุมชนองครักษ์
11.นนทบุรีโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
โรงพยาบาลปากเกร็ด
โรงพยาบาลบางกรวย
โรงพยาบาลบำราศนราดูร
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
12.ปทุมธานีโรงพยาบาลทั่วไปปทุมธานี
โรงพยาบาลธรรมศาสตรเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
13.พระนครศรีอยุธยาโรงพยาบาลทั่วไปเสนา
14.อ่างทองโรงพยาบาลชุมชนวิเศษชัยชาญ
15.สระบุรีโรงพยาบาลสระบุรี
โรงพยาบาลพระพุทธบาท
16.นครปฐมโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม
โรงพยาบาลกำแพงแสน
โรงพยาบาลชุมชนนครชัยศรี
โรงพยาบาลชุมชนห้วยพลู
โรงพยาบาลชุมชนพุทธมณฑล
โรงพยาบาลชุมชนหลวงพ่อเปิ่น
17.ประจวบคีรีขันธ์โรงพยาบาลทั่วไปประจวบคีรีขันธ์
18.เพชรบุรีโรงพยาบาลทั่วไปพระจอมเกล้า
โรงพยาบาลชุมชนหนองหญ้าปล้อง
โรงพยาบาลชะอำ
โรงพยาบาลท่ายาง
19.ราชบุรีโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
โรงพยาบาลชุมชนปากท่อ
20.สมุทรสงครามโรงพยาบาลทั่วไปสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
21.สมุทรสาครโรงพยาบาลสมุทรสาคร
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
22.สมุทรปราการโรงพยาบาลเซ็นทรัลปาร์ค
โรงพยาบาลบางบ่อ

ภาคตะวันออก

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.ระยองโรงพยาบาลระยอง
2.จันทบุรีโรงพยาบาลชุมชนท่าใหม่
3.ฉะเชิงเทราโรงพยาบาลชุมชนบางคล้า
โรงพยาบาลบางปะกง
โรงพยาบาลบ้านโพธิ์
โรงพยาบาลพนมสารคาม
โรงพยาบาลแปลงยาว
4.ชลบุรีโรงพยาบาลทั่วไปบางละมุง
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
5.ตราดโรงพยาบาลทั่วไปตราด
โรงพยาบาลชุมชนคลองใหญ่
โรงพยาบาลชุมชนเกาะช้าง
6.ปราจีนบุรีโรงพยาบาลทั่วไปกบินทร์บุรี
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.สระแก้วโรงพยาบาลชุมชนคลองหาด
โรงพยาบาลชุมชนวังน้ำเย็น
โรงพยาบาลชุมชนวัฒนานคร
โรงพยาบาลชุมชนเขาฉกรรจ์
โรงพยาบาลวังสมบูรณ์
2.กาฬสินธุ์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
โรงพยาบาลชุมชนกมลาไสย
3.ขอนแก่นโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
โรงพยาบาลหนองเรือ
โรงพยาบาลน้ำพอง
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน
โรงพยาบาลทั่วไปชุมแพ
โรงพยาบาลชุมชนบ้านไผ่
โรงพยาบาลชุมชนแวงน้อย
โรงพยาบาลชุมชนมัญจาคีรี
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.มหาสารคามโรงพยาบาลทั่วไปมหาสารคาม
โรงพยาบาลวาปีปทุม
5.ร้อยเอ็ดโรงพยาบาลชุมชนจตุรพักตรพิมาน
โรงพยาบาลชุมชนธวัชบุรี
โรงพยาบาลชุมชนพนมไพร
โรงพยาบาลชุมชนโพนทอง
โรงพยาบาลชุมชนหนองพอก
โรงพยาบาลชุมชนเสลภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนสุวรรณภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนจังหาร
6.นครพนมโรงพยาบาลทั่วไปนครพนม
โรงพยาบาลชุมชนโพนสวรรค์
7.บึงกาฬโรงพยาบาลบึงกาฬ
โรงพยาบาลชุมชนพรเจรญิ
โรงพยาบาลชุมชนโซ่พิสัย
โรงพยาบาลชุมชนเซกา
โรงพยาบาลชุมชนบุ่งคล้า
8.เลยโรงพยาบาลทั่วไปเลย
9.สกลนครโรงพยาบาลสกลนคร
โรงพยาบาลชุมชนกุดบาก
โรงพยาบาลชุมชนคำตากล้า
โรงพยาบาลชุมชนบ้านม่วง
โรงพยาบาลชุมชนอากาศอำนวย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
10.หนองคายโรงพยาบาลทั่วไปหนองคาย
โรงพยาบาลโพนพิสัย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
11.หนองบัวบำภูโรงพยาบาลทั่วไปหนองบัวลำภู
โรงพยาบาลโนนสัง
12.อุดรธานีโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
โรงพยาบาลกุดจับ
โรงพยาบาลกุมภวาปี
โรงพยาบาลศรีธาตุ
โรงพยาบาลชุมชนหนองหาน

โรงพยาบาลชุมชนทุ่งฝน
โรงพยาบาลชุมชนไชยวาน
โรงพยาบาลชุมชนบ้านผือ
โรงพยาบาลชุมชนเพ็ญ
โรงพยาบาลชุมชนหนองแสง

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
13.ชัยภูมิโรงพยาบาลทั่วไปชัยภูมิ
โรงพยาบาลชุมชนเกษตรสมบูรณ์
โรงพยาบาลทั่วไปภูเขียวเฉลมพระเกียรติ
โรงพยาบาลชุมชนแก้งคร้อ
14.นครราชสีมาโรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครราชสีมา
โรงพยาบาลชุมชนจักราช
โรงพยาบาลชุมชนด่านขุนทด
โรงพยาบาลทั่วไปพิมาย
โรงพยาบาลชุมชนสีคิ้ว
โรงพยาบาลทั่วไปปากช่องนานา
โรงพยาบาลเดอะโกลเดนเกท
โรงพยาบาลทั่วไปเทพรัตน์นครราชสีมา
15.บุรีรัมย์โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์
โรงพยาบาลทั่วไปนางรอง
16.สุรินทร์โรงพยาบาลศูนย์สรินทร์
โรงพยาบาลปราสาท
17.มุกดาหารโรงพยาบาลทั่วไปมุกดาหาร
โรงพยาบาลชุมชนหว้านใหญ่
18.ยโสธรโรงพยาบาลทั่วไปยโสธร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
โรงพยาบาลชุมชนกุดชุม
โรงพยาบาลชุมชนคำเขื่อนแก้ว
โรงพยาบาลชุมชนป่าติ้ว

โรงพยาบาลชุมชนค้อวัง
โรงพยาบาลชุมชนไทยเจริญ
19.ศรีสะเกษโรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ
โรงพยาบาลชุมชนกันทรารมย์
โรงพยาบาลชุมชนศรีรัตนะ
20.อำนาจเจริญโรงพยาบาลชุมชนเสนางคนิคม
21.อุบลราชธานีโรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์
โรงพยาบาลทั่วไปวารินชำราบ
โรงพยาบาลชุมชนพิบูลมังสาหาร
โรงพยาบาลชุมชนสิรินธร

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
โรงพยาบาลทั่วไป 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์
โรงพยาบาลนาเยีย

ภาคใต้

จังหวัดชื่อสถานบริการ
1.กระบี่โรงพยาบาลทั่วไปกระบี่
โรงพยาบาลชุมชนเขาพนม
โรงพยาบาลชุมชนอ่าวลึก
โรงพยาบาลชุมชนลำทับ
โรงพยาบาลชุมชนเหนือคลอง
2.ชุมพรโรงพยาบาลชุมชนปะทิว
โรงพยาบาลชุมชนหลังสวน
3.นครศรีธรรมราชโรงพยาบาลศูนย์มหาราชนครศรีธรรมราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง
โรงพยาบาลชุมชนชะอวด
โรงพยาบาลชุมชนท่าศาลา
โรงพยาบาลทั่วไปสิชล
โรงพยาบาลชุมชนขนอม
โรงพยาบาลชุมชนเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลทั่วไปพระพรหม
4.พังงาโรงพยาบาลชุมชนบางไทร
โรงพยาบาลทั่วไปพังงา
โรงพยาบาลชุมชนเกาะยาวชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนกะปงชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนตะกั่วทุ่ง
โรงพยาบาลชุมชนคุระบุรีชัยพัฒน์
โรงพยาบาลชุมชนทับปุด
โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์
5.ภูเก็ตโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลชุมชนป่าตอง
โรงพยาบาลชุมชนถลาง
6.ระนองโรงพยาบาลทั่วไประนอง
7.สุราษฎร์ธานีโรงพยาบาลศูนย์สราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลทั่วไปเกาะสมุย
โรงพยาบาลชุมชนกาญจนดิษฐ์
โรงพยาบาลชุมชนท่าชนะ
โรงพยาบาลชุมชนบ้านตาขุน
8.ปัตตานีโรงพยาบาลชุมชนหนองจิก
โรงพยาบาลกะพ้อ
9.พัทลุงโรงพยาบาลทั่วไปพัทลุง
โรงพยาบาลชุมชนกงหรา
โรงพยาบาลชุมชนเขาชัยสน
โรงพยาบาลชุมชนตะโหมด
โรงพยาบาลชุมชนควนขนุน

โรงพยาบาลชุมชนศรีบรรพต
โรงพยาบาลชุมชนป่าพะยอม
10.ยะลาโรงพยาบาลยะลา
โรงพยาบาลรามัน
11.สงขลาโรงพยาบาลชุมชนนาหม่อม
โรงพยาบาลชุมชนสิงหนคร
12.สตูลโรงพยาบาลควนกาหลง
  • หน่วยบริการที่ขยายสิทธิการให้บริการร่วมกับภาคประชาชน

มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI)
สมาคมฟ้าสีรุ้ง (RSAT)
มูลนิธิสวิง (SWING)
มูลนิธิ SISTERS
คลินิกชุมชนสีลม
M-PLUS

หรือสามารถสอบถามสถานที่ให้บริการ และรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม

Author

Alternative Text
AUTHOR

รุ่งโรจน์ สมบุญเก่า

หนุ่มหน้ามนต์คนบางเลน สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ ชื่นชอบอนิเมะ ทั้งสัตว์บกสัตว์ทะเลล้วนเป็นเพื่อน

Alternative Text
GRAPHIC DESIGNER

กษิพัฒน์ ลัดดามณีโรจน์

ผู้รู้ | ผู้ตื่น | ผู้แก้งาน ...กราบบบส์