ทุ่นเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ใช้งานไม่ได้ทุกตัว ‘รศ. เสรี’ ย้ำถือเป็นความเสี่ยง หากเกิดเหตุจะแจ้งเตือนประชาชนหนีไม่ทัน เสนอทางออกสร้างแบบจำลองประเมินสถานการณ์ สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชน
ตั้งแต่วันที่ 4-5 กรกฎาคม กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศและใกล้เคียงพบว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0-4.8 ที่บริเวณหมู่เกาะอันดามันแล้วกว่า 20 ครั้ง
ในขณะเดียวกัน เว็บไซต์ National Data Buoy Center พบข้อมูลทุ่นเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งของไทย (2 ทุ่น) และอินเดีย (5 ทุ่น) ยังใช้งานไม่ได้ ขึ้นสีแดง(เสีย) ทำให้เกิดความตระหนก และกังวลเรื่องสึนามิชายฝั่งทะเลอันดามันเหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2547
สุวิทย์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอเมืองภูเก็ต และผู้ท้องถิ่นใด้ออกตรวจดูแลพื้นที่ชายหาดกะตะน้อย หาดกะตะใหญ่ หาดกะรน ไม่มีนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะล เนื่องจาก คลื่นใหญ่ มีความสูงประมาณ 3-4 ม.เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยชายฝั่ง (ไลฟ์การ์ด) ใด้ปักธงแดงห้าม ตลอดแนวชายฝั่ง และ ใด้ห้ามปรามนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำ
รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การแผ่นดินไหวแบบถี่ๆ ภายใน 1 วัน ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ บางครั้งอาจเกิดแผนดินไหวหรือไม่เกิดได้ แต่มันเคยมีงานวิจัยต่างประเทศพบว่า การแผ่นดินไหวนำ หรือ ฟอร์ช็อก ที่เป็นแผ่นดินไหวเล็ก ๆ ก็นำมาซึ่งการแผนดินไหวขนาดใหญ่ได้ สิ่งที่ทำได้ขณะนี้ระบบต้องพร้อม เพราะเหตุการแผนดินไหวรู้ล่วงหน้าไม่ได้
ดังนั้น เราพร้อมหรือยังนี่เป็นคำถามที่ประชาชนเองก็กังวลสับสน เพราะทุ่นเตือนภัยน้ำลึกขณะนี้ของไทยใช้งานไม่ได้ จริง ๆ แล้วทุ่นเตือนภัยสึนามิ ปกติจะแชร์ให้รับรู้ร่วมกันทั่วโลกหากตัวไหนขึ้นสีแดง นั้นหมายถึงใช้ไม่ได้ ซึ่งขณะนี้ ทุ่นสึนามิ 5 ตัวบริเวณทะเลอันดามันของประเทศอินเดีย และของไทยอีก 2 ตัว รวมในบริเวณทีะเลอันดามัน 7 ตัว ขณะนี้อยู่ในสถานะใช้ไม่ได้ทั้งหมด ความจริงแล้วหากทุ่นสามารถเตือนภัยได้ประชาชนรู้ก่อน 1 -2ชั่วโมงเพื่อหนีภัย แต่พอไม่มีก็จะไม่รู้ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง เพราะคลื่นสึนามิจะเกิดเร็วมาก 400-500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใน 1 ชั่วโมงก็มาถึงฝั่งแล้ว ตอนนี้สิ่งที่เรามีอยู่คือสถานีวัดระดับน้ำ พอมันมาถึงมีเวลา 10 นาที ซึ่งไม่พอเพราะสึนามิมันจะปะทะถึงฝั่งเร็ว ถ้าจะเตือนภัย 10 นาที ประชาชนจะหนีไม่ทัน แค่ขับรถติดบนถนนก็อาจเสี่ยงเสียชีวิต
รศ.เสรี ยังกล่าวอีกว่า ถ้าไม่มีทุ่นเตือนภัยสึนามิเพื่อเตือนภัย ทางออกระหว่างนี้ที่ควรทำ คือต้องสร้างแบบจำลองขึ้นมา ซึ่งขณะนี้ระดับสากลก็ใช้กัน เช่น ถ้าเกิดแผนดินไหวบริเวณรอยเลื่อนที่ชี้ชัดระบุได้ต้อเก็บข้อมูลให้ละเอียด และต้องมีสถานการณ์จำลอง ว่าถ้าแผนดินไหวขนาด 7 จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าแผนดินไหวขนาด 8 จะเกิดอะไรขึ้น และถ้าแผนดินไหวขนาด 9 จะเกิดอะไรขึ้น เพื่อเป็นฐานฐานข้อมูลเหล่านี้ที่ต้องพัฒนามาใช้เตือนแทนทุ่นเตือนภัย ที่มันเสียบ่อย ๆ ซึ่งมันจะเตือนภัยได้ภายใน 5 นาทีเลย และต้องขึ้นเว็บทันที ขนาดเท่าไหร่จะเกิดอะไรแบบไหนขึ้นบ้างที่เป็นภาพอนาคตที่ประชาชนต้องรู้ก่อน เพราะขณะนี้ประเทศไทยมี 500 หมู่บ้านนะบริเวณชายฝั่งอันดามันที่มีความเสี่ยง ซึ่งเราก็จะสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้เลย ซึ่งรูปแบบการฉายภาพอนาคตในงานรัฐบาลเองยังไม่ไม่ได้ลงทุนทำ มีแต่ภาคการศึกษาที่ทำเท่านั้น สรุปง่ายๆคือ ปรับปรุงทุ่นให้ดี ระบบสำรองต้องทำ และสร้างความตระหนักประชาชนรู้จักเอาตัวรอดที่ไม่ต้องพึ่งรัฐหรือพึ่งอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว
สำหรับแผนดินไหว คือภัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซึ่งประเด็นสำคัญที่ควรทำความเข้าใจ ดังต่อไปนี้
1) แผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิตามมาในระดับที่เป็นอันตรายต้องมีขนาดใหญ่ > 7.5 Mw
2) การเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้ง (Foreshock) อาจตามมาด้วยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
3) แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดสึนามิทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความลึก แนวรรอยเลื่อน และลักษณะการมุดตัว
4) แม้ว่าแผ่นดินไหวคาดการณ์ และเตือนภัยไม่ได้ แต่เราสามารถคาดการณ์ และเตือนภัยสึนามิได้
5) ระบบเตือนภัยสึนามิโดยใช้ทุ่นมักจะได้รับความเสียหายบ่อยครั้ง จึงไม่ใช่ทางออก
6) ระบบคาดการณ์ และเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูล จึงมีความจำเป็น โดยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ใช้ระบบนี้เฝ้าระวัง (แต่เราเฝ้าระวังเฉพาะเวลาทำงาน 08.00-17.00) หากเกิดกลางคืน ตัวใครตัวมัน
7) ความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด กล่าวคือเมื่อรู้สึกว่าแผ่นดินไหวริมชายฝั่งทะเล ให้รีบขึ้นที่สูง แล้วท่านและครอบครัวที่รัก จะปลอดภัย
สำหรับประเทศที่จัดการระบบภัยสึนามิที่ดีที่สุดในโลกอย่างญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ประเทศเขาปลูกฝังอันดับแรกคือการสร้างความตระหนักคือ การช่วยเหลือตัวเองได้ก่อน หลังจากนั้นก็ช่วยเหลือครอบครัว และ การช่วยเหลือประเทศ ขณะที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนของคนญี่ปุ่นหากเกินสึนามิ เมื่อเกิดสึนามิ ภายใน 2 นาที จะส่งให้ NHK กระจายทั่วประเทศ ควบคู่กับการเตือนภัยของรัฐบาลที่จะเตือนระดับจังหวัด หมู่บ้าน ที่จะส่งเป็น SMS เข้ามือถือทันที ซึ่งทั้งหมดนี้ ญี่ปุ่นจะมี Big Data ขนาดใหญ่ที่สามารถส่งข่าวสารและเตือนภัยได้แม่นยำ
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เผยถึงกรณีทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทยหลุดจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ว่า ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.ปภ.) ได้ติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จำนวน 2 ทุ่น ในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน
ทุ่นที่ 1 (ทุ่นตัวไกล) เป็นทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย สถานี 23401 ติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทาง 965 กิโลเมตร ซึ่งทุ่นตรวจวัดนี้ได้หลุดจากตำแหน่งติดตั้งไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564และได้ติดตามพบ สามารถเก็บกู้ได้ พบความเสียหายจึงได้ประสานฝากไว้ที่ประเทศอินเดีย สำหรับทุ่นตัวใหม่ขณะนี้อยู่ระหว่างการผลิตและกำหนดส่งถึงประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ และจะนำออกไปติดตั้งทดแทนในมหาสมุทรอินเดียได้ในเดือนพฤศจิกายน 2565 เนื่องจากต้องรอสภาพอากาศในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามันไม่ให้เป็นอุปสรรคในการติดตั้งและมีความปลอดภัย
สำหรับทุ่นที่ 2 (ทุ่นตัวใกล้) เป็นทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน สถานี 23461 ได้ติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบระบบระบุตำแหน่ง (Global Positioning System : GPS) พบว่าทุ่นได้หลุดลอยออกจากตำแหน่งรัศมีการติดตั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประสานการเก็บกู้ และจะได้นำทุ่นตัวใหม่ไปติดตั้งทุ่นทดแทนพร้อมกับทุ่นตัวที่ 1
กรณีที่ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิหลุดจากตำแหน่งนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่า ระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิของประเทศไทยยังคงดำเนินการได้ เนื่องจากการติดตามเฝ้าระวัง แจ้งเตือนภัยการเกิดสึนามิของประเทศไทยนั้นเป็นการใช้และประมวลข้อมูลจากหลายฐาน โดยข้อมูลจากทุ่นสึนามิของไทยเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ใช้ร่วมกับข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ข้อมูลสถานีวัดระดับน้ำทะเลจากเว็บไซต์ของ The Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC เป็นต้น โดยเฉพาะข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลของประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลจากติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลบริเวณสถานีเกาะเมียง จังหวัดพังงาของกรม อุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถานีเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์กับแบบจำลองการเกิดสึนามิของประเทศไทยที่ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสึนามิที่แสดงข้อมูลเชิงลึกได้ถึงพื้นที่ ช่วงเวลาในการเกิดคลื่นสึนามิ และความเร็วของคลื่นที่จะเข้าสู่ฝั่ง
ในกรณีที่ทุ่นสึนามิของประเทศไทยหลุดออกจากตำแหน่งหรือกรณีไม่ส่งสัญญาณนั้น จะมีผลทำให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ปภ.ไม่ได้รับข้อมูลโดยตรงจากทุ่นสึนามิของไทย แต่ในขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อแจ้งเตือนภัยสึนามิของประเทศไทยจะมีการส่งสัญญานแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงภัย เมื่อได้รับแจ้งข้อมูลยืนยันจากการประมวลผลข้อมูลตามแบบจำลองการวิเคราะห์และของผู้เชี่ยวชาญจาก NOAA แล้ว โดยในการวิเคราะห์ประมวลผลของ NOAA จะเป็นวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากอุปกรณ์เครื่องมือของเครือข่ายจากประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิก NOAA ในเรื่องสึนามิอยู่ ดังนั้นการปฏิบัติในขั้นตอนนี้จึงยังคงดำเนินการได้ตามปกติ