ครูประทีปเสนอนโยบาย แก้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาด้วย WiFi ฟรี ชี้เป็นจุดเริ่มลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสู่ศรรตวรรษที่ 21 ด้าน กสศ. มองการขาด WiFi เป็น 1 ใน 4 ของปัจจัยที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ประธานมูลนิธิดวงประทีป ร่วมเสนอนโยบาย แก้ปัญหา “เด็กหลุดจากการศึกษา” ผ่านรายการ นโยบาย By ประชาชน โดยชี้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย และการศึกษา
ซึ่งในด้านการศึกษา มีเด็กยากจนจำนวนมากแทบจะไม่มีทางเลือกในการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด -19 หลังจากนั้นยิ่งเห็นช่องว่างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น จำนวนเด็กกว่า 1 ล้านคนถูกผลักออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากการระบาดของโควิด – 19 ในขณะนั้นต้องเว้นระยะทางสังคม โรงเรียนปิด ต้องเปลี่ยนช่องทางการศึกษามาเป็นรูปแบบออนไลน์ เด็กยากจนส่วนใหญ่ขาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
จึงมีข้อเสนอหลัก คือให้รัฐจัดฟรีไวไฟทั่วประเทศ เพราะการที่เด็กยากจนเข้าไม่ถึงระบบอินเตอร์เน็ตนั้น สร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
“เรียนฟรี WiFi เป็นจุดเริ่มต้น เป็นแสงสว่างเรืองรอง ที่ยังต้องการพัฒนาควบคู่ไปกับด้านอื่น ๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา”
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหาความรู้ และทักษะต่าง ๆ สำหรับศรรตวรรษที่ 21 เพื่อต่อยอดอาชีพ สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน เพิ่มรายได้ให้กับตนเอง นำไปสู่การสร้างรายได้ และเสียภาษีให้กับรัฐได้
ด้าน พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน มองว่า จากข้อเสนอดังกล่าวมีหลายประเด็นที่ทับซ้อนกันอยุ่ แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นสำคัญ ไม่ใช่เพราะแค่เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา แต่รวมถึงเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาในโรงเรียนด้วย การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นการเข้าถึงโลกการเรียนรู้อีกแบบหนึ่ง
เข้าใจว่าครูประทีปได้เสนอแล้วว่าจะแก้ปัญหาเด็กที่หลุดออกจากรับบคงแก้แค่เรื่องเข้าถึง WiFi ฟรีไม่ได้ คงต้องมีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวด้วย ดังนั้น จึงมองว่ามีหลายปัญหาที่ทับซ้อนกันอยู่
แต่ถ้าเอาเฉพาะเรื่อง WiFi ฟรีมาแก้ปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบ ประเด็นแรกก็จะถามต่อว่ามองภาพเรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นที่ไหน อย่างไร บทบาทของครูเป็นเช่นไร คิดว่าตรงนี้สำคัญต่อรายละเอียดการออกแบบนโยบาย ประเด็นที่สองคือเรื่องของเนื้อหา พอเข้าถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตแล้ว เราคาดหวังการเข้าถึงเนื้อหาของเด็กเป็นอย่างไร ประเด็นที่สาม การยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับผู้ใช้งาน สำหรับผู้เรียน ว่าทำอย่างไรเมื่อเข้าไปในดลกออนไลน์แล้วสามารถป้องตนเองจากภัยคุกคามที่อาจจะตามมาได้ หรือทักษะของครู ที่จะทำอย่างไรให้ครูใช้ประโยชนืจากเทคดนดลยีได้มากขึ้น
ส่วน สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) บอกกับ The Active ว่า WiFi เป็น 1 ใน 4 ของปัจจัยที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่ง 4 ปัจจัยนั้นมีทั้งเรื่องความยากจน โรงเรียน ครอบครัว และเรื่องเทคโนโลยี
ในเรื่องของการมีอินเทอร์เน็ตทำให้เห็นถึงความชัดเจนของความเหลื่อมล้ำ แล้วทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา นอกจากนี้การเข้าถึง WiFI ทำให้เด็กเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ และเด็กที่ด้อยโอกาสจะเข้าถึงกับเรื่องของโลกการเปลี่ยนแปลง
ตัวนโยบายของครูประทีปต้องติดต่อกับทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ให้ดี เพราะทางกสทช.มีโครงการ USO ที่จะวางสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปถึงสุดชายแดน ทั้งพื้นที่ที่เป็นเกาะ เป็นเขา แต่ส่วนใหญ่เราไม่รู้ ถ้าเรารู้ข้อมูลก็จะให้ wifi ฟรีไปถึง เมื่อมี wifi จะทำให้การเรียนการสนอสะดวกขึ้น เรียกว่า Active Learning ตามมา
ในประเด็นการมี ” WiFi ฟรีทางกสศ.มีความพยายามติดต่อกับ กสทช. อยู่ มีการเตรียมตัวลง MOU และถ้าเราประสานงานกับรัฐบาลได้ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาเด็หลุดออกจากระบบการศึกษาได้ เด็ก 1 ล้านกว่าคนเราจะผลักดันเรื่องฟรี wifi ได้
ด้าน ทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มองว่า เด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในโครงการจะประสบปัญหาขาดเครื่องมือ หรือการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้เด็กบางส่วนเรียนไม่ทันและหลุดออกจากการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่เดินขายดอกไม้ กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ฯลฯ ทำให้ไม่เข้าถึงระบบการศึกษาอย่างแท้จริง กลุ่มนี้บางส่วนส่งกระทบเยอะมาก เราเห็นด้วยในการส่งเสริมเรื่องฟรี WiFi เนื่องจากตอนนี้ปัญหาของเราคือต้องซื้ออินเทอร์เน็ตเองเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนออนไลน์ เพื่อส่งการบ้าน
ทองพูล บอกว่า ประเด็น WiFi จึงสำคัญ ช่วงก่อนโควิด-19 อาจจะมองว่าได้สำคัญ แต่หลังจากนั้นจำเป็นมากที่จะต้องใช้ WiFi เพราะบางโรงเรียนให้เด็กทำรายงาน ทำข้อสอบ ลงทะเบียนต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น ถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตส่วนตัวก้ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบ พอหลุดแล้วเด็กก็ตามไม่ทันในระบบการศึกษา
“นโยบายนี้มีความจำเป็น เราทั้งหมดเข้าสู่ระบบออนไลน์หมดเลย แต่ระบบออนไลน์ของเรายังต้องซื้ออินเทอร์เน็ต สิ่งนี้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กมากขึ้น”
ทองพูล บัวศรี
ในฐานะของคนที่ปฏิบัติงาน และคนที่ขับเคลื่อนให้เด็กของเราเข้าถึงระบบการศึกษา นโบายนี้มีความจำเป็น เพราะโลกเราเป็นออนไลน์หมดแล้ว และครูยังมีความจำเป็นในการใช้เครื่องมือ และเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องคือการสอบเทียบ เพราะปัจจุบันไม่จำเป็นต้องไปเรียนกศน. แต่สามารถเรียนผ่านระบบการศึกษาทางไกลแล้วนำมาสอบเทียบได้ โดยไม่ต้องไปเข้าเรียน เพราะเด็กโครงการเรา ไม่ได้มีโอกาสที่จะเข้าเรียนในระบบได้ ฉะนั้น การศึกษาทางออนไลน์จึงเป้นทางเลือกอีกทางสำหรับพวกเขาในการยกระดับคุณภาพชีวิต