ปลดล็อกรถขับช้าปลอดภัย ช่วยลดอุบัติเหตุ ​

Image Name

นักวิชาการด้านอุบัติเหตุ เสนอ ปลดล็อกการแก้แก้กฎหมาย ให้รถ Moped หรือรถที่มีความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จดทะเบียนได้แบบถูกกฎหมาย เน้นนโยบาย ลดความเร็วในเขตเมืองให้รถวิ่งช้า 

10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะจักรยานยนต์สูงถึง 80% หรือประมาณเกือบ 15,000 คน จากทั้งหมดกว่า 2 หมื่นคนต่อปี และมีแนว โน้มเพิ่มขึ้นทุกปี พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ผู้ใช้จักรยานยนต์ปลอดภัย อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บภาวะพิการ ประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา UN ให้สามารถจดทะเบียนได้ แล้วก็วิ่งได้ในเขตเมือง ขณะที่ไทยก็น่าจะให้ความสำคัญเพราะจะแก้ปัญหาการขับรถเร็วได้ส่วนหนึ่ง รถ Moped อย่างในยุโรปมีใช้เป็นมาตรฐานหลายประเทศ เช่นใน จีน ญี่ปุ่น และทำเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศไทยที่บังคับให้วิ่งเร็วเกิน

ที่ผ่านมา กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2536 ออกตามความใน พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่บังคับประชาชนขับขี่จักรยานยนต์สูงถึง 140 ซีซี  ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เสนอว่าต้องมีจักรยานยนต์ที่ช้าและปลอดภัย และในเขตเมืองต้องไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดยยกตัวอย่างต่างประเทศที่อนุญาตให้ใช้รถจักรยานยนต์ที่วิ่งไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งไม่มีขายและจดทะเบียนในประเทศไทย เรียกว่าเป็นการตัดสิทธิผู้บริโภค และยังใช้กฎหมายครอบงำไม่ให้เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน รวมไปถึงข้อเสนอการจำกัดความเร็วในผู้ขับขี่มือใหม่ ซึ่งพบว่า สามารถลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ เช่น ในอังกฤษ และ ญี่ปุ่น หลังจากปลดล็อกกฎหมายข้อนี้​สามารถช่วยลดคนเสียชีวิตได้จำนวนมาก ​รวมทั้งลดความสูญเสียในกลุ่มเด็กและเยาวชน

นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตและรายรถควรใส่อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น การใส่ ABS ​หรือการเลือกแถมหมวกนิรภัย เพื่อให้ผู้ขับขี่ปลอดภัย ​โดยผู้ผลิตควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก มากกว่าการแข่งขันโฆษณาขายในราคาถูกแต่ไม่ปลอดภัย ขณะเดียวกันรัฐบาลอาจช่วยด้านภาษีเพื่อจูงใจ เพราะเป้าหมายที่แท้จริงคือการมองความปลอดภัยประชาชนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแก้ควบคู่กันทั้งกฎหมายที่ล็อกจักรยานความเร็วต่ำควบคู่กับการจัดการทางกายภาพ ทางออกสำคัญที่อาจต้องมีตัวอย่างเทศบาลเมือง ในการทำต้นแบบ และให้อำนาจท้องถิ่นจัดการความเร็ว ทางขนส่งน่าจะช่วยเรื่องนี้ให้มีจักรยานยนต์ความเร็วต่ำ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า หรือ รถ Moped ภาพรวมของเมืองจะได้เป็นเมืองที่ใช้ความเร็วต่ำ ความปลอดภัยทั้งคน ใช้รถใช้ถนน คนเดินถนนจะปลอดภัยขึ้น

ในต่างประเทศมีแนวทางรูปธรรมที่หลากหลาย เช่น ​รอบเมืองลอนดอนจำกัดความเร็วให้เหลือ 20 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดคนเสียชีวิตไปได้มาก ถ้ากฎกระทรวงข้อนี้ได้ รวมถึงจัดการถนนที่จะต้องไปวิ่งในเมือง ทำควบคู่กัน คนก็จะปลอดภัยมากขึ้น


ในภาพรวมของความสูญเสียจากอุบัติเหตุตัวเลขก็ยังคงไม่ลดลงมาก ก็ยังอยู่ที่ประมาณ 17,000 คน หรือประมาณวันละ 48 คนที่เสียชีวิตหรือชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่ระดับนี้มาประมาณ 23 ปีแล้ว ถ้าเจาะลึกสัดส่วนเดิมก็คือ 75-80% ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รองลงมาเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน แล้วก็กลุ่มเด็กเยาวชนที่ยังสูญเสียมาก ​

“คนที่อายุน้อยกว่า 24 ปีลงมา​เสียชีวิตประมาณ 7 ถึง 10 คนต่อวัน เพราะฉะนั้นตัวเลขความสูญเสียเนี่ย เป็นเรื่องที่น่ากังวล แล้วก็ต้องถูกได้รับการจัดการ”

เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต (Think Forward Center) จากพรรคประชาชน กล่าวว่า มี 3 เรื่อง ที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ

เรื่องแรก เด็กและเยาวชนบ้านเราไม่ได้มีโอกาสในการเข้าถึงขนส่งสาธารณะมากนัก เพราะฉะนั้นเราต้องการสวัสดิการในเรื่องการขนส่งสาธารณะสำหรับนักเรียนคู่ไปกับเรื่องของการรณรงค์เนื่องจากความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

เรื่องที่สอง การจัดชั้นถนนให้มันมีความเหมาะสม เพราะทุกวันนี้ถนนไทยมีปริมาณรถมาก แล้วรถก็วิ่งเร็ว เพราะฉะนั้นเรื่องการทำ พ.ร.บ. ถนนเพื่อที่จะจัดชั้นถนน แล้วก็แบ่งความรับผิดชอบของแต่ละส่วนให้มันมีความเหมาะสม จะลดความรุนแรงหรือลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้

เรื่องที่สาม การจัดสรรงบประมาณเพราะปัจจุบันในงบฯ ของเราเกือบทั้งหมดมันถูกใช้ไปกับการสร้างถนนเป็นส่วนใหญ่ แต่การที่จะแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้รถใช้ถนนน้อยเกินไปหากเทียบจากหลายประเทศ ถ้าเราสามารถเพิ่มงบประมาณในการดูแลปัญหาความปลอดภัยอุบัติเหตุจะลดลง ขณะเดียวกันต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการถนนด้วย เพื่อที่จะช่วยกันสอดส่องดูแล

ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนแม้จะลดลงบ้าง แต่พอมาถึงช่วง 3 ปีหลัง ดูเหมือนว่าอัตราการลดลงของอุบัติเหตุมันจะเริ่มช้าและเริ่มจะไม่ค่อยลดลง เราจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนแผนของเราว่าในอีกระยะเวลาอีก 2 ปีที่เหลือ เราจะเข้าสู่เป้าหมายนั้นได้จริงหรือไม่ อาจทำไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทบทวนก็คงจะต้องมาพูดถึงเรื่องของการกำหนดกติกาที่มันสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ​เป็นการกำหนดกติกาและการบังคับใช้กฎหมายที่มันมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงการสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับพี่น้องประชาชน

สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านยานพาหนะเกี่ยวกับการป้องกับและลดอุบัติเหตุเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนน ในคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า ในประเด็นเรื่องของยานพาหนะที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุของประเทศไทย คือ คน รถ ถนน เราก็มีความตั้งใจว่าจะใช้กลไกของรัฐสภามาช่วยบูรณาการ จะร้อยเรียงข้อมูลทั้งหมด นำไปเชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐ

จริง ๆ แล้วไม่อยากให้เป็นแค่การระดับในการนำเสนอนโยบายไปสู่รัฐบาล แล้วก็รอข้อสั่งการจากรัฐบาลรอข้อปฏิบัติจาก หน่วยงานที่รัฐบาลสั่งการไป แต่อยากจะใช้กลไกของฝ่ายนิติบัญญัติเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุยในเวทีของที่ประชุม แล้วอีกทางหนึ่งจะเอาข้อสรุปที่ได้เวทีของห้องประชุมเสนอไปยังรัฐบาลด้วยในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดภาพของการกำกับดูแล และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เราก็จะต้องมีมาตรการในการติดตามว่า สิ่งที่เราพูดคุยกันใน เวทีห้องประชุมของรัฐสภาแล้วได้นำไปปฏิบัติกันจริงจังมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงการประเมินผล

ขณะนี้สิ่งที่เราเตรียมที่จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของการบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุของประเทศไทยตั้งแต่ศูนย์ถนน ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย ไปถึงกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรากำลังดูไปถึงเรื่องของช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งช่วงเทศกาลที่ที่จะมีคนเสียชีวิตจำนวนมาก เราจะพยายามนำเรื่องต่างเหล่านี้ เข้าสู่ที่ประชุมอย่างน้อยให้ทัน

นอกจากนี้ ​ต้องเชิญผู้บังคับ ผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติในการที่จะกำหนดนโยบายที่มีข้อปฏิบัติอย่างชัดเจนเรื่องของการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ออกใบอนุญาตขับขี่ รถจักรยานยนต์ ก็คงต้องเชิญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก มาพูดคุยกัน และขอความร่วมมือซึ่งก็จะต้องออกเป็นอนุบัญญัติในระดับของกรมเช่นเดียวกันกดกหด

“ทั้งหมดเนี้ยมันก็จะต้องใช้เวลา ผมเชื่อมั่นว่าถ้าฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาเราเข้าไปช่วยกำกับดูแลติดตาม แล้วก็ช่วยบูรณาการ พูดคุยกันหรือลดข้อขัดข้องในการทำงาน แล้วก็ช่วยเขาคิดในการหาทางออกที่เป็นข้อขัดข้องในการทำงาน ก็น่าจะทำให้การเคลื่อนตัวจากนี้ในการขับเคลื่อนนโยบายให้เป็นรูปธรรม ได้รวดเร็วขึ้น”


Author

Alternative Text
AUTHOR

The Active

กองบรรณาธิการ The Active