สสส.ผนึกกำลังท้องถิ่นสร้างกลไกลดอุบัติเหตุ ต่อยอด “ตำบลขับขี่ปลอดภัย” 108 ตำบล ยกระดับแก้ปัญหาออกไปในพื้นที่ 8,000 ตำบลที่ยังเสี่ยง พบข้อมูลไทยเสียชีวิตอันดับจากจักรยานยนต์ และเป็นถนนสายรอง แนะเฝ้าระวังเข้มงวดช่วงสงกรานต์
ประกาศิต กายะสิทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุน สุขภาวะชุมชนสำนัก 3 เปิดเผยว่าเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีสมาชิก กว่า 2500 ตำบล ได้มีแนวทางการส่งเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขณะนี้ ได้ส่งเสริมให้ท้องถิ่นหรือ (อปท.) ศึกษาสถานการณ์ปัจจัยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ที่ประกอบด้วย คน รถ ถนน พร้อมการจัดกระบวนการเพื่อจัดการกับปัจจัยสาเหตุ ตั้งแต่การค้นหาปัญหาและประชากรเป้าหมาย ค้นหาทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนในการลดความเสี่ยง และพัฒนาระบบการจัดการที่ครอบคลุมทั้งการเฝ้าระวัง การช่วยเหลือฉุกเฉิน และการฟื้นฟูดูแลต่อเนื่อง
โดยการขับเคลื่อนการปฎิบัติในพื้นที่ ด้วย 5 ชุดกิจกรรม คือ 1.พัฒนาทุนทางการสังคม 2.รณรงค์ 3.การจัดสภาพแวดล้อม 4.การช่วยเหลือดูแลและจัดบริหาร และ5.การสร้างกติกาและร่วมกำหนดมาตรการที่จำเป็นเฉพาะพื้นที่
ปัจจุบันได้จัดกิจกรรม 5 ชุดกิจกรรมในการขับเคลื่อนปฏิบัติการในพื้นที่แก้ปัญหาอุบัติเหตุ ที่ได้ทำงานวิจัยร่วมทดลองกับต้นแบบ 108 ตำบลทั่วประเทศ ที่สามารถลดอุบัติเหตุลงได้ ซึ่งขณะนี้ก็มีพื้นฐานชุมชนสุขภาวะ 3,400 แห่งที่เข้มแข็ง และพบว่ากว่า 1,000 แห่ง ยังมีโครงการอื่น ๆ ต่อเนื่องกับ สสส. หากใช้อย่าง108 ชุมชนที่เป็นต้นแบบลดอุบัติเหตุได้ ผ่านความร่วมมือของศูนย์ประสานงานในด้านต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ กระจายแต่ละพื้นที่ จะทำให้มันเกิดการขยายตัวเร็วขึ้น
“ขณะนี้ประเทศไทยยังมีอีกกว่า 8 พันตำบลที่ต้องภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนเรื่องอุบัติเหตุให้มากขึ้นเพื่อลดการสูญเสีย เพราะขณะนี้เองไทยยังพบการเสียชีวิตมาจากจักรยานยนต์เป็นอันอับที่ 1 ของโลก และส่วนใหญ่มักอยู่ถนนสายรอง ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เมา ขับเร็ว เป็นส่วนใหญ่ หากท้องถิ่นเป็นแรงขับเคลื่อนได้เชื่อแน่ว่าสงการนต์ปีนี้ก็จะลดคนเสียชีวิตลงได้”
ประกาศิต กายะสิทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุน สุขภาวะชุมชนสำนัก 3
ด้าน เนตรชนก แสงเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา เปิดเผยว่า หลังนำการขับเคลื่อนการปฎิบัติในพื้นที่ ด้วย 5 ชุดกิจกรรมมาปฎิบัติทำให้เกิดการแก้ปัญหาและการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน เพราะที่ผ่านมา ประชาชนมักขับขี่จักรยานยนต์ไม่ใส่หมวกกันน๊อค ขับรถย้อนศร ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถยนต์ไม่รัดเข็มขัด ไม่ตรวจเช็คสภาพรถ ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุที่เพิ่มขึ้นและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ด้วยปัจจัยสาเหตุหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน เรื่องของพร้อมของยานพาหนะ และเรื่องของสภาพแวดล้อมเช่น เรื่อง
เนตรชนก แสงเจริญ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา
ของถนน เป็นต้น จึงสร้างจุดเปลี่ยนด้วยการแก้ปัญหาคนเมา แก้ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายโดยให้ความรู้ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึก อบรม พัฒนาทั้งอาสาสมัคร จับมือชุมชน จนสามารถลดอุบัติเหตุลงได้ อย่างเป็นระบบทั้งก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และการฟื้นฟู”
ด้าน จีรพงษ์ ใจวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย เป็น 1 ใน 108 ตำบาล ที่หลังได้ร่วมเป็นเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่กับเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ศูนย์จัดการเครือข่ายเทศบาลตำบลสถาน อ.เชียงของ จ.ชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการจัดส่งบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว เข้าร่วมอบรมเรียนรู้หลักสูตรพัฒนาทักษะการจัดทำข้อมูลตำบล (TCNAP) และพัฒนาทักษะการวิจัยชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP) ส่งผลให้นักวิชาการพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว เกิดความรู้และเข้าใจในกระบวนการทำงาน และเข้าใจหลักการคิดเชิงระบบและได้นำความรู้มานำใช้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
“ทั้งนี้ มีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้กับงานและกิจกรรมของพื้นที่ เกิดการเทียบเคียงศักยภาพกับตำบลของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลทรายขาว โดยเฉพาะโครงการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน เนื่องด้วยพื้นที่ตำบลทรายขาวมีถนนสายหลัก คือ ถนนพหลโยธิน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนบ่อยครั้ง จากการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนชุมชนเชิงบูรณาการ สร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในพื้นที่ผ่านภาคีเครือข่าย”
จีรพงษ์ ใจวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย
ทั้งนี้ จากสถิติของตำบลทรายขาว พบว่าประชาชนในพื้นที่มีผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จำนวน 2,137 คน (ร้อยละ 22.1) มีผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะโดยประมาท จำนวน 555 คน (ร้อยละ 5.74) ผู้ที่มีพติกรรมเมาแล้วขับ จำนวน 721 คน (ร้อยละ 7.46) ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะเกิดกว่ากฎหมายกำหนด จำนวน 721 คน (ร้อยละ 7.46) ผู้ที่ไม่สวมหมวกกันน็อคในขณะขับขี่และโดยสาร จำนวน 1,010 คน (ร้อยละ 10.45) ผู้ที่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับหรือโดยสาร จำนวน 378 คน (ร้อยละ 3.91)และมีผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับขี่ยานพาหนะ จำนวน 110 คน (ร้อยละ 1.13)
นอกจากนี้ยังพบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเมาแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดเหตุสูงสุดเป็นรถจักรยานยนต์ มีสถิติข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ตำบลทรายขาว ในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2562 – 2564) ดังนี้ ปี 2562 ตำบลทรายขาว มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำนวน 33 ครั้ง ปี 2563 ตำบลทรายขาว มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำนวน 42 ครั้ง บาดเจ็บ 40 คน เสียชีวิต 2 คน ปี2564 ตำบลทรายขาว มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำนวน 100 ครั้ง บาดเจ็บ 98 คน เสียชีวิต 2 แต่ปี 2565 ยังไม่มีผู้ที่เสียชีวิตเลย
ขะเดียวกัน เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ทั้ง 108 แห่ง พร้อมด้วยองค์กรหลักของพื้นที่ ได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ด้านการออกแบบระบบ และด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยชุมชนท้องถิ่นได้ให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องสร้างและกำหนดแนวทางการดำเนินงานในการป้องกันและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน จึงมีประกาศเป็นนโยบายสาธารณะและมาตรการของชุมชนท้องถิ่นเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน ใน 3 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นกลไกหลักในการสร้างการมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนให้เป็นรูปธรรม
ประการที่ 2 พัฒนารูปธรรมในการจัดการความปลอดภัยทางถนน 5 ด้าน อันประกอบด้วย (1) การบริการและช่วยเหลือ (2) การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย (3) การพัฒนาศักยภาพคน รถ ถนน (4) การจัดสภาพถนน และสิ่งแวดล้อม และ (5) การพัฒนานโยบายและแผน ที่ปฏิบัติได้จริง และเป็นผลดีต่อการจัดการอุบัติเหตุทางถนนที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน “ตำบลขับขี่ปลอดภัย” และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงได้อย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 3 มุ่งสร้างความร่วมมือกับ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อจัดการความปลอดภัยทางถนนระหว่างตำบล ระหว่างอำเภอ และระหว่างจังหวัด ให้เกิดการดำเนินงานในการป้องกันและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีความต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ หลายตำบลก็เริ่มมีการวางแผนป้องกัยอุบัติเหตุในท้องถิ่นร่วมกับทุกภาคส่วน แต่ขณะนี้ก็ยังพบว่า แม้จะมีความเข้มแข็ง 108 ชุมชน แต่จนถึงขณะนี้กว่า 8 พันตำบลอาจจะยังมีความเสี่ยงสูงเพราะกระบวนการเรียนรู้อาจยังเข้าไม่ถึง จึงมีความหวังจากหลายภาคส่วนว่า หากการจัดการเชิงนยบบายของรัฐเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริงและมุ่งไปสู่การปฏิบัติจริงจังควบคู่กับการใช้กฎหมายและส่วนร่วมประชาชยก็จะทำให้ไทยลดอุบัติเหตุลงได้ภายในทศวรรษที่ 2 นี้