เน้นสิทธิเสรีภาพ กระจายอำนาจ กระบวนการยุติธรรม ที่ดิน จัดการทรัพยากร ชาติพันธุ์ สิทธิความเป็นมนุษย์ สวัสดิการประชาชน ที่อยู่อาศัย ขณะที่ ตัวแทนรัฐบาล ตอบรับเตรียมเปิดโต๊ะเจรจาวงเล็ก หารือนโยบาย 10 ด้าน บ่ายนี้
วันนี้ (6 ก.ย. 67) ตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) รวมตัว ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทยชั่วคราว ตึกชินวัตร 3 เพื่อยื่นหนังสือข้อเสนอภาคประชาชน นโยบาย 10 ด้าน ให้กับ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านตัวแทนพรรคเพื่อไทย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเจรจาวงเล็กเพื่อหารือนำนโยบายประชาชนบรรจุในนโยบายหลัก
จากนั้น สมคิด เชื้อคง รองเลขานุการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้โทรศัพท์พูดคุยกับ ธีรเนตร ไชยสุวรรณ ประธานพีมูฟ รับปากจะตั้งโต๊ะเจรจาหารือนโยบาย 10 ด้าน ในเวลา 13.00 น. ที่สำนักงาน ก.พ.ร.
สำหรับภาพรวมนโยบาย 10 ด้านของพีมูฟ ประกอบด้วย
1. ด้านสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
- เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ซึ่งรีดรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ด้วยการยกร่างรัฐธรรมญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมญ(สสร.)ที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน และเปิดโลกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วนร่วมทุกชั้นตอน
- ทบทวนและยกเลิก พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะในมาตราที่เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
2. ด้านการกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจ เสนอให้รัฐบาลกำหนดกำหนดนโยบายดังนี้
- ปฏิรูประบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากประชาชน ในทุกจังหวัด
- ปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยการกระจายอำนาจด้านการจัดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน น้ำ ป้าไม้) และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งระบบการบริหารจัดการงบประมาณ สู่ชุมชนและท้องถิ่นอย่างแท้จริง
3. ด้านนโยบายการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และคืนความเป็นธรรมให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อยโดย
- เปลี่ยนระบบการพิจารณาคดีป่าไม้ที่ดินและทรัพยากร จากระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว สามารถต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมและแสวงหาข้อเท็จมาพิสูจน์ความบริสุทธิของตนเองได้อย่างกว้างขวาง
- เร่งผลักดันร่างกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎรซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามโยบายของรัฐ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและตราเป็นกฎหมายให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อคืนความยุติธรรมและล้างมนทินให้แก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ยากจนที่ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมในที่ดินของรัฐทุกประเภท (ปัจจุบันกระทรวงยุติธรรมยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว)
4. ด้านนโยบายที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
- กระจายการถือการถือที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยเร่งผลักดันพระราชบัญัติภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าโดยจัดเก็บภาษีที่ดินตามขนาดการถือครองและพระราชบัญญัติจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นกลโกในการกระจายที่ดินสู่คนจนและเกษตรกรกรายย่อยอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
- รองรับสิทธิชุมชนให้สามารถร่วมกับรัฐในการดูแลรักษาจัดการและใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรโดย 1. เร่งดำเนินการ ยกระดับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ให้เป็นการจัดที่ดินรูปแบบหนึ่ง ภายใต้มาตรา 10(4) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ 2. เร่งรัดผลักดันพระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
- คุ้มครองรักษาพื้นที่เกษตรกรรม โดยเพาะพื้นที่เกษตรกรรมที่รัฐลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบชลประทานแล้ว ให้ยังคงสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมได้ต่อไป โดยการเร่งออกพระราชบัญญัติคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
5. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุตินโยบายทวงคืนผืนป่าในทุกรูปแบบ เนื่องจากนโยบายดังกล่าวกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน เกษตรกรรายย่อย และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าอย่างรุนแรง
- ทบทวนนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
- แก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ทั้ง 3 ฉบับ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่บำไม้ คือ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตวป่า พ.ศ. 2565 และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ทบทวนนโยบายคาร์บอนเครดิต
6. ด้านการป้องกันภัยพิบัติ
- แก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 เพื่อให้เอื้อในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย มีสถาบันส่งเสริมชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรหลักในการประกาศภัยพิบัติ ป้องกันภัยพิบัติ และบริหารจัดการภัยพิบัติ
- ส่งเสริมระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงของประชาชน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ การช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุ และการพื้นฟูเยียวยาหลังเกิดเหตุ
7. การคุ้มครองชาติพันธุ์และสิทธิความเป็นมนุษย์ เพื่อให้เกิดความมั่นคงต่อชุมชนและชาติพันธุ์ในทุก ๆ ด้านโดยผลักดันพ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ.
8. ด้านสิทธิของคนไร้สถานะ
- กำหนดให้นโยบายการแก้ปัญหาด้านสถานะ และสิทธิบุคคล ของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องมายาวนานเป็นนโนบายเร่งด่วน
- แต่งตั้งกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิสถานะเป็นกรรมการกลางที่มีผู้ทรงคุณวุฒิมีภาคประชาชนที่มีประสบการณ์ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเร่งด่วน
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิติของกลุ่มคนที่รอการแก้ปัญหา และการเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน ทันที
9. ด้านนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยเสนอนโยบายและสวัสดิการถ้วนหน้าจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการ 9 ด้าน ดังนี้
- สวัสดิการเด็กและเยาวชน ให้เงินอุดหนุนเด็กและเยาวชน จากครรภ์มารดา – 18 ปี 3,000 บาท ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน, เงินอุดหนุนเยาวชน 19-22 ปี 3,000 บาท ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน, ศูนย์เลี้ยงดูและพัฒนาเด็กเล็ก 6 เดือน ถึง 3 ขวบ
- การศึกษา ยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับประถม-มัธยมศึกษา เรียนฟรีอย่างแท้จริง, เรียนฟรีถึงปริญญาตรี มีกลไกควบคุมค่าหน่วยกิต, การยกเลิกหนี้สิน กยศ., เงินอุดหนุนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัย
- ระบบสุขภาพ การพัฒนารบบสุขภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน สู่กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระบบเดียว ให้สิทธิการเข้าถึงการบริการอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพ
- ที่อยู่อาศัย/ที่ดิน อัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย/ที่ดินเกษตร ไม่เกินร้อยละ 2, สร้างที่อยู่อาศัยมีคุณภาพให้ประชาชนเช่า 1,000 ยูนิต ทุกตำบล, กลไกราคาและค่าเข้าที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยรายได้ในพื้นที่, เงินอุดหนุนงประมาณที่อยู่อาศัยประมาณ 10% ของรายได้เฉลี่ยครัวเรือน
- งานและรายได้ ค่าแรงขั้นต่ำ ดูแลครอบครัวได้ ปรับตามอัตราเงินเพ้อทุกปี ค่าแรงปรับตามอายุการทำงาน, ลดชั่วโมงการทำงานเป็น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์, สิทธิลาคลอด และการเลี้ยงดูบุตรของมารดา 180 วัน การเลื้องดูบุตรของบิดา/ผู้ดูแล 90 วัน ใช้ได้ทุกเพศสภาพ
- ประกันสังคม พัฒนาสิทธิประโยชน์ระบบประกันสังคมทุกมาตรา มาตรา 33, 39, 40 สร้างระบบประกันสังคมพื้นฐานถ้วนหน้าครอบคลุมคนทำงานทุกประเภท, พัฒนากลไกบริหารให้เป็นองค์กรอิสระ ผู้ประกันต้นมีสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร
- ระบบบำนาญ พัฒนาเบี้ยยังผู้สูงอายุเป็นบำนาญประชาชนถ้วนหน้า 3,000 บาท ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน
- สิทธิทางสังคม พหุวัฒนธรรม ประชากรกลุ่มเฉพาะ เงินอุดหนุนคนพิการ 3,000 บาท ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน, เงินอุดหนุนสตรีมีครรภ์เดือนละ 3,000 บาท, เงินอุดหนุนสวัสติการประจำเดือนสตรีเดือนละ 200 บาท, กระบวนการข้ามเพศเป็นสิทธิในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, พนักงานบริการเข้าถึงสวัสติการ และยกเลิก พ.ร.บ.การค้าประเวณีฯ, คนไร้บ้าน ชนผ่าพื้นเมืองเข้าถึงสวัสติการ และรับรองสถานะบุคคล สัญชาติ, การเข้าถึงการทำแท้งปลอดภัย, ทบทวน/ยกเลิกหลักสูตรการศึกษาที่สร้างอคติ ความเกลียดชัง, ขนส่งสาธารณะทั่วถึงทุกพื้นที่ เชื่อมโยงกับท้องถิ่น, สร้างพื้นที่สาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ท้องสมุด หอศิลป์ สวนสาธารณะ ลานกีฬา
- ระบบภาษีและงบประมาณ เก็บภาษีความมั่งคั่งของคนรวย 1%, เก็บภาษีผลได้จากทุน (Capital Gains Tax) ตลาดหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์, ภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีที่ดินตามขนาดการถือครอง (รวมแปลง) ภาษีมรดก, ปรับลดการลดหย่อนและยกเว้นภาษี ปรับลดช่วงการเสียภาษี ภาษีมรดกจาก 1000 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จาก 50 ล้านบาท เป็น 10 ล้านบาท, ปฏิรูประบบส่งเสริมการลงทุน ยกเลิกสิทธิประโยชน์ BOI, ลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม ปฏิรูประบบราชการ
10. ด้านที่อยู่อาศัย
- รัฐจัดสรรที่ดินให้ประชาชนอยู่อาศัยอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
- การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย อย่าง การติดตามงบประมาณโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง ปี 2567 ตามมติ ครม. 14 มีนาคม 2566
- การปรับเกณฑ์การสนับสนุนงบประมาณโครงการที่อยู่อยู่อาศัยชั่วคราวกรณีไฟไหม้ ไล่รื้อ
- การปรับเกณฑ์สนับสนุนงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัยองค์กรปกครองท้องถิ่น
- การจัดทำแผนแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนไร้บ้าน คนจนเมือง และผู้มีรายได้น้อยในเขตกรุงเทพมหานคร
- แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยเช่าราคาถูก หยุดใช้มาตรการไล่รื้อชุมชน
- จัดให้ประชาชนและชุมชนเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน