รู้จัก “บาฆัด“ วิถีแห่งชีวิต กับการรักษาทรัพยากร ของชาวเล

กรณีการลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย ของกลุ่มเรือขนาดใหญ่ 27 ลำ ซึ่งใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างอวนลาก ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล ทำให้ประเด็นนี้ถูกจับตาถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเข้มงวดจริงจังครอบคลุมทุกพื้นที่ไม่ใช่เฉพาะในเขตอุทยานฯ

ขณะเดียวกันก็เป็นคำถามถึงการจัดการแก้ไขปัญหาอีกด้าน ให้กับกลุ่มประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อย่างกลุ่มชาวเล ที่พวกเขามีความจำเป็นในการทำประมงตามวิถีดั้งเดิม เป็นเรือขนาดเล็กและใช้เครื่องมือประมงตามกฎกติกาเพื่อการยังชีพ โดยหวังให้เกิดการปรับเปลี่ยนแก้ไขข้อจำกัดของกฎหมายอุทยานฯ เพื่อเอื้อต่อการทำประมงตามวิถี เช่น การทำ “บาฆัด“

“บาฆัด” คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อวิถีชีวิตชาวเล The Active View ชวนไปรู้จัก “ บาฆัด” วิถีแห่งชีวิต กับการใช้ประโยชน์ควบคู่การรักษาทรัพยากรของชาวเล
หน้าหาด “ตือโละนีป๊ะ ดึมมิ” ตามชื่อเรียกชาวเลอูรักลาโว้ย ที่เกาะอาดัง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล เวลานี้มีชาวเลอูรักลาโว้ย ตั้ง ”บาฆัด“ หรือ เพิงพักค้างแรมชั่วคราว
กลางเดือนมกราคม จนถึงเมษายน เป็นช่วงฤดูลมมรสุมตะวันออก เรือไม่สามารถจอดตามหน้าหาดเกาะหลีเป๊ะ และหน้าหาดชุมชนเกาะอาดังได้  ชาวเล จึงมาตั้งบาฆัดอยู่ที่หาด “ตือโละนีป๊ะ ดึมมิ“ และอีกหลายหาดในหมู่เกาะอาดัง-ราวี  เพื่อเฝ้าเรือที่นำมาจอดหลบมรสุม ซึ่งถือเป็นการรักษาสมบัติชิ้นสำคัญในชีวิตชาวเล
ชาวเล บอกว่า เรือ ถือเป็นสมบัติชิ้นสำคัญในชีวิตชิ้นเดียวที่พวกเขามีไว้ทำมาหากินเลี้ยงชีพ ทั้งการทำประมงตามวิถีดั้งเดิม  รับนักท่องเที่ยว แต่เมื่อไม่สามารถต่อต้านกับสภาพธรรมชาติได้ หากลมมรสุมเข้าแล้วโยกย้ายไม่ทัน เรือแตกพัง เท่ากับชีวิตที่แตกสลาย จึงต้องเอามาหลบลมตามแหล่งบาฆัด ตามหาดต่าง ๆ ของหมู่เกาะอาดัง-ราวีแห่งนี้
บาฆัด เป็นเพิงพักชั่วคราว สร้างขึ้นง่าย ๆ เมื่อก่อนมุงหลังคาด้วยใบมะพร้าว  ปัจจุบันใช้ผ้าใบกางเป็นเต็นท์ชั่วคราว  ภายในมีแค่ของใช้จำเป็น เช่น เสื่อ หมอน ผ้าห่ม
บาฆัด เป็นเพิงพักชั่วคราว สร้างขึ้นง่าย ๆ เมื่อก่อนมุงหลังคาด้วยใบมะพร้าว  ปัจจุบันใช้ผ้าใบกางเป็นเต็นท์ชั่วคราว  ภายในมีแค่ของใช้จำเป็น เช่น เสื่อ หมอน ผ้าห่ม
และยังมีมุมทำครัวเล็ก ๆ ที่พร้อมเก็บและโยกย้าย ไปตามเกาะต่าง ๆได้ตลอดเวลา เพื่อหลบลมมรสุม
ชาวเลจะตั้งบาฆัด ในที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ และพืชป่าไว้ให้ได้เก็บกิน
ใบนี้ไว้รักษาอาการตัวร้อน เขาเรียกว่า “ดาวุดปิกจาปิก“ 
ชาวเลอูรักลาโว้ยที่มาทำบาฆัด เล่าให้ฟังว่า ในอดีตที่พวกเขายังเข้าไม่ถึงยาสามัญประจำบ้าน ก็จะใช้สมุนไพรรักษา เช่น ใบดาวุดปิกจาปิก เอามาบดขยี้คั้นเอาน้ำ ผึ่งให้แห้งพอหมาด ๆ จะกลายเป็นเจล นำมาเป๊ะหน้าผากช่วยลดไข้ เป็นภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น
การทำบาฆัด นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียน เพราะการโยกย้ายตั้งบาฆัดหมุนเวียนตามหาดต่าง ๆ จะทำให้ไม่ใช้ทรัพยากรตรงบริเวณนั้นมากเกินไป  ธรรมชาติได้ฟื้นตัว และไม่เกิดความเสื่อมโทรม
ปลาที่จับมาได้ ตามภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมา โดยใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น ลอบดักปลา หรือไซ อวนตาห่าง และเบ็ด ซึ่งจับปลาตัวเต็มวัย ไม่เพียงทำให้พวกเขามีรายได้  แต่ยังเหลือไว้นำมาตากแห้ง ถนอมอาหารไว้กินในยามที่ออกเรือไม่ได้ช่วงมรสุม
ปลาที่จับมาได้ ตามภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมา โดยใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน เช่น ลอบดักปลา หรือไซ อวนตาห่าง และเบ็ด ซึ่งจับปลาตัวเต็มวัย ไม่เพียงทำให้พวกเขามีรายได้  แต่ยังเหลือไว้นำมาตากแห้ง ถนอมอาหารไว้กินในยามที่ออกเรือไม่ได้ช่วงมรสุม
บาฆัดของชาวเล ยังอยู่บนความรับผิดชอบ พวกเขาเก็บขยะต่าง  ๆ มัดรวมไว้ เพื่อนำออกไปส่งจุดทิ้งขยะบนเกาะหลีเป๊ะ
มนตรี มณีกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล บอกว่า วิถีการทำบาฆัดชาวเล ยังมีส่วนช่วยเป็นหูเป็นตา ต่อการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่นการทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ เพราะเคยมีกรณีกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์นำชาวโรฮิงญามาทิ้งที่เกาะ  ซึ่งชาวเลเป็นผู้พบเห็นและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐ  ดังนั้นชาวเลที่บาฆัดตามจุดต่าง ๆ จึงเป็นหูเป็นตาและเป็นกำลังสำคัญ เพราะต้องยอมรับลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีไม่เพียงพอ
มนตรี มณีกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล บอกว่า วิถีการทำบาฆัดชาวเล ยังมีส่วนช่วยเป็นหูเป็นตา ต่อการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่นการทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ เพราะเคยมีกรณีกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์นำชาวโรฮิงญามาทิ้งที่เกาะ  ซึ่งชาวเลเป็นผู้พบเห็นและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐ  ดังนั้นชาวเลที่บาฆัดตามจุดต่าง ๆ จึงเป็นหูเป็นตาและเป็นกำลังสำคัญ เพราะต้องยอมรับลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีไม่เพียงพอ
เดือนมกราคมที่ผ่านมา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนอุทยานฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ.สตูล ลงพื้นที่สำรวจ “บาฆัด” ชาวเล ในหมู่เกาะอาดัง-ราวี ชาวเลเรียกร้องให้เร่งแก้ไขข้อจำกัดกฎหมายอันกระทบต่อวิถีชีวิต เพราะแม้ตามมาตรา 64 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฉบับล่าสุด จะกำหนดให้สำรวจพื้นที่ทำกินที่อยู่อาศัยชุมชนทับซ้อนในเขตอนุรักษ์ให้ชัดเจน รวมถึงมาตรา 65 ที่ให้สำรวจการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ตกสำรวจ พวกเขาขอให้สำรวจเพื่อกันพื้นที่ความจำเป็นในวิถีชีวิตนี้ เพื่อให้ชาวเลยังคงสามารถดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิม ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์

Author

Alternative Text
AUTHOR

ทัศนีย์ ประกอบบุญ

นักข่าวสายลุย เกาะติดประเด็นแล้วไม่มีปล่อย รักการเดินทาง หลงรักศิลปะบนรองเท้า และชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ