ชีวิต(ไร้บ้าน)กลางเมือง…ที่เลือกเอง

ไม่ว่าเป็น 'คนไร้บ้าน' หรือ 'คนเร่ร่อน' แต่พวกเขาคือความจริงของชีวิตผู้คนในเมือง เป็นภาพสะท้อนภาวะเปราะบาง และเป็นตัวแทนของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ได้รับผลกระทบจาก 'ความเหลื่อมล้ำในสังคม'

ชีวิตที่ตัดสินใจหันหลังให้ครอบครัว เดินออกจากบ้านหลังเดิม มาอยู่ในที่สาธารณะ เหตุผลของการมาใช้ชีวิตเป็น คนไร้บ้าน อาจแตกต่างกันไปจากเหตุปัจจัยที่แต่ละคนเผชิญ

แต่ส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นความต้องการเป็นอิสระจากข้อจำกัดเดิม ๆ และที่สำคัญกว่านั้น คือ หลายคนไม่ต้องการ “เป็นภาระให้กับครอบครัว”

The Active ชวนรู้จักตัวตน 'คนไร้บ้าน' ย่านหัวลำโพง ทำไม ? คน ๆ หนึ่งจึงตัดสินใจทิ้งทุกอย่างมาใช้ชีวิตอย่างโดดเดียว...


ริมคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้หัวลำโพง บริเวณทางเท้ามีผู้คนนั่ง นอน จับจองพื้นที่ โดยไม่สนใจใคร พวกเขาคือ “คนไร้บ้าน” กลายเป็นภาพที่หลายคนชินตา และอาจมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลก หลายครั้งพวกเขาถูกมองว่าเป็นปัญหา จนต้องหาวิธีมาจัดระเบียบ
กรุงเทพมหานคร มีจุดที่เป็นแหล่งรวมคนไร้บ้านหลายจุด เช่น บริเวณแยกคอกวัว, ตรอกสาเก หน่วยงานรัฐและเครือข่ายที่ขับเคลื่อนประเด็นคนไร้บ้าน ยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะจัดระเบียบ ดูแลเยียวยาสวัสดิภาพให้กับผู้ใช้ชีวิตอยู่ในที่สาธารณะ อย่าง การจัดจุดแจกอาหารให้กลุ่มคนเปราะบาง แต่ก็มีอีกหลายขั้นตอนที่ต้องขับเคลื่อนต่อ อย่างการหาที่พักพิง และการต่อยอดอาชีพให้กับพวกเขา
หลายจุดในย่านหัวลำโพงที่เราสำรวจ พบเห็นร่องรอยการอยู่อาศัยของคนไร้บ้านได้ไม่ยาก ทั้งการวางข้าวของจับจองพื้นที่ การใช้ทางเท้า หรือซอกหลืบมุมถนนปักหลักเป็นที่พักพิง เสื้อผ้าที่พาดอยู่ตามต้นไม้ บ่งบอกให้รู้ว่าจุดนี้มีเจ้าของแล้ว
สถานะ “ไร้บ้าน” ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อาจทำให้พวกเขาถูกมองว่า ชีวิตว่างเปล่า โดดเดี่ยว แต่หลายคนก็เลือกเส้นทางนี้ เพราะเชื่อว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด จนทำให้พวกเขาตัดสินใจเลือกเดินออก มาจากครอบครัว จากบ้านหลังเดิม

“ลุงตุ๋ย” หรือ “มงคล” วัย 68 ปี นั่งอยู่อย่างโดดเดี่ยว ข้างกายของเขาเต็มไปด้วยสัมภาระ มีกระเป๋า 3 ใบ กระติกน้ำอีก 1 ใบ ในกระเป๋ามีของใช้ส่วนตัว สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน มีเสื่ออีกหนึ่งผืนไว้ปูนอน ที่เท้าขวาของลุงตุ๋ย เราสังเกตเห็นว่านิ้วเท้ามีลักษณะผิดรูป นี่อาจเป็นเหตุผลให้เขาเลือกมาใช้ชีวิต อยู่ข้างถนน
"ลุงตุ๋ย" เล่าว่า ปีนึงแล้วที่เขาเดินทางมาจาก จ.ระยอง และออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะในกรุงเทพฯ เขาเคยเป็นคนขับรถรับส่งผู้โดยสาร แต่เนื่องจากเขามีอาการบาดเจ็บที่ขา ทำงานต่อไม่ได้ จึงเลือกเดินออกมาจากบ้าน เพราะไม่อยากเป็นภาระของพี่น้อง แม้อยากสมัครงาน หางานใหม่ แต่ด้วยอายุเยอะขนาดนี้ ก็เลยไม่มีใครรับเข้าทำงาน  ลุงตุ๋ย ยืนยันว่า มาใช้ชีวิตตัวคนเดียวแบบนี้สบายดี และยังไม่คิดจะกลับบ้านที่ระยอง ด้วยเหตุผลหนักแน่นว่า “ไม่อยากให้ใครต้องลำบากมาดูแล”
ไม้ช่วยพยุงเดิน คือ อุปกรณ์ข้างกายของ “ลุงหมู” หรือ “เชาวลิต” วัย 65 ปี เขาเป็นอีกคนที่ให้เหตุผลของการหันหลังให้ครอบครัวมาใช้ชีวิตคนเดียว เพราะไม่อยากเป็นภาระของญาติพี่น้อง ลุงหมูเป็นโรคเก๊า จนไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนเดิม เมื่อรู้สึกว่าตัวเองไร้ศักยภาพในการทำงานแล้ว เขาจึงรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของครอบครัว เลยเลือกเดินออกมา
“ลุงหมู” กิน นอน อยู่บริเวณทางเท้าย่านหัวลำโพง มีแค่เบาะที่ใช้รองนอนและนั่ง พร้อมด้วยหมอนอีกใบ สำหรับเขาแล้วแค่นี้ถือว่าเพียงพอ และชีวิตที่เลือกแบบนี้ไม่ได้ทำให้เป็นปัญหาใหญ่อะไรสำหรับตัวเขาเอง บางครั้งมีคนเดินมาทักทาย และยังได้อาศัยอาหารจากคนใจบุญ
ข้าวไข่เจียว และพะโล้ คือเมนูมื้อเที่ยง ซึ่งเป็นมื้อแรกของลุงหมูวันนี้ นี่คืออาหารที่ได้รับแจกมา แน่นอนว่าเขาไม่ได้กินหมดทีเดียว ต้องแบ่งไว้กินหลาย ๆ มื้อ เพราะยังไม่รู้ว่ามื้อถัดไปจะมีกินหรือไม่
“ลุงหมู” พูดคุยด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลา และไม่มีทีท่าจะเอ่ยถึงความทุกข์ยากของตัวเองออกมาเลย จากอดีตที่เคยเป็นเกษตรกรทำสวนผัก เคยเป็นโซเฟอร์ขับรถเมล์ แต่จากหลาย ๆ ปัจจัยในชีวิต เขาจึงเลือกมาเป็นคนไร้บ้าน แม้ไม่มีเงินติดตัวสักบาท แต่ชีวิตแบบนี้ก็ยังไม่เคยทำให้เขาคิดหวนคืนบ้านและครอบครัวที่จากมา
ยังมีอีกหลายชีวิตที่เลือกเปลี่ยนสถานะกลายเป็น “คนไร้บ้าน” บางครั้งพวกเขาอาจต้องการแค่ความอิสระในชีวิต แต่อย่างน้อยสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง ก็คงเป็นคำตอบที่อาจช่วยทำให้ชีวิตที่ดูเหมือนเปราะบาง ถูกยกระดับอย่างมีคุณภาพมากขึ้น และนี่อาจเป็นหนทางแห่งโอกาสให้คนไร้บ้าน ได้มองเห็นความหวังการพึ่งพาตัวเอง มีงาน มีที่อยู่อาศัย มีสุขภาวะที่เหมาะสมกับชีวิตที่พวกเขาเลือกเอง
ยังมีอีกหลายชีวิตที่เลือกเปลี่ยนสถานะกลายเป็น “คนไร้บ้าน” บางครั้งพวกเขาอาจต้องการแค่ความอิสระในชีวิต แต่อย่างน้อยสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง ก็คงเป็นคำตอบที่อาจช่วยทำให้ชีวิตที่ดูเหมือนเปราะบาง ถูกยกระดับอย่างมีคุณภาพมากขึ้น และนี่อาจเป็นหนทางแห่งโอกาสให้คนไร้บ้าน ได้มองเห็นความหวังการพึ่งพาตัวเอง มีงาน มีที่อยู่อาศัย มีสุขภาวะที่เหมาะสมกับชีวิตที่พวกเขาเลือกเอง
ข้อมูลการสำรวจในงานมหกรรมด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่ สสส. ทำร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2566 พบปัจจัยหลักที่ทำให้คนจำนวน 2,499 คน กลายมาเป็น “คนไร้บ้าน” เพราะ ไม่มีงานทำ ถูกไล่ออกจากงาน รองลงมาคือ ปัญหาครอบครัว คนกลุ่มนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้ง ติดสุรา 18.1% ปัญหาสุขภาพจิต 17.9% และพบว่ามีผู้สูงอายุไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้น 22% หรือ 553 คน  แม้ดูเหมือนตัวเลขไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่านี่คือสัดส่วนของคนที่กำลังผลักตัวเองออกมาจากครอบครัว คงดีกว่านี้ถ้าทำให้แนวโน้มคนไร้บ้านลดลงได้ และปลายทางคือการยื่นมือเข้ามาดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือปัญหาเฉพาะหน้า แต่สิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่กว่านั้น คือ ทำอย่างไรให้มีสวัสดิการสังคม หรือสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ จะเป็นเบาะรองรับให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือคนที่กำลังเผชิญปัญหาชีวิต เพื่อทำให้พวกเขาไม่ต้องเสี่ยงหลุดออกมาจากครอบครัว พร้อมทั้งช่วยตัดวงจรคนไร้บ้านหน้าใหม่…อย่างที่ควรจะเป็น
ข้อมูลการสำรวจในงานมหกรรมด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่ สสส. ทำร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2566 พบปัจจัยหลักที่ทำให้คนจำนวน 2,499 คน กลายมาเป็น “คนไร้บ้าน” เพราะ ไม่มีงานทำ ถูกไล่ออกจากงาน รองลงมาคือ ปัญหาครอบครัว คนกลุ่มนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้ง ติดสุรา 18.1% ปัญหาสุขภาพจิต 17.9% และพบว่ามีผู้สูงอายุไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้น 22% หรือ 553 คน  แม้ดูเหมือนตัวเลขไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่านี่คือสัดส่วนของคนที่กำลังผลักตัวเองออกมาจากครอบครัว คงดีกว่านี้ถ้าทำให้แนวโน้มคนไร้บ้านลดลงได้ และปลายทางคือการยื่นมือเข้ามาดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือปัญหาเฉพาะหน้า แต่สิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่กว่านั้น คือ ทำอย่างไรให้มีสวัสดิการสังคม หรือสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ จะเป็นเบาะรองรับให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือคนที่กำลังเผชิญปัญหาชีวิต เพื่อทำให้พวกเขาไม่ต้องเสี่ยงหลุดออกมาจากครอบครัว พร้อมทั้งช่วยตัดวงจรคนไร้บ้านหน้าใหม่…อย่างที่ควรจะเป็น
ข้อมูลการสำรวจในงานมหกรรมด้านการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่ สสส. ทำร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2566 พบปัจจัยหลักที่ทำให้คนจำนวน 2,499 คน กลายมาเป็น “คนไร้บ้าน” เพราะ ไม่มีงานทำ ถูกไล่ออกจากงาน รองลงมาคือ ปัญหาครอบครัว คนกลุ่มนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้ง ติดสุรา 18.1% ปัญหาสุขภาพจิต 17.9% และพบว่ามีผู้สูงอายุไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้น 22% หรือ 553 คน  แม้ดูเหมือนตัวเลขไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่านี่คือสัดส่วนของคนที่กำลังผลักตัวเองออกมาจากครอบครัว คงดีกว่านี้ถ้าทำให้แนวโน้มคนไร้บ้านลดลงได้ และปลายทางคือการยื่นมือเข้ามาดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือปัญหาเฉพาะหน้า แต่สิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่กว่านั้น คือ ทำอย่างไรให้มีสวัสดิการสังคม หรือสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ จะเป็นเบาะรองรับให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หรือคนที่กำลังเผชิญปัญหาชีวิต เพื่อทำให้พวกเขาไม่ต้องเสี่ยงหลุดออกมาจากครอบครัว พร้อมทั้งช่วยตัดวงจรคนไร้บ้านหน้าใหม่…อย่างที่ควรจะเป็น

Author

Alternative Text
AUTHOR

เมธาวี ทวีผล

เรียนมานุษยวิทยา สนใจเรื่องราวทางสังคม อยากปล่อยใจสู่เสรี