นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร แถลงนโยบายต่อรัฐสภาครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลใหม่ จากพรรคเก่า ที่ยังคงรักษาอำนาจไว้ได้แม้จะเจอกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ หลาย ๆ นโยบายที่แถลงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน
หลังผ่านไป 3 เดือน ในวันที่ 12 ธ.ค. 2567 นายกฯ แพทองธาร ก็ได้แถลงผลงานครบรอบ 90 วัน ที่รัฐบาลได้ปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้แคมเปญ ‘2568 โอกาสไทย ทำได้จริง’ ประกาศเดินหน้านโยบายต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ พร้อมมอบหมายหน้าที่ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงไปสานต่องาน อย่างไรก็ตามบางนโยบายก็ไม่ได้ถูกพูดถึงว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง
ผ่านมาอีก 3 เดือน ในวันที่ 12 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา เป็นวาระครบรอบการทำงาน 6 เดือน ถึงแม้รอบนี้จะไม่ได้มีการแถลงผลงานความคืบหน้า แต่ The Active ขออาสา ชวนตรวจการบ้านของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนที่ได้ประกาศไว้ต่อรัฐสภา รวมถึงนโยบายเรือธงของรัฐบาลนี้ ว่าคืบหน้าหรือไม่ หรือคืบหน้าถึงไหน
ในภาพรวม ทั้ง 10 นโยบายเร่งด่วน มีการดำเนินการต่อในทุกเรื่อง แต่รายละเอียดภายในอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการในบางจุด บางนโยบายอาจมีความคืบหน้ามาก มีการดำเนินการออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่บางนโยบายอาจยังอยู่ในระหว่างการหารือ บางนโยบายอาจไม่ได้มีความคืบหน้าในรอบ 3 เดือน แต่ได้เดินหน้าต่อในผลงานรอบ 6 เดือนนี้

เร่งด่วน 1 ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
นโยบายเร่งด่วนในสมัยนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ถูกส่งไม้ต่อมาอยู่ในแถลงนโยบายของนายกฯ แพทองธาร ด้วยเช่นกัน ในช่วงระยะแรกเป็นมาตรการต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อน ก่อนที่จะมีมาตรการอื่น ๆ ตามมา เช่น โครงการคุณ สู้เราช่วย หรือ หวยเกษียณ
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ / ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ | มาตรการแก้หนี้ | (22 ก.ย. 2567) มาตรการแก้หนี้ต่อเนื่องจากรัฐบาลเศรษฐา เช่น หนี้ข้าราชการ หนี้นอกระบบ หนี้เกษตรกร หนี้ กยศ. (12 ธ.ค. 2567) มาตรการแก้หนี้รถ-บ้าน พักดอกเบี้ย 3 ปี | (11 ก.พ. 2568) โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ขยายเวลาถึง 30 เม.ย. 2568 |
เพิ่มความรู้ทางการเงินและส่งเสริมการออมในรูปแบบใหม่ ๆ | หวยเกษียณ | (13 มี.ค. 2568) ครม.เห็นชอบร่างแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนการออมแห่งชาติ (หวยเกษียณ) คาดเข้าสภาในเดือน มี.ค. 2568 |
เร่งด่วน 2 ส่งเสริม SMEs
หลายนโยบายของนโยบายเร่งด่วนข้อที่ 2 นี้ ถูกประกาศขึ้นในงานแถลงผลงาน 90 วัน ‘2568 โอกาสไทย ทำได้จริง’ เมื่อ 12 ธ.ค. 2567 โดยนายกฯ ระบุว่าจะทลายทุนผูกขาด โดยระบุแค่ในมิติของแก้กฎระเบียบเป็นหลัก เช่น ปลดล็อกการส่งออกข้าว ปลดล็อกการผลิตสุราชุมชน รวมไปถึงสนับสนุนโครงการ Soft Loan เพื่อช่วยเหลือ SMEs ซึ่งหลังจากผ่านไปอีก 3 เดือนพบว่า ทั้ง 3 เรื่องที่ประกาศไว้ว่าจะทำนั้น มีการดำเนินการขึ้นจริง
อย่างไรก็ตาม นโยบาย Matching Fund ที่เคยระบุไว้ตั้งแต่แถลงนโยบาย ยังไม่พบความคืบหน้าแต่อย่างใด
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
ดูแลและส่งเสริมพร้อมกับปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs | ปลดล็อกการส่งออกข้าว | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศจะปลดล็อกการส่งออกข้าว | (3 ม.ค. 2568) ปรับลดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนส่งออกข้าว (จากเดิม 3 วัน เหลือ 30 นาที) (17 ม.ค. 2568) แก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบการขออนุญาตประกอบการค้าข้าว |
ปลดล็อกสุราชุมชน | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศจะปลดล็อกการผลิตสุราชุมชน | (15 ม.ค. 2568) สภาฯ ผ่านร่าง พ.ร.บ.สรรพสามิต ปลดล็อกสุราชุมชน | |
แก้ไขปัญหาหนี้ของ SMEs เช่น การพักหนี้ | แก้หนี้ SMEs | (25 พ.ย. 2567) มาตรการช่วย SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน / แก้หนี้ยั่งยืน (12 ธ.ค. 2567) โครงการ Soft Loan ช่วย SMEs ไทย ภายใน 2568 | (7 ม.ค. 2568) โครงการ Soft Loan วงเงิน 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3 % ตลอด 3 ปี |
จัดทำ Matching Fund ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน | Matching Fund |
เร่งด่วน 3 ลดราคาค่าพลังงาน-สาธารณูปโภค
เป็นนโยบายเร่งด่วนต่อยอดจากของสมัยรัฐบาลก่อนหน้า เชื่อมโยงหลากหลายมิติ เช่น ราคาและโครงสร้างพลังงาน ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และการโดยสารขนส่งสาธารณะ
เนื่องจากมีความหลากหลายของนโยบาย ทำให้มีความคืบหน้าที่แตกต่างกัน บางส่วนมีการดำเนินการจริงแล้ว เช่น ลดค่าไฟฟ้า (รวมถึงอนาคตมีความพยายามที่จะลดลงมากกว่านี้)
บางส่วนมีความคืบหน้าและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เช่น รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และ พ.ร.บ. ตั๋วร่วม ซึ่งกระจุกตัวอยู่แค่ในบริเวณพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น
ในขณะที่หลายนโยบายยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ เช่น แผนงานพลังงาน (ซึ่งรวมถึงการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน และการสำรวจหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม) หรือร่างกฎหมายสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง (SPR) ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีความคืบหน้าในอนาคตอย่างไร
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
ลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค | ลดค่าไฟฟ้า | (27 พ.ย. 2567) ลดค่าไฟฟ้า งวด ม.ค. – เม.ย. 2568 จาก 4.18 บาท/หน่วย เหลือ 4.15 บาท/หน่วย | (11 มี.ค. 2568) ลดค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง งวด ม.ค. – เม.ย. 2568 จำนวน 16.05 สตางค์/หน่วย |
ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน | แผนงานพลังงาน | (28 ม.ค. 2568) แผนงานพลังงาน ปี 2568 เดินหน้าปรับโครงสร้างราคาเหมาะสม | |
พัฒนาระบบสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (SPR) | กฎหมายสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง (SPR) | (31 ต.ค. 2567) ดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ (SPR) (25 พ.ย. 2567) เตรียมเสนอกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ (SPR) เข้าสภา ต้นปี 2568 | (6 ม.ค. 2568) เร่งร่างกฎหมายสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง (SPR) |
สำรวจหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม | แผนงานพลังงาน | (11 ธ.ค. 2567) นโยบายพลังงาน ปี 2568 เล็งเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่ | (28 ม.ค. 2568) แผนงานพลังงาน ปี 2568 จัดหาแหล่งพลังงานใหม่ในประเทศ โดยจะเร่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล |
เจรจาประเด็นพื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชา (OCA) | เจรจาพื้นที่ทับซ้อน | (10 ต.ค. 2567) เดินหน้าเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area หรือ OCA) | (16 ธ.ค. 2567) อยู่ระหว่างรอนำวาระ ตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (JTC) เจรจา ไทย-กัมพูชา เข้า ครม. |
พัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ (Mass Transit) | โครงการลงทุน | (4 ธ.ค. 2567) เดินหน้าโครงการลงทุนเพื่อเชื่อมการเดินทาง และลดต้นทุนโลจิสติกส์ควบคู่การสนับสนุนพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | (12 ม.ค. 2568) ผลักดันไทยสู่ “ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค” ปี 2568 วงเงินรวม 1.36 ล้านบาท |
ค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสาย ในกทม. | รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และ พ.ร.บ. ตั๋วร่วม | (15 ต.ค. 2567) รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่ม ก.ย. 2568 | (29 ม.ค. 2568) สภาฯ รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. ตั๋วร่วม ลดต้นทุนการเดินทาง คาดใช้ช่วงกลางปี 2568 |
เร่งด่วน 4 สร้างรายได้ นำเศรษฐกิจนอกระบบภาษี-ใต้ดิน เข้าสู่ระบบ
ในการแถลงผลงานรัฐบาล 90 วัน ‘2568 โอกาสไทย ทำได้จริง’ มีการประกาศว่าจะนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษีและเศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบภาษีเท่านั้น โดยระบุว่าเศรษฐกิจเหล่านี้มีมูลค่ามากกว่า 49% ของ GDP ไทย แต่ไม่ได้มีการระบุว่าคือธุรกิจอะไรบ้าง และจะนำขึ้นมาอย่างไร
ภายหลังจากนั้นมีการระบุถึงนโยบายสถานบันเทิงครบวงตร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ โดยภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว. กลาโหม ระบุว่าเป็นการดึงเงินนอกระบบหรือธุรกิจใต้ดิน ขึ้นมาบนดิน เพื่อให้ประเทศได้รับผลประโยชน์
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
นำเศรษฐกิจนอกระบบภาษี (Informal Economy) และเศรษฐกิจใต้ดิน (Underground Economy) เข้าสู่ระบบภาษี พร้อมปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย | เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศจะนำธุรกิจนอกระบบเข้ามาในระบบ | (19 ม.ค. 2568) เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ดึงธุรกิจใต้ดินขึ้นมาควบคุม เก็บภาษี |

เร่งด่วน 5 กระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
อีกหนึ่งในห้านโยบายเร่งด่วนตั้งแต่สมัย นายกฯ เศรษฐา ที่ได้มีการเริ่มทำการแจกจริงในสมัยนายกฯ แพทองธาร แต่การแจกในเฟส 1 และเฟส 2 อยู่ในรูปแบบเงินโอน ไม่ได้เป็นเงินดิจิทัลตามที่ได้ระบุไว้
อย่างไรก็ตามในเฟส 3 ที่จะถึงนี้ มีการปรับมาใช้รูปแบบเงินดิจิทัล โดยแจกให้กลุ่มอายุ 16-20 ปี จำนวน 2.7 ล้านคน (แม้ตอนแถลงผลงานครบ 90 วัน นายกฯ ระบุว่าจะแจกให้คนทั่วไป) นอกจากนี้ รัฐบาลมองว่าการแจกเงินในรูปแบบเงินดิจิทัล เฟส 3 นี้ จะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลไปในตัวด้วย
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่กับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก | ดิจิทัลวอลเล็ต | (12 ธ.ค. 2567) คืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต – เงินโอน เฟส 1 ให้กลุ่มเปราะบาง 14 ล้านคน – เงินโอน เฟส 2 ให้ผู้สูงอายุ 4 ล้านคน ภายในตรุษจีน 2568 – เงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 ให้คนทั่วไป ภายใน 2568 | (10 มี.ค.2568) คืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต – เฟส 1 และ 2 เป็นเงินโอน แจกเรียบร้อย – เฟส 3 เป็นเงินดิจิทัล ให้กลุ่มอายุ 16-20 ปี รวม 2.7 ล้านคน ภายในช่วงปลายไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 |
ผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) | |||
วางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล และพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐ | (11 มี.ค. 2568) แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3 รวบรวมข้อมูลการซื้อของประชาชน วางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
เร่งด่วน 6 ยกระดับเกษตรทันสมัย
เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่เป็นด้านการเกษตรเพียงข้อเดียว ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ในนโยบายระยะกลางและยาวของนายกฯ เศรษฐา แต่ถูกนำกลับขึ้นมาเป็นนโยบายเร่งด่วนของนายกฯ แพทองธาร ส่วนใหญ่มีความคืบหน้าเมื่อเทียบกับตอนครบ 3 เดือน เช่น โครงการ SML ซึ่งทาง ครม. ก็เห็นชอบจัดสรรเงินเรียบร้อยแล้ว มีการสานต่อ 9 นโยบายภาคเกษตร ร่วมถึงการผลักดันอาหารไทยด้านต่าง ๆ เช่น ครัวไทยสู่ครัวโลก อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และอุตสาหกรรมอาหารอนาคต
ขณะที่นโยบายเร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร ยังไม่พบคตวามคืบหน้าแต่อย่างใด
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน และการประกอบอาชีพ | โครงการ SML (กองทุนหมู่บ้าน) | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศโครงการ SML พัฒนาหมู่บ้าน ในปี 2568 | (7 มี.ค. 2568) ครม. เห็นชอบ จัดสรรเงิน 200,000 – 400,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน |
ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ / ยกระดับการทำเกษตรให้ทันสมัย นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri-Tech) มาใช้ | 9 นโยบายเกษตร | (16 ก.ย. 2567) สานต่อ 9 นโยบายเกษตร ตามแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เช่น ทูตเกษตรในการขยายตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่ การใช้นวัตกรรมมาเป็นจุดขายสินค้าเกษตรผ่านแอปพลิเคชัน | (26 ธ.ค. 2567) แผนปี 2568 สานต่อ 9 นโยบายภาคเกษตร ด้วยแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” |
พัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร | 9 นโยบายเกษตร | (26 ธ.ค. 2567) แผนปี 2568 สานต่อ 9 นโยบายภาคเกษตร เน้นเทคโนโลยีด้านการเกษตร พัฒนาอาชีพด้านเกษตร | |
คว้าโอกาสในตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งอาหารฮาลาล | อุตสาหกรรมฮาลาลไทย | (24 ก.ย. 2567) ดำเนินโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2567 – 2570) | (20 ธ.ค. 2567) อยู่ระหว่างการจัด MOU ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์อาหารและบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมฮาลาลและการพัฒนาส่งเสริมการส่งออกฮาลาล |
อุตสาหกรรมอาหารอนาคต | (28 พ.ย. 2567) ผลักดันอาหารอนาคต / อาหารทางเลือกใหม่ | (23 ม.ค. 2568) ตั้งเป้าหมายปี 2570 จะสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมอาหารอนาคตรวม 500,000 ล้านบาท | |
ฟื้นนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” | ครัวไทยสู่ครัวโลก | (22 ม.ค. 2568) คืบหน้านโยบาย เช่น จัดงาน Thailand Reception ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ แสดงศักยภาพประเทศผ่านอาหารไทย | |
เร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร |
เร่งด่วน 7 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ต่อยอดจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเศรษฐาเช่นกัน ในหมวดนี้มีการดำเนินการในทุกข้อทั้งในระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน เช่น การจัดงานเทศกาลเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว, นโยบายวีซ่าเพื่อนักท่องเที่ยว และระบบ e-Visa อำนวยความสะดวกผู้ขอวีซ่า รวมถึงนโยบายเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ผ่านการสร้างสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์) ก็มีแนวโน้มที่จะเดินหน้าต่อ แม้จะมีประชาชนหลายส่วนคัดค้านเนื่องจากกังวลถึงผลลัพธ์ที่ตามมา
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
เร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว เมืองน่าเที่ยว | กระตุ้นการท่องเที่ยว | (7 ต.ค. 2567) แคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น Amazing Thailand Grand Tourism Year 2025 / สุขท้าลอง 72 สไตล์ | (3 ก.พ. 2568) ชูปี 2568 เป็น “ปีทองแห่งการท่องเที่ยว” ปรับรูปแบบเมืองรองการท่องเที่ยวเป็น “เมืองน่าเที่ยว” ทั่วไทย (31 ม.ค. 2568) เปิดตัว Event Think Tank แพลตฟอร์มคอมมูนิตี้ออนไลน์แห่งใหม่ ผลักดันไทยสู่การเป็น Festival Country |
นำคอนเสิร์ต เทศกาล และการแข่งขันกีฬาระดับโลกมาจัดในประเทศไทย | เทศกาลคอนเสิร์ต | (15 ต.ค. 2567) โครงการ Thailand Music Campaign จัดคอนเสิร์ตศิลปินระดับโลกในไทย | (26 ก.พ. 2568) เปิดเทศกาล Thailand Summer Festivals ผ่านแนวคิด “7 Months 7 Wonders Summer Festivals” |
ปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอวีซ่า | พัฒนาระบบวีซ่า | (9 ธ.ค. 2567) นโยบายฟรีวีซ่า 3 ระยะ | (17 ธ.ค. 2567) เปิดใช้งานระบบตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) ครบทุกสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ 94 แห่งทั่วโลก |
ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Destinations) | เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ | (29 ต.ค. 2567) พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์) | (13 ม.ค. 2568) ครม. รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา อยู่ระหว่างการรอเข้าที่ประชุม ครม. และคาดเข้าสภาฯ ปลาย มี.ค. |
เร่งด่วน 8 แก้ปัญหายาเสพติด
เป็นนโยบายที่นายกฯ แพทองธาร ย้ำว่าสำคัญและจะเอาจริงเอาจังในการปราบปราม โดยมีทั้งเชิงรุกและรับ เช่น นโยบายด้านการจัดการ-ขยายผล-คุมเข้ม และนโยบายด้านการบำบัด-รักษา
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด การฝึกอาชีพ การศึกษา และการฟื้นฟูสภาพทางสังคม มีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อไม่ให้กลับไปสู่วงจรยาเสพติดอีก | แพลตฟอร์มแจ้งเบาะแสยาเสพติด / โมเดลแก้ปัญหายาเสพติด | (12 ธ.ค. 2567) แพลตฟอร์มแจ้งเบาะแสยาเสพติด ปกป้องคนส่งข้อมูล ส่งตรงถึงนายกฯ | (23 ธ.ค. 2567) สธ. ขยายผล “ธวัชบุรีโมเดล-ท่าวังผาโมเดล” ต้นแบบแก้ไขปัญหายาเสพติดครบวงจรใน 10 จังหวัด (23 ธ.ค. 2567) เปิดตัว แอปฯ ล้อมรักษ์ ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการบำบัดรักษา |
แก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร | ปฏิบัติการแก้ปัญหายาเสพติด | (18 ก.ย. 2567) นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ป.ป.ส. เดินหน้าแก้ปัญหายาเสพติด ประกาศวาระแห่งชาติ ขยายผลทั่วไทย / ตรวจเข้มชายแดน | (30 ม.ค. 2568) ปฏิบัติการ “Seal Stop Safe” จัดการปัญหายาเสพติด ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน (13 มี.ค. 2568) นายกฯ ย้ำรัฐบาลเอาจริง กำชับทุกภาคส่วนทำงานต่อเนื่องอย่างเต็มที่ ระบุจะชี้แจงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในอนาคต |
เร่งด่วน 9 เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาอาชญากรรมที่รัฐบาลมองว่าเร่งด่วน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ อาชญากรรม, อาชญากรรมออนไลน์หรือมิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ โดยในนโยบายเร่งด่วนระบุถึงการแก้ปัญหาโดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ประชาชน หน่วยงานรัฐ ประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันการเงิน ค่ายมือถือ เป็นต้น
มีความคืบหน้าครบ 6 เดือน เช่น ตัดไฟฟ้า 5 จุดชายแดนเมียนมา, เจรจาทำ MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือร่าง พ.ร.ก. ไซเบอร์ ให้สถาบันการเงิน-ค่ายมือถือ ร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม (ออนไลน์ / มิจฉาชีพ / ข้ามชาติ) | แพลตฟอร์มกันลวง | (18 พ.ย. 2567) โครงการ DE-fence platform หรือ แพลตฟอร์มกันลวง ป้องกันการโทรหลอกลวง และ SMS หลอกลวง เร่งพัฒนาให้พร้อมใช้ในต้นปี 2568 | (13 ม.ค. 2568) เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มป้องกันการโทรหลอกลวง (DE-fence) |
ผนึกกำลังกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาอาชญากรรม (ออนไลน์ / มิจฉาชีพ / ข้ามชาติ) | ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน | (8 ธ.ค. 2567) ตำรวจไทยและลาวร่วมประชุมแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งกระทบทั้ง 2 ประเทศ | (17 ม.ค. 2568) อยู่ระหว่างการเจรจาทำ MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันอาชญากรรมข้ามพรมแดน (5 ก.พ. 2568) กฟภ. ตัดไฟฟ้า 5 จุดชายแดนเมียนมา สกัดวงจรแก๊งคอลเซนเตอร์ |
สร้างกลไกการร่วมรับผิดชอบปัญหาอาชญากรรม (ออนไลน์ / มิจฉาชีพ / ข้ามชาติ) ของบริษัทผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและธนาคารพาณิชย์ | พ.ร.ก. ไซเบอร์ | (28 ม.ค. 2568) ครม.เห็นชอบ หลักการร่าง พ.ร.ก. ไซเบอร์ กำหนดให้สถาบันการเงิน-ค่ายมือถือ ร่วมรับผิดชอบค่าเสียหาย |
เร่งด่วน 10 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและจัดสวัสดิการสังคม
เป็นนโยบายที่พึ่งถูกพูดในการแถลงผลงาน 90 วัน เช่น ODOS หรือบ้านเพื่อคนไทย ซึ่งปัจจุบันครบรอบ 6 เดือน ก็มีความคืบหน้าค่อนข้างมาก คาดว่าเป็นหนึ่งในนโยบายเรือธงของรัฐบาลนี้เช่นกัน
รายละเอียดคำแถลงนโยบาย (12 ก.ย. 2567) | นโยบาย | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป | ODOS (1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา) | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศโครงการ ODOS (1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา) | (14 ก.พ. 2568) เดินหน้าโครงการ ODOS โดยจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ต่อไป |
บ้านเพื่อคนไทย | (12 ธ.ค. 2567) ประกาศโครงการบ้านเพื่อคนไทย | (5 มี.ค. 2568) ปิดรับลงทะเบียนระยะที่ 1 ช่วงกลางเดือน มี.ค. 2568 จะดำเนินการจับสลากสิทธิในเดือน เม.ย. 2568 และคาดทยอยส่งมอบ ปลายปี 2569 |
นโยบายอื่น ๆ
เป็นนโยบายที่ไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน แต่เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลเคยแถลงนโยบายไว้ โดยมีนโยบายที่มีความคืบหน้า รัฐบาลสานต่อ เช่น แลนด์บริดจ์, ผลักดัน พ.ร.บ. SEC และซอฟต์พาวเวอร์ อย่างไรก็ตาม บางนโยบายอาจจะไม่ได้คืบหน้าเท่าที่ควร เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ, แก้รัฐธรรมนูญ และสันติภาพชายแดนใต้ เป็นต้น
นโยบายอื่น ๆ | ความคืบหน้า 3 เดือน (12 ธ.ค. 2567) | ความคืบหน้า 6 เดือน (12 มี.ค. 2568) |
แลนด์บริดจ์ และ พ.ร.บ. SEC | (11 มี.ค. 2568) ครม. เตรียมมอบ สนข. ผลักดัน พ.ร.บ. SEC คาดเข้าที่ประชุมสภาสมัยหน้า หลัง 3 ก.ค. 2568 | |
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท | (23 ธ.ค. 2567) ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 77 จังหวัด เฉลี่ยอยู่ที่ 355 บาท | |
ซอฟต์พาวเวอร์ | (19 ธ.ค. 2567) พิธีเปิดโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ผ่านนโยบายหนึ่งครอบครัวหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ (One Family One Soft Power : OFOS) (24 ธ.ค. 2567) ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 | |
แก้รัฐธรรมนูญ | – รอสภาฯ สรุปว่าจะใช้ ‘เสียงข้างมาก 1 ชั้น’ หรือ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ – ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง – ยังไม่มีข้อสรุปว่า สสร. มาจากไหน | (18 ธ.ค. 2567) สภาฯ ไม่เห็นด้วยกับการใช้ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ 180 วัน (13-14 ก.พ. 2568) สภาฯ ล่ม ไม่ได้ถกแก้รัฐธรรมนูญ |
สันติภาพชายแดนใต้ | (23 ก.พ. 2568) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ลงพื้นที่ชายแดนใต้ ขออภัยเหตุการณ์ตากใบ |